Thursday, December 19, 2013

แนะแนวการเลือกเหล่าของผู้สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (โรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ)

แนะแนวการเลือกเหล่าของผู้สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (โรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ) 

 
 
เห็นมีน้องๆ หลายคนถามกันเข้ามาว่า  ผมจะสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร แล้วผมจะเลือกเหล่าอะไรดี แต่ละเหล่า จบมาแล้วทำงานอะไรกันบ้าง พี่ก็ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมให้กับน้องๆ มานะครับ ก็เป็นการแนะแนวที่ดีเลยทีเดียว สำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากจะเป็นนักเรียนเตรียมทหาร และยังสับสนว่าชอบเหล่าอะไร อยากจะเป็นเหล่าทัพไหน โดยข้อมูลที่ได้ ต้องขอบพระคุณอย่างสูงนะครับ  http://www.facebook.com/theroadtosoldierpoliceth จากที่นี่เลยครับ เป็นแหล่งความรู้ที่ดีเลยทีเดียวครับ สำหรับ The Road To Soldier & Police เส้นทางสู่อาชีพทหารตำรวจ พี่ก็เลย เอามาแบ่งปันน้องๆ ที่สนใจนะครับ หวังว่าน้องๆ จะได้นำไปตัดสินใจได้ดีกว่าเดิมนะครับ
 
วัตถุประสงค์ของการแนะแนว           ในการสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารของทุกๆปีนั้น ทางร.ร.เหล่า(ร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ร.ร.นายเรือ ร.ร.นายเรืออากาศ และร.ร.นายร้อยตำรวจ)จะกำหนดให้วันสอบภาควิชาการไม่ตรงกัน จึงทำให้ผู้สมัครสอบมักจะสมัครสอบทั้ง 4 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ และก็มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่สอบติดทั้งหมด 4 เหล่า และรายงานตัวรอบ 2 ก็สามารถไปสอบได้ทั้ง 4 เหล่าเช่นเดียวกัน ซึ่งน้องน้องต้องเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายเพื่อให้พร้อมรับการทดสอบในแต่ละเหล่า  ถ้าร่ายกายแข็งแรงส่วนใหญ่ก็จะไปสอบทั้ง 4 เหล่าทัพ ถ้าน้องน้องมีคะแนนในลำดับใกล้เคียงกัน แต่ถ้า มีเพียง 1-2 เหล่าทัพที่เราทำลำดับได้ดี เราก็เน้นทำคะแนนในเหล่านั้นให้ดีที่สุด นั่นก็หมายถึงว่า ผู้สมัครต้องเลือกเหล่าทัพที่ตนเองต้องการ บางคนเลือกเหล่าที่ตนเองสอบได้ลำดับดีที่สุด บางคนเลือกเหล่าที่ตนเองชอบแม้ลำดับที่สอบได้จะอยู่ท้ายๆ ทั้งนี้เมื่อได้แล้วแต่ไม่ชอบก็มักจะมีผู้ลาออก ซึ่งหากลาออกช่วงนักเรียนใหม่จะไม่เสียค่าปรับเพราะ ร.ร.สามารถเรียกผู้ที่ได้สำรองมาแทนได้ แต่บางคนลาออกขณะร.ร.เตรียมทหาร(ปี1เสียค่าปรับ 70,000 ปี2เสียค่าปรับ 80,000 ปี3เสียค่าปรับ 90,000 หากเรียนจนจบจากร.ร.เตรียมทหารแล้วไม่ขึ้นเหล่าเสียค่าปรับ 100,000 บาท) บางคนลาออกขณะศึกษาอยู่ที่ร.ร.เหล่าซึ่งก็ต้องไปรับราชการชดใช้เงินที่ทางราชการออกค่าศึกษาให้ (รับราชการชั้นยศนายสิบหรือจ่า) บางคนลาออกหลังจากเข้ารับราชการครบตามกำหนดแล้ว หรือบางคนไม่มีทางเลือกทนทำงานไปอย่างไม่มีความสุข ซึ่งทำให้กองทัพเสียโอกาสในการผลิตกำลังพลที่มีคุณภาพและตรงตามอัตราที่ขาดในแต่ละปี เพราะจำนวนนักเรียนเตรียมทหารที่เหล่าทัพรับเข้ามาในแต่ละปีนั้นทางเหล่าทัพได้คำนวณอัตราขาดไว้แล้วโดยหวังจะให้นักเรียนเหล่าจบการศึกษาบรรจุเข้าไปทดแทนนั่นเอง
 
 
 
เหล่าทหารบก (ร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
              เหล่านี้เมื่อจบการศึกษาแล้วส่วนใหญ่จะได้รับการบรรจุเป็นผบ.มว. หรือผู้หมวดที่เรานิยมเรียกกันนั่นเอง ซึ่งจะได้ทำงานแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนจบการศึกษาจากร.ร.เหล่า เรามีผลการศึกษาดีแค่ไหน เพราะการเลือกตำแหน่งบรรจุจะให้ผู้ที่มีผลการเรียนดีเลือกก่อน(หากเรียนแย่ก็แทบไม่ต้องเลือก) โดยกองทัพบกมีเหล่าทหารดังนี้ ทหารราบ ทหารช่าง ทหารการข่าว ทหารพลาธิการ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ทหารสื่อสาร ทหารขนส่ง ทหารสรรพาวุธ ทหารสารวัตร ทหารการเงิน ทหารแพทย์ ทหารสารบรรณ ทหารพระธรรมนูญ ทหารดุริยางค์ ทหารแผนที่ และทหารการสัตว์ แต่ทั้งนี้ทหารเหล่าดุริยางค์ ทหารแพทย์ ทหารการเงิน และทหารพลาธิการจะไม่ค่อยมีตำแหน่งให้นักเรียนนายร้อยเลือก เนื่องจากเป็นวิชาที่ต้องการบุคคลเฉพาะวิชาชีพหรือมีร.ร.ผลิตบุคลากรด้านนนี้อยู่แล้ว เช่น ร.ร.ดุริยางค์ทหารบก วิทยาลัยแพทยศาสตรพระมงกุฎเกล้า และการสอบบรรจุจากบุคคลภายนอก เมื่อรู้จักเหล่าแล้วทีนี้มาดูเส้นทางกันว่านักเรียนนายร้อยสามารถเลือกเส้นทางการทำงานได้อย่างไรบ้าง
 
1. หน่วยรบทหารราบ โดยส่วนใหญ่หากเลือกตำแหน่งเหล่าทหารราบก็มักจะได้เป็นอยู่แล้ว ทั้งยังมีตำแหน่งนี้ให้เลือกบรรจุอยู่มาก
 
2. หน่วยรบทหารม้า เชื่อว่าน้องๆต้องรู้จักผู้พันเบิร์ด พ.ท.วันชนะ สวัสดี จากหนังเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นั่นแหละครับเหล่าทหารม้า ไม่ได้แปลว่าต้องไปแสดงหนังนะ แต่คือเราทำการรบโดยใช้ม้าครับ จะได้เรียนรู้การขี่ม้า ถ้าอยากเป็นคาวบอยก็ไปเลยครับ
 
3. ทหารรบพิเศษ หรือทหารที่ใส่หมวกเบเล่ย์สีแดงมีสายสีแดงที่แขนขวานั่นเอง ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าทหารรบพิเศษอยู่ในส่วนของทหารราบครับ ถ้าน้องอยากเป็นหลังจากจบการศึกษาจากร.ร.เหล่าต้องเลือกตำแหน่งของศูนย์สงครามพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองปฏิบัติการพิเศษ(ฉก.90) กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันจู่โจม กองพันลาดตระเวนระยะไกล และการพันเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งการเลือกทางนี้ยังมียอดต่อไปอีกมากครับ อยากฝึกซีล ฝึกรีคอนได้ไปแน่ อยากเป็นสไนเปอร์ที่เคยเล่นในเกมส์ตอนเด็กๆมีทางแน่ แต่จะไม่ขอพูดถึงในนี้ครับ
 
4. ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ หากน้องๆดูการถ่ายทอดสดพระราชพิธีต่างๆ หรือในงานพระราชทานปริญญาบัตร น้องๆจะเห็นทหารที่ใส่เสื้อสีขาวกางเกงสีดำสวมหมวกเหมือนสมัยก่อนคอยเดินตามเสด็จและรักษาความปลอดภัยพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเครื่องแบบจะมีความสง่างามเพราะนอกจากน้องๆจะมีบุคลิกที่ดีแล้วทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จะมีเครื่องหมายประดับที่หน้าอกเยอะมากครับหากน้องๆอยากรับใช้ใกล้ชิดพระบรมวงศานุวงศ์ก็ต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่ในส่วนของกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์เท่านั้นครับ
 
5. ทหารรักษาพระองค์ อันนี้ก็เช่นกัน น้องๆจะเห็นทหารเหล่านี้แต่งเครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีครับ ที่เป็นเครื่องแบบที่มีสีสันสวยงาม (ถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ กระป๋องคุ๊กกี้อาร์เซนอลครับ) ทหารรักษาพระองค์ หรือทหารราชวัลลภนั้นจะมีเครื่องแบบที่เท่และสวยมาก หากน้องๆอยากเป็นทหารรักษาพระองค์ ก็ต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยทหารที่มีคำว่ารักษาพระองค์ตามหลังครับ เช่น กรมทหารราบที่21รักษาพระองค์(ทหารเสือพระราชินี) กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่31รักษาพระองค์(ทหารรบพิเศษ กองพันเคลื่อนที่เร็ว) ฯลฯ
 
6. นักบินทหารบก เมื่อน้องกำลังจะจบการศึกษาจากร.ร.เหล่า ทางร.ร.จะดำเนินการรับสมัครให้กับร.ร.การบินทหารบกให้โดยตรง
 
7. หน่วย EOD(เก็บกู้วัตถุระเบิด) ต้องเลือกลงเหล่าสรรพาวุธจึงจะมีสิทธิเข้ารับการศึกษาหลักสูตรทำลายวัตถุระเบิดเพื่อบรรจุเป็นนักทำลายวัตถุระเบิดต่อไป 
 
8. ส่วนเหล่าอื่นๆที่เหลือจะไม่ขอกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถเลือกตำแหน่งบรรจุได้ทันทีครับ (เข้าไปแล้วจะรู้เองโดยอัตโนมัติครับ)
 
เพิ่มเติม
1. นักเรียนนายร้อยทุกนายจะได้เรียนกับทูลกระหม่อมอาจารย์ (พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ)
2. นักเรียนนายร้อยจะฝึกหนักมากในภาคซัมเมอร์ทุกปี จึงมีเวลาปิดภาคเรียนไม่นาน
3. นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 4 มีโอกาสไปดูงานต่างประเทศ
4. นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้รับคัดเลือกให้ไปศึกษาที่ร.ร.นายร้อยต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมัน ฯลฯ
 
 
 
 
เหล่าทหารเรือ (ร.ร.นายเรือ) 
               เหล่านี้เมื่อจบแล้วโดยมากจะได้รับการบรรจุให้ทำงานในเรือครับ เช่น รล.จักรีนฤเบศ ที่พวกเราอาจจะเคยไปเที่ยวชมกันบ่อยๆ ในที่นี้จะขอกล่าวระบบการแยกเหล่าของทหารเรือก่อนนะครับ โดยทหารเรือจะแบ่งเป็นพรรคใหญ่ๆก่อนแล้วค่อยแตกย่อยเป็นเหล่าซึ่งจะไม่มีเหมือเหล่าอื่นๆ ดังนี้ครับ พรรคนาวิน ได้แก่ เหล่าทหารการปืน เหล่าทหารอาวุธใต้น้ำ เหล่าทหารสามัญ เหล่าทหารสัญญาณ เหล่าทหารอุทกศาสตร์ เหล่าทหารขนส่ง เหล่าทหารสรรพาวุธ เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา เหล่าทหารสารวัตร และเหล่าทหารการข่าว   พรรคกลิน ได้แก่ เหล่าทหารเครื่องกลและเหล่าทหารไฟฟ้า พรรคนาวิกโยธิน ได้แก่ เหล่าทหารราบ เหล่าปืนใหญ่และเหล่าทหารช่าง และเหล่าทหารสื่อสาร  พรรคพิเศษ ได้แก่ เหล่าทหารสารบรรณ เหล่าทหารพลาธิการ เหล่าทหารการเงิน เหล่าทหารพระธรรมนูญ เหล่าทหารช่างยุทธโยธา เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ เหล่าทหารดุริยางค์ และเหล่าทหารแพทย์ แต่ทั้งนี้ในส่วนของพรรคพิเศษ
 จะไม่มีตำแหน่งให้นักเรียนนายเรือที่จบการศึกษาเลือก ผู้ที่ทำงานในพรรคนี้จะมาจากผู้ที่จบจากร.ร.ชุมพลทหารเรือหรือผู้ที่สอบบรรจุเข้ามาเท่านั้น เมื่อรู้จักเหล่าแล้วทีนี้มาดูเส้นทางกันว่านักเรียนนายเรือสามารถเลือกเส้นทางการทำงานได้อย่างไรบ้าง
 
1. นายธง (ถ้าทบ.เรียกทส. ถ้าตร.เรียกนายเวร) ตำแหน่งนี้จะได้ทำงานใกล้ผู้ใหญ่ครับ มีตำแหน่งน้อยและงานค่อนข้างหนัก เพราะทำหน้าที่คล้ายๆเลขานุการครับแต่เลขานุการ24ชม.
 
2. นักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือหน่วย SEAL นั่นเอง หลักสูตรนี้สามารถสมัครเข้าฝึกได้โดยตรงกับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองเรือยุทธการ ซึ่งโดยมากหากไม่ได้เป็นนาวิกโยธินแล้วจะไม่ได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้ไปฝึกครับ ดังนั้นหากอยากเป็นจบแล้วเลือกตำแหน่งนาวิกโยธินครับ
3. นักรบรีคอน หรือชื่อหลักสูตรเต็มคือ หลักสูตรการรบพิเศษแขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน เป็นหลักสูตรของกองพันลาดตระเวนนาวิกโยธิน ซึ่งโดยมากหากไม่ได้เป็นนาวิกโยธินแล้วจะไม่ได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดให้ไปฝึกครับ ดังนั้นหากอยากเป็นจบแล้วเลือกตำแหน่งนาวิกโยธินครับ
 
4. นักบินทหารเรือ เมื่อน้องกำลังจะจบการศึกษาจากร.ร.เหล่า ทางร.ร.จะดำเนินการรับสมัครแล้วส่งไปฝึกกับร.ร.การบินกำแพงแสนและร.ร.การบินทหารบกให้ ซึ่งนักบินทหารเรือจะรับจากนักเรียนนายเรือเท่านั้น
 
5. ทหารรักษาพระองค์ อันนี้ก็เช่นกัน น้องๆจะเห็นทหารเหล่านี้แต่งเครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีครับ ที่เป็นเครื่องแบบที่มีสีสันสวยงาม (ถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ กระป๋องคุ๊กกี้อาร์เซนอลครับ) ทหารรักษาพระองค์ หรือทหารราชวัลลภนั้นจะมีเครื่องแบบที่เท่และสวยมาก หากน้องๆอยากเป็นทหารรักษาพระองค์ ก็ต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยทหารที่มีคำว่ารักษาพระองค์ตามหลังครับ เช่น กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน กองพันทหารราบที่ 9 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน ฯลฯ
 
6. นักประดาน้ำ สังกัดกรมสรรพาวุธทหารเรือ จะทำหน้าที่ปฏิบัติงานใต้น้ำในทะเลลึก เช่น ถวายความปลอดภัย
ในการเสด็จทางชลมารคให้แก่พระเจ้าอยู่หัวหรือรักษาความปลอดภัยทางน้ำให้กับบุคคลสำคัญ
 
7. นักถอดทำลายอมภัณฑ์ (EOD) สังกัดกรมสรรพาวุธทหารเรือ จะทำหน้าที่ทำลายวัตุระเบิดและสิ่งต้องสงสัย
 
8. ส่วนเหล่าอื่นๆที่เหลือจะไม่ขอกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถเลือกตำแหน่งบรรจุได้ทันทีครับ (เข้าไปแล้วจะรู้เองโดยอัตโนมัติครับ)
 
เพิ่มเติม
1. นักเรียนนายเรือทุกนายจะได้เรียนกับทูลกระหม่อมอาจารย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ปัจจุบันไม่มีแล้ว
2. นักเรียนนายเรือจะฝึกภาคทะเลในภาคซัมเมอร์ทุกปี มีโอกาสได้เที่ยวต่างประเทศบ่อยมากๆ
3. นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้รับคัดเลือกให้ไปศึกษาที่ร.ร.นายร้อยต่างประเทศ เช่น สเปน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฯลฯ
4. นักเรียนนายเรือจะฝึกไม่หนักมาก เพราะมีคำพูดที่ว่า "ให้ทะเลสั่งสอนพวกมันเอง" คือ แค่เมาเรือก็จะแย่แล้วครับ
 
 
 
 
เหล่าทหารอากาศ (ร.ร.นายเรืออากาศ)
              เหล่านี้เมื่อจบแล้วโดยมากจะสอบเข้าเป็นนักบินกันเกือบทั้งรุ่นครับ นอกนั้นก็จะบรรจุเข้าทำงานตำแหน่งอื่นๆ โดยทหารอากาศจะแบ่งเหล่าดังนี้ครับ เหล่าทหารช่างอากาศ  เหล่าทหารสื่อสาร เหล่าทหารสรรพาวุธ ทหารอากาศโยธิน เหล่าทหารสารวัตร เหล่าทหารแพทย์ เหล่าทหารต้นหน และเหล่าทหารอุตุ แต่ทั้งนี้ในส่วนของเหล่าแพทย์จะไม่มีตำแหน่งให้นักเรียนนายเรืออากาศ
ที่จบการศึกษาเลือก ผู้ที่ทำงานในเหล่านี้จะมาจากผู้ที่จบจากวิทยาลัยแพทยศาสตรพระมงกุฎเกล้าหรือผู้ที่สอบบรรจุเข้ามาเท่านั้น เมื่อรู้จักเหล่าแล้วทีนี้มาดูเส้นทางกันว่านักเรียนนายเรืออากาศสามารถเลือกเส้นทางการทำงานได้อย่างไรบ้าง
 
1. นักบิน รับจากนักเรียนนายเรืออากาศเท่านั้น 
 
2. ทหารรักษาพระองค์ อันนี้ก็เช่นกัน น้องๆจะเห็นทหารเหล่านี้แต่งเครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีครับ ที่เป็นเครื่องแบบที่มีสีสันสวยงาม (ถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ กระป๋องคุ๊กกี้อาร์เซนอลครับ) ทหารรักษาพระองค์ หรือทหารราชวัลลภนั้นจะมีเครื่องแบบที่เท่และสวยมาก หากน้องๆอยากเป็นทหารรักษาพระองค์ ก็ต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยทหารที่มีคำว่ารักษาพระองค์ตามหลังครับ เช่น กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ ฯลฯ
 
3. คอมมานโดทอ. หน่วยนี้อยู่ภายใต้สังกัดกรมปฏิบัติการพิเศษทอ. เหล่าทหารอากาศโยธิน ดังนั้นน้องๆคนไหนอยากเป็นลงอากาศโยธินไว้ครับ หรือไม่งั้นก็รอรับสมัครซึ่งเค้ารับไม่จำกัดเหล่าแต่ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชาให้ได้ ซึ่งการเลือกทางนี้ยังมียอดต่อไปอีกมากครับ อยากฝึกซีล ฝึกรีคอนได้ไปแน่ อยากเป็นสไนเปอร์ที่เคยเล่นในเกมส์ตอนเด็กๆมีทางแน่ แต่จะไม่ขอพูดถึงในนี้ครับ
 
4. EOD สังกัดกรมสรรพาวุธทหารอากาศ จะทำหน้าที่ทำลายวัตุระเบิดและสิ่งต้องสงสัย
 
5. ส่วนเหล่าอื่นๆที่เหลือจะไม่ขอกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถเลือกตำแหน่งบรรจุได้ทันทีครับ (เข้าไปแล้วจะรู้เองโดยอัตโนมัติครับ) 
 
เพิ่มเติม
1. นักเรียนนายเรืออากาศทุกนายจะได้เรียนกับทูลกระหม่อมอาจารย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ปัจจุบันไม่มีแล้ว
2. นักเรียนนายเรืออากาศชั้นปีที่ 4 จะฝึกเดินอากาศในภาคซัมเมอร์ทุกปี มีโอกาสได้เที่ยวต่างประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ
3. นักเรียนนายเรืออากาศชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้รับคัดเลือกให้ไปศึกษาที่ร.ร.นายร้อยต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน ฯลฯ
4. นักเรียนนายเรืออากาศชั้นปีที่ 3 จะได้ฝึกบินกับเครื่องบินพร้อมครูฝึก
 
 
 
เหล่าตำรวจ (ร.ร.นายร้อยตำรวจ)
              เหล่านี้เมื่อจบแล้วโดยมากจะบรรจุเป็นรองสารวัตร(รองสว.) หรือพนักงานสอบสอบสวนตามสถานีตำรวจทั่วประเทศกันเกือบทั้งรุ่น นอกนั้นก็จะบรรจุเข้าทำงานตำแหน่งอื่นๆ เช่น ตชด. ตำรวจพลร่ม นายเวร ฯลฯ ซึ่งตำรวจน้ำจะไม่มีตำแหน่งให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจที่จบการศึกษา เพราะสตช.ได้ฝากให้ร.ร.ชุมพลทหารเรือและร.ร.นายเรือผลิตบุคลากรด้านนี้แล้ว โดยสมัครได้ที่ร.ร.ดังกล่าวโดยตรง รับปีละ 10 นาย ทีนี้มาดูเส้นทางกันว่านักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถเลือกเส้นทางการทำงานได้อย่างไรบ้าง
 
1. นักบินตำรวจ รับจากตำรวจชั้นสัญญาบัตรทั่วไป โดยฝึกกับสถาบันการบินพลเรือน
 
2. ตำรวจคอมมานโด ซึ่งมีอยุ่มากมายหลายหน่วยครับ เช่น กองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจนครบาล ปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และปฏิบัติการพิเศษภูธร ซึ่งอยากไปอยู่หน่วยไหนก็ต้องเลือกบรรจุหน่วยนั้นๆ และจะมีประกาศรับสมัครฝึกภายหลัง
 
3. ตำรวจพลร่ม หน่วยนี้อยู่ภายใต้กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งน้องๆส่วนใหญ่น่าจะรุ้จักมาบ้างแล้ว เช่น ผู้กองแคน และหมวดตี้ ดังนั้นน้องๆคนไหนอยากเป็นต้องลงหน่วยนี้เท่านั้นครับ ซึ่งการเลือกทางนี้ยังมียอดต่อไปอีกมากครับ อยากเป็นคอมมานโดก็ได้เป็น(นเรศวร261) อยากฝึกซีล ฝึกรีคอนได้ไปแน่ แต่จะไม่ขอพูดถึงในนี้ครับ
 
4. หน่วย EOD ตำรวจ ถ้าอยากเป็นต้องเลือกลงตชด.หลังจากนั้นจะมีการรับสมัครฝึกอบรมอีกครั้งหนึ่ง
 
5. ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) จะรับสมัครโดยตรงพร้อมกองการสอบ และจากข้าราชการตำรวจหน่วยอื่นๆโดยต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ
 
6. ตำรวจท่องเที่ยว จะรับสมัครจากข้าราชการตำรวจหน่วยอื่นๆโอนย้ายมาเท่านั้น
 
7. ส่วนเหล่าอื่นๆที่เหลือ เช่น ตชด. จะไม่ขอกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถเลือกตำแหน่งบรรจุได้ทันทีครับ (เข้าไปแล้วจะรู้เองโดยอัตโนมัติครับ)

Thursday, December 12, 2013

ทำไมต้องกวดวิชาเพื่อสอบเข้า โรงเรียนนายร้อย หรือ โรงเรียนเตรียมทหาร

ทำไมต้องเรียน เตรียมทหาร กับสถาบัน กวดวิชาเตรียมทหาร พันเอกแดนชัน กองแก้ว

การกวดวิชา เตรียมทหาร อาจมีกลุ่มนักเรียนจำนวนหนึ่งอาจมีคำถามอยู่ในใจว่า ถ้าพวกเขามีความสามารถจริงๆ ไม่ต้อง เข้ารับกวดวิชา เพื่อสอบเข้าเตรียมทหาร จะมีโอกาสสอบติดโรงเรียน เตรียมทหาร หรือไม่ คำตอบคือ มี แต่ทุกคนย่อมรู้ดีว่าสิ่งที่พูดถึงนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ความฝันสำหรับการเข้าไปอยู่โรงเรียน เตรียมทหาร หรือโรงเรียนนายร้อย 4 เหล่าทัพ นั้นพูดได้ชัดๆ คำเดียวว่า "ยาก" มีแค่เพียงความรู้สึกว่าอยากเป็นนายร้อย อยากเข้าโรงเรียน เตรียมทหาร อยากเป็นนักเรียนเตรียมทหาร คงไม่สามารถเป็นอย่างใจต้องการได้ นอกจากมีฝันแล้ว สิ่งที่คุณควรมีมากกว่านั้นคือ ความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงและที่สำคัญต้องมีความอดทน คุณจะเป็นนักเรียน เตรียมทหาร ไม่ได้ ถ้าคุณไม่มีความอดทน
สำหรับหนุ่มๆที่มีความฝันที่ชัดเจน (ซึ่งอาจหาได้ไม่ง่ายในหมู่นักเรียนชั้นมัธยมต้น ฉะนั้นถ้าคุณคือหนึ่งในจำนวนผู้ที่มีฝันที่จะเป็นนักเรียน เตรียมทหาร จงภูมิใจในความมุ่งมั่นที่คุณมี) การสอบเข้าโรงเรียน เตรียมทหาร คงไม่ยากเกินความมุ่งมั่น อดทนและสู้สุดกำลังของหนุ่มๆหลายคน ตัวอย่างมีให้เราเห็นมากมาย ทั้งผู้ที่ประสบผลสำเร็จและ ไม่ประสบผลสำเร็จในการสอบคัดเลือก ส่วนใหญ่ของกลุ่มนักเรียนที่สอบผ่านการคัดเลือกเข้าโรงเรียน เตรียมทหารนั้น ผ่านการ กวดวิชาเตรียมทหาร และฝึกฝนมาอย่างโชกโชน เมื่อพวกเขาก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน กวดวิชาเตรียมทหาร พันเอกแดนชัย กองแก้ว สิ่งที่พวกเขาจะได้รับคือ การเตรียมความพร้อมก่อนสอบ มีตารางเวลาการอ่านหนังสือทบทวนหรือทำข้อสอบที่ชัดเจน มีเทคนิควิธีคิดเพื่อทำข้อสอบได้เร็วและถูกต้อง การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน กวดวิชา เตรียมทหาร ย่อม ทำให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสอบเข้าโรงเรียน เตรียมทหาร ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

กวดวิชาเตรียมทหาร
คุณคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง การเรียนกวดวิชาทั่วไปที่ไม่ได้เน้นเฉพาะทางสาย เตรียมทหาร ส่วนใหญ่มุ่งเพื่อเรียนเสริมเพิ่มเกรด แต่ถ้าเรียนกับสถาบัน กวดวิชาเตรียมทหาร โดยตรง เราจะเรียนแค่ 5 วิชาหลักที่ใช้ในการสอบเข้าโรงเรียน เตรียมทหาร เท่านั้น คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคม และอาจรวมถึงการฝึกพละศึกษา ซึ่งบางสถาบันอาจมีหรือไม่มี การทดสอบด้านพละศึกษาเป็นการสอบรอบสองหลังจากสอบผ่านภาควิชาการ 5 วิชาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เราเรียกว่าการสอบพละศึกษา 8 สถานี ประกอบไปด้วย การว่ายน้ำ การดึงข้อ การลุกนั่ง การวิ่งเก็บของ การวิ่ง 50 เมตรและ 1000 เมตร การกระโดดไกลและการนั่งงอตัว สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอก็ไม่อาจผ่านไปได้อย่างแน่นอน สำหรับคอร์ส. เดือนตุลาคม และเดือนมีนาคม ของทุกปี ทางทีมงาน กวดวิชาเตรียมทหาร จะมีการฝึกเฉพาะทางมีสถานที่ฝึกทั้ง 8 สถานี ทั้งสระว่ายน้ำ อุปกรณ์ดึงข้อ สนามกีฬาสำหรับฝึกสถานีต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนผู้เรียนทั้งทางด้านวิชาการและพละศึกษา อาจมีการจำลองสถานการณ์ให้คล้ายคลึงกับการใช้ชีวิตในรั้ว เตรียมทหาร เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบตัวเองว่านี่คือสิ่งที่พวกเขาต้องการหรือไม่ พร้อมทั้งฝึกความอดทน สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้เรียนล่วงหน้า เพื่อในวันข้างหน้าพวกเขาเหล่านั้นจะสามารถดำเนินชีวิตในรั้ว เตรียมทหาร ได้เป็นอย่างดี

การเรียน กวดวิชาเตรียมทหาร เฉพาะทาง จะช่วยให้คุณมีแนวทางในการบริโภคข้อสอบได้อย่างถูกทิศทาง ทั้งข้อสอบเก่าย้อนหลังและการเก็งข้อสอบใหม่ คุณจะได้รับการแนะนำที่ตรงจุดเป้าหมาย การเรียน กวดวิชาเตรียมทหาร ไม่ใช่การเรียนหรือการอ่านหนังสืออย่างเลื่อนลอย ไม่ใช่การทำข้อสอบทั่วๆไปอย่างเรื่อยเปื่อย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นคุณอาจต้องเสียเวลาอันมีค่าที่สู้อุตส่าห์ทุ่มเทไปกับการอ่านและการทำข้อสอบที่ไร้เป้าหมาย แต่การเรียน กวดวิชาเตรียมทหาร คือการทำความรู้จักกับโรงเรียน เตรียมทหาร เรียนรู้หนทางที่จะเข้าไปนั่งอยู่ในรั้วแห่งดาว และเดินในเส้นทางที่มีรั้วเตรียมทหารรออยู่ข้างหน้า

ถ้าคุณคือหนึ่งคนที่ไม่ต้องการใช้เวลาอย่างสิ้นเปลือง ไม่หลงทาง และถ้าฝันของคุณคือการสอบเข้าโรงเรียน เตรียมทหาร สี่เหล่า สถาบัน กวดวิชาเตรียมทหาร พันเอกแดนชัย กองแก้ว คือสถานที่ที่เตรียมไว้สำหรับคุณ แค่คุณเลือกสถาบัน กวดวิชาเตรียมทหาร ที่ดีมีความพร้อมจะช่วยพาคุณถึงฝั่งฝัน นั่นก็หมายถึงคุณมีชัยชนะไปกว่าครึ่งทางแล้ว 

สมัครเข้าค่าย พร้อมพาไปสอบกับเราได้เลยเรารับ 60 ที่นั่ง ที่ จ.นครนายก ทีมอาจารย์ผู้สอนมาจาก รร.เตรียมทหาร และ รร.จปร.  ติวอย่างใกล้ชิด เน้นตรงจุด. สถานที่บรรยากาศดี ไม่รู้สึกอึดอัด สำรองที่นั่งได้ที่ 086-9173434 คุณพัชรกันย์ กองแก้ว








Friday, November 29, 2013

กวดวิชาเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร กับ คณิต คิด Science จ.ลำปาง

ลิขิตฟ้าหรือจะสู้ มานะตน มาร่วมกันลิขิต ขีดเส้นทางสู่ โรงเรียนลูกผู้ชาย กับ คณิต คิด Science โครงการปั้นดาว
คณิต คิด Science จ.ลำปาง
เปิดรับสมัคร นักเรียนติวเข้มเพื่อสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร
เราเป็นโรงเรียนกวดวิชาชั้นนำของจังหวัดลำปาง เพื่อเตรียมความพร้อมให้สำหรับนักเรียนที่สนใจ ตั้งแต่นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 2 (เพื่อเตรียมความพร้อม) และ มัธยมศึกษา ปีที่ 3 - อายุไม่เกิน 17 ปี  ติวเข้มเพื่อสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร (โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายร้อย จปร. และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ)

จังหวัดลำปาง รับสมัครเรียน

 เทอม 1 เริ่ม 1 พฤษภาคม 

เทอม2 พฤศจิกายน ของทุกปี 

ติวเข้มเดือนตุลาคม ที่จังหวัดนครนายก 

ติวเข้มพร้อมพาไปสอบ เดือนมีนาคม ของทุกปี จ.นครนายก

 สนใจสมัครได้ที่

คณิต คิด Science


สนใจรีบสมัครด่วนนะคะ

โทร.086-9173434, 081-3476123, 081-5954501


Monday, November 25, 2013

ขอพูดภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย สำหรับ ผู้ปกครองที่ไม่ทราบว่า โรงเรียนทหารเขาเรียนอะไรกัน

                  การเขียนบทความนี้ เขียนเพื่อแจ้งให้ ผู้ปกครอบทราบถึง เขาเรียนอะไรกันที่ รร.เตรียมทหาร และ รร. 4 เหล่าทัพ กันแบบภาษาชาวบ้าน กันนะคะ เพื่อให้เข้าใจง่าย ง่าย เพราะยังมีผู้ปกครองที่ยังไม่เข้าใจ โทรศัพท์สอบถามกันมาเยอะมากคะ


สำหรับ รร.เตรียมทหาร

                    น้องน้องที่สอบได้ทั้ง 4 เหล่าก็จะไปเรียน รวมกัน 3 ปี คือเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4 - ม.6 นั่นเองเหมือนเรียนในโรงเรียนปกติคะ เพียงแต่ น้องน้อง จะต้องฝึกวิชาทหาร  และร่างกายให้แข็งแรง อยู่ในกฎ ในระเบียบของโรงเรียน จะต้องมีการเข้าเวร คือเริ่มฝึกให้มีความรับผิดชอบทั้งตนเอง และรับผิดชอบส่วนรวมด้วยคะ

สำหรับ รร. 4 เหล่าทัพ

1. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ทหารบก) 
2. โรงเรียนนายเรือ  (ทหารเรือ)
3. โรงเรียนนายเรืออากาศ (ทหารอากาศ)

สำหรับ 3 เหล่าทัพนี้ จะเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คะ ซึ่งก็จะมีหลายแขนงวิชา เราเข้าดู หลักสูตรของโรงเรียน 4 เหล่า ได้นะ

4. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ตำรวจ) ก็จะเรียนเกี่ยวกับสาขาทางรัฐศาสตร์

                        พอทราบกันคร่าวคร่าวแล้วนะคะว่าเขาเรียนอะไรกัน และเราผู้ซึ่งเป็นผู้ปกครองควรจะส่งเสริมให้เรียนหรือไม่อย่างไร เนื่องจากว่า น้องน้องจะต้องอยากเป็นทหาร หรือตำรวจก่อน หากไม่รักแล้วการอยากเข้าไปเป็นแต่อย่างเดียวอาจทำให้เรียนไม่ได้ เราต้องเตรียมความพร้อมของน้องน้องกันก่อน เตรียมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ด้านวิชาการ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ การเข้าสังคม แทบจะต้องเตรียมทุกอย่างกันเลยทีเดียว เพราะหากเข้าไปได้แล้วนั้น เขามีการฝึกวินัยที่เข้มข้นพอสมควร หากไม่แกร่งจริง อาจจะลาออกได้ อย่างที่เกิดขึ้นทุกปี แต่สิ่งที่น้องน้อง จะได้รับจากการได้เข้าโรงเรียนทหาร ทุกเหล่านั้น ถือได้ว่า น้องน้องจะได้เป็นข้าราชการเมื่อจบมาโดยไม่ต้องไปสอบแข่งขันกันเพื่อหางานทำกันอีกในอนาคต และในช่วงที่เรียน ก็ได้รับเงินเดือนทุกเดือน มีสวัสดิการ ที่ดี

                       พอเข้าใจกันคร่าวคร่าวเกี่ยวกับ โรงเรียนเตรียมทหาร และ โรงเรียน 4 เหล่าทัพ กันแล้วนะคะ หากอยากได้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติม ก็ติดต่อดิฉัน พัชรกันย์ ได้นะคะ 086-9173434  ยินดีให้ข้อมูลคะ

Sunday, November 24, 2013

ตารางการสอบคัดเลือก นักเรียนเตรียมทหาร ปี 2557 ของ โรงเรียน 4เหล่าทัพ

                       ตารางการสอบคัดเลือก นักเรียนเตรียมทหาร ปี 2557
                                             ของ โรงเรียน 4 เหล่าทัพ
(โรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ)


รร.นรต. (โรงเรียนนายร้อยตำรวจ) (ตร.)

รับสมัคร                          Internet วัน จ.ที่ 3 กุมภาพันธ์- จ.ที่ 10 มีนาคม 57
สอบรอบแรก (ภาควิชาการ) อ. ที่ 1 เมษายน 57 สอบที่ ม.รามคำแหง

รร.จปร. (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) (ทบ.)

รับสมัคร                          Internet จ.ที่ 9 ธันวาคม – พฤ.ที่ 20 มีนาคม 2557
สอบรอบแรก (ภาควิชาการ) พ.ที่ 2 เมษายน 2557 สอบที่
                                    1. ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต), 2. ม.เกษมบัณฑิต 3. ม.ราชภัฎพระนคร

รร.นอ. (โรงเรียนนายเรืออากาศ) (นอ.)

รับสมัคร                          Internet พฤ.ที่ 2 มกราคม – จ.ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557
                                    ไปรษณีย์ พฤ.ที่ 2 – ศ.ที่ 31 มกราคม 2557
                                    ด้วยตนเอง พฤ.ที่ 6 – จ.ที่ 10 มีนาคม 2557
สอบรอบแรก (ภาควิชาการ) ศ.ที่ 4 เมษายน 2557 สอบที่ 1. ม.รามคำแหง, 2. ม.เกษมบัณฑิต

รร.นร. โรงเรียนนายเรือ (ทร.)

รับสมัคร                          Internet พ.ที่ 22 มกราคม – ส.ที่ 8 มีนาคม 2557
สอบรอบแรก (ภาควิชาการ) ส.ที่ 5 เมษายน 2557 สอบที่ ม.รามคำแหง

เตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อสมัครกันนะคะ สำหรับนักเรียนที่มีวุฒิ ม.3 (อายุ 14-17 ปี)

หากสนใจเพื่อจะเข้ามาลงทะเบียนเตรียมความพร้อมเพื่อสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร หรือ
 อยากสอบถามข้อมูล เชิญโทรศัพท์ มาที่ คุณพัชรกันย์ 086-9173434 ได้คะ
เราจะเข้าค่ายกันที่ จ.นครนายก ใกล้ รร.จปร.
อำนวยการสอนโดย พันเอกแดนชัย กองแก้ว และคณะอาจารย์จาก รร.จปร. และ รร.เตรียมทหาร คะ

Wednesday, November 13, 2013

โรงเรียนช่างฝีมือทหารเริ่มประกาศขายใบสมัคร ปี2557

จ.ลำปาง เปิดรับสมัครนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร

คณิต คิด Science จ.ลำปาง
เปิดรับสมัคร นักเรียนติวเข้มเพื่อสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร
เราเป็นโรงเรียนกวดวิชาชั้นนำของจังหวัดลำปาง เรามีทีมอาจารย์ จาก โรงเรียนนายร้อย จปร. มาสอนถึง จังหวัดลำปาง และทีมอาจารย์ ในลำปาง เพื่อเตรียมความพร้อมให้สำหรับนักเรียนที่สนใจ ติวเข้มเพื่อสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร (โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายร้อย จปร. และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ)
จังหวัดลำปาง รับสมัครเรียน เทอม 1 เริ่ม 1 พฤษภาคม และเทอม2 พฤศจิกายน ของทุกปี และติวเข้มเดือนตุลาคม ที่จังหวัดนครนายก และติวเข้มพร้อมพาไปสอบ เดือนมีนาคม ของทุกปี สนใจสมัครได้ที่
คณิต คิด Science
สนใจรีบสมัครด่วนนะคะ
โทร.086-9173434

Sunday, October 13, 2013

คุณสมบัติผู้สมัครสอบ นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง

สำหรับผู้ที่สนใจอยากติวเข้มเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจหญิง สามารถโทรสอบถามได้ที่ คุณพัชรกันย์ กองแก้ว T.086-9173434



Wednesday, October 9, 2013

เริ่มเปิดรับสมัคร

นักเรียน ผู้สนใจติวเข้มเพื่อสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร ปี 2557 เราเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการสอบภาควิชาการเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร (4 เหล่าทัพ) สนใจติดต่อได้เลยคะ ที่ คณิต คิด Science จังหวัดลำปาง ได้ทุกวันคะ

Saturday, October 5, 2013

เริ่มต้นเรียนคอร์สติวเข้มเพื่อสอบเข้าเรียน โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นวันแรกของเดือนตุลาคม 2556

เริ่มเรียนวิชาแรกคือ วิชาวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ น้องน้องตั้งใจเรียนกันดีมากคะ แต่เรื่องการดึงข้อก็เป็นปัญหาสำหรับนักเรียนเกือบทุกคน ต้องค่อยค่อยฝึกกันต่อไปนะคะอย่าเพิ่งท้อถอยกันนะคะ

Thursday, August 1, 2013

รับสมัครนักเรียนเพื่อเตรียมสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร คอร์ส ตุลาคม 2556

สำหรับผู้ปกครองที่สนใจส่งบุตรหลานของท่านมาเข้าค่ายเพื่อ เตรียมตัวสอบเข้า 
โรงเรียนเตรียมทหาร (4 เหล่าทัพ) ทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ และตำรวจ
 (รับสมัครนักเรียนชั้น ม.1-ม.2 และ ม.3-ม.5 อายุไม่เกิน 17 ปี)

ทางทีมงานเริ่มรับสมัครเพื่อจองที่นั่ง แล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปคะ โดยจะเข้าค่าย ที่ จ.นครนายก
ช่วงเดือนตุลาคม 2556 (ประมาณ 2 อาทิตย์) 
ช่วงปิดเทอม

โดยรวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 17,500 บาท (ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าที่พัก ค่าซักผ้า) เรียบร้อย คะ

ยกเว้นค่าเดินทางเข้าค่ายและกลับค่าย 

สนใจสามารถติดต่อ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณพัชรกันย์ กองแก้ว
Tel. 086 917 3434
Email : Kphatcharakan@gmail.com
LINE: Annie_lp

Thursday, April 25, 2013

ข้อคิด สำหรับการประกาศผลสอบรอบ 2

การประกาศผลสอบรอบ 2 สำหรับ นักเรียนเตรียมทหาร นตท.57
ประกาศผลสอบทางอินเตอร์เน็ตทุกเหล่าทัพ วันจันทร์ ที่ 13 พฤษภาคม 2556 นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 57
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2556 ที่โรงเรียนเนายเรืออากาศ เวลา 09:00-15:00
ขอแจ้งจำนวนยอดที่รับ สำหรับนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 57 โดยประมาณ
1. เหล่าทหารบก รับนักเรียน 245 คน
2. เหล่าทหารเรือ รับนักเรียน 70 คน
3. เหล่าทหารอากาศ รับนักเรียน 90 คน
4. เหล่าตำรวจ รับนักเรียน 180 คน
– ตำรวจน้ำ รับนักเรียน 10 คน
ข้อควรปฏิบัติ
1. นักเรียนต้องมาพร้อมกับผู้ปกครอง ควรถึงก่อน 8:00 ที่โรงเรียนนายเรืออากาศ
2. มีเอกสารการใช้สิทธิ์เลือกเหล่า ผู้ปกครองลงนามด้วย
3. ทุกคนใช้สิทธิ์เลือกเหล่าได้ครั้งเดียวตามห้วงเวลาที่กำหนด
วิธีการ
เรียกรายงานตัวครั้งที่ 1 เวลา 9:00-11:00 (2ชม.)
1. ผู้ถูกประกาศหมายเลขตามยอดของแต่ละเหล่ารายงานตัว
2. ภายใน 2 ชม. ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเหล่าใด
3. ตัดสินใจแน่นอนแล้วใช้สิทธิ์เลือกเหล่านั้น
4. ใช้สิทธิ์เหล่าใดแล้ว (รายงานตัวแล้ว) ไม่สามารถเลือกเหล่าอื่นได้อีก ถือว่าใช้สิทธิ์ไปแล้ว
5. เวลา 11:00 ปิดรายงานตัว แต่ละเหล่าเช็คยอดของตัวเอง
เรียกรายงานตัวครั้งที่ 2 เวลา 11:30-12:30 (1ชม.)
1. ผู้ถูกประกาศหมายเลข (เพิ่มเติม) ตามยอดของแต่ละเหล่ารายงานตัว
2. การปฏิบัติเหมือนครั้งที่ 1
เรียกรายงานตัวครั้งที่ 3 เวลา 12:30-13:30 (1ชม.)
1. ถ้าแต่ละเหล่ายังได้ นตท. 57 ของตนไม่ครบตามจำนวน
2. ผู้ถูกประกาศหมายเลข (เพิ่มเติม) ตามยอดของแต่ละเหล่ารายงานตัว
3. การปฏิบัติเหมือนครั้งที่ 1,2
ข้อแนะนำ (ส่วนตัว)
1. ถ้าเป็นตัวจริงตามยอดที่เหล่าต้องการ ให้ตัดสินใจเลือกเหล่านั้น
2. ถ้าติดตัวจริงหลายเหล่าให้เลือกเหล่าที่ตนเองชอบ
3. ถ้าติดตัวจริงเหล่าหนึ่งและตัวสำรองเหล่าหนึ่ง แต่อยากเป็นในเหล่าที่เป็นตัวสำรองนั้น และเป็นตัวสำรองอยู่ต้น ๆ อย่าใช้สิทธิ์ในเหล่าแรก เพราะจะหมดสิทธิ์ทันที
4. เป็นตัวสำรองทุกเหล่า ให้เลือกเหล่าที่เรียกเลย
ขอบคุณมากคะ โชคดีทุก ๆ ท่านคะ
ขอบคุณข้อมูล จากพี่ปิ๊ก คะ

ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่สอบได้ รอบ 1

ทางทีมงาน ของ พันเอกแดนชัย กองแก้ว มีนักเรียนเข้าร่วมติวเข้ม ที่ จ.นครนายก
ในช่วงวันที่ 9 มีนาคม  - 8 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบ จำนวน 48 คน และมาจากหลายจังหวด อาทิ นักเรียนจากโรงเรียนดรุณศึกษา จ.นครศรีธรรมราช โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปางโรงเรียนลำปางกัลยาณี จ.ลำปาง โรงเรียนเขลางค์ จ.ลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญ จ.ลำปาง โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมฯ จ.กทม โรงเรียนสามัคคี จ.เชียงราย ฯลฯ

จากจำนวนนักเรียน 48 คน สามารถสอบติดได้ที่นั่งทั้งหมด 7 ที่นั้ง

ทางเราขอแสดงความยินดีกับ
1. นายภาคภูมิ กลุ่มในเมือง  ติด 3 ที่นั่ง คือเหล่า ทบ. ทอ. และ ทร.
2. นายศุภอาฒย์ มั่นสิงห์      ติด 4 ที่นั่ง คือ เหล่า ทบ. ทอ. ทร. และ ตร.

ทางทีมงาน พันเอกแดนชัย  กองแก้ว ขอแสดงความยินดีกับ น้องทั้ง 2 คนด้วยคะ

Tuesday, March 12, 2013

รับสมัครนักเรียน ที่จะเข้าค่ายติวเข้ม เพื่อสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เดือน ตุลาคม 2556

                                         
                                                                     เปิดรับสมัคร

                                                    นักเรียนที่สนใจ สมัครเข้าค่ายติวเข้ม

                                                                เดือนตุลาคม 2556

                                             (ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม - 21 ตุลาคม 2556*)

                        เปิด 2 ห้อง คือ 1. นักเรียนที่สนใจ ตั้งแต่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ปีที่ 2

                              2. นักเรียนที่สนใจ อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - อายุไม่เกิน 17 ปี

                                                    เรารับจำนวนไม่เกิน 55 คนเท่านั้น

                                                             



*หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบ

ขอแสดงความยินดีกับน้อง ที่สอบติด รร.จ่าอากาศ

ทางทีมงาน KS Cadet ขอแสดงความยินดีกับ น้อง ศุภอาฒย์ มั่นสิงห์ ที่สอบติด เป็นนักเรียนจ่าอากาศ ปี 2556  ได้ คะ (เท่าที่ทราบน้องจะไปสอบเข้า โรงเรียน 4 เหล่าทัพ ต่อไป) ตอนนี้กำลังมุ่งหน้า ติวเข้มกับทางทีมงาน KS Cadet นครนายก เข้าค่ายติวเข้ม กัน ที่ จ.นครนายก

Monday, January 28, 2013

ด่วน กำลังจะเต็มแล้ว สำหรับ คอร์ส ติวเข้มเดือนมีนาคม 2556 (นักเรียน ชั้นม. 3- ม. 5 อายุไม่เกิน 17 ปี)

สำหรับผู้ปกครองที่สนใจส่งบุตร หลาน ของท่านเข้าค่ายติวเข้ม เพื่อสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร

สำหรับ นักเรียนชั้น ม.3- ม. 5  (อายุไม่เกิน 17 ปี) 

รีบจองด่วนเลยนะคะ ก่อน 20 กุมภาพันธ์ 

เนื่องจากว่าตอนนี้เหลือที่นั้งไม่มากแล้ว คะ  รีบหน่อยนะคะ หรือสนใจจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 

คุณพัชรกันย์ เบอร์ 086 917 3434 
โทรหาเราได้เลยนะคะ ยินดีให้คำปรึกษา คะ

เขาชะโง การเด้นท์โฮม จ.นครนายก (ค่ายติวเข้ม ม.1-ม.2)

ทางทีมงานได้เตรียมสถานที่เรียนและที่พักให้กับนักเรียนชั้น ม.1-ม.2
เพื่อเข้าค่ายติวเข้มเพื่อมุ่งสู่เส้นทางเข้าเตรียมทหาร ไว้พร้อมแล้ว
 คือ
เขาชะโง การเด้นท์โฮม
เลขที่ 1 หมู่9 บ้านโคกลำดวน ต.พรหมณี อ.เมือง จ.นครนายก
รีบจองค่ายด่วนก่อน 20 กุมภาพันธ์ 2556 นี้คะ

โทรได้เลยนะคะ ที่ คุณพัชรกันย์ เบอร์ 086 917 3434




Saturday, January 19, 2013

คอร์ส สำหรับนักเรียน ม.1 - ม.2 (เพิ่มเติม)

สำหรับ ผู้ปกครอบ หรือ นักเรียน ที่สนใจเข้าคอร์ส ฝึกอบรม ภาควิชาการ และ พละศึกษา ฝึกวินัย
 ที่ จ.นครนายก 
เดินทาง 8 มีนาคม ช่วงเย็น - 4 เมษายน 2556
 รีบสมัครด่วน ก่อนวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556

เราขอแจ้งตารางเรียน ของทุกวันเป็นดังนี้

6:30 - 7: 30 วิ่งออกกำลังกาย
7:30 - 8:30 รับประทานอาหารเช้า
8:30-9:00 เตรียมตัวเข้าเรียน
9:00-12:00 เรียนวิชาการช่วงที่ 1
12:00-13:00 รับประทานอาหารเที่ยง
13:00-16:00 เรียนวิชาการช่วงที่ 2
16:00-16:30 เตรียมตัวเปลี่ยนชุดพละ
16:30-17:30 ออกกำลังกาย (ฝึกวินัย)
17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น
18:30-19:00 เตรียมตัวเข้าห้องเรียน
19:00-21:00 เรียนวิชาการช่วงที่ 3
21:00-22:00 แจกโทรศัพท์ มือถือให้นักเรียนคุยกับผู้ปกครอง
22:00 พักผ่อน

เวลาที่แจ้งให้ทราบอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม

สำหรับกิจกรรมพิเศษ เสริม 
1. พาเด็กไปทัศนศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร
2. พาไปสัการะศาลเจ้าพ่อขุนด่าน / ศาลาวงกลม
3. กิจกรรมที่ โรงเรียน นายร้อย จปร.
เช่น
กระโดนหอสูง 34 ฟุต
กิจกรรมยิงปือเพ้นท์บอล
กิจกรรมยิงปืน BB GUN ลงสนาม
กิจกรรมยิงธนู
ฯลฯ
แล้วแต่เวลาเหมาะสมให้เสร็จภาย ใน 1 วัน

ส่วนวันที่ 1-3 เมษายน  พาไปเที่่ยวสัตหีบ 

4 เมษายน เดินทางกลับ

สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาติดต่อ ได้ที่
คุณพัชรกันย์ กองแก้ว โทร. 086 9173 434
 

 

สิ่งของที่ต้องเตรียมมาเข้า คอร์ส ติวเข้ม เดือน มีนาคม 2556 ที่ จ.นครนายก

สำหรับผู้ที่สมัครเข้า คอร์ส ติวเข้ม เดือน มีนาคม 2556 กับ ทีมงาน พันเอกแดนชัย กองแก้ว ทางทีมงานขอให้เตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้

1. เสื้อผ้าสำหรับใส่เรียนและออกกำลังกาย อย่างน้อย 4 ชุด (เสื้อยืด,กางเกงสุภาพ (กางเกงใส่ไปเที่ยว,กางเกงพละหรือ กางเกงขาสั้น))
2. ชุดนักเรียนอย่างน้อย 2 ชุด เพื่อใช้ใส่ไปสอบ (มัธยมศึกษาปีที่ 2 ไม่ต้องนำมา)
3. ชุดสำหรับใส่นอนอย่างน้อย 2 ชุด
4. เสื้อกันหนาว 1 ตัว (อาจใส่นอน)
5. อุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ เช่น ขันน้ำ,แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, สบู่ และแชมพูสระผม
6. ผ้าเช็ดตัว ผืนใหญ่ 1 ผืน
7. ยาสามัญเช่น ยาพาราฯ ยาแก้แพ้ ฯลฯ และสำหรับผู้มีโรคประจำตัว ต้องแจ้งให้ทีมงานทราบและนำยามาด้วย และสำหรับผู้ที่แพ้ยา แพ้อาหาร ก็ต้องแจ้งให้ทราบเช่นกัน
8. Dictionary
9. สมุดจดอย่างน้อย 6 เล่ม
10. เครื่องเขียน
         - สำหรับใช้เรียน เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ แลกกาเน้นข้อความเป็นต้น
         - สำหรับใช้สอบ  เช่น ดินสอ 2B อย่างน้อย 3 แท่ง พร้อมยางลบ และที่เหลาดินสอขนาด
           เล็ก สำหรับใช้เหลาในห้องสอบ (กรณีอนุญาตให้นำเข้าไปได้)
11.รองเท้าสุภาพ,รองเท้าออกกำลังกาย,รองเท้าแตะใส่อาบน้ำ,รองเท้านักเรียน,ถุงเท้า
12. กางเกงว่ายน้ำ และแว่นตาสำหรับว่ายน้ำ
13. ยานวดกล้ามเนื้อ (สำหรับใช้หลังปวดเมื่อยเวลาออกกำลังกาย)
14. ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดเหงื่อ
15. เอกสารสำหรับการรักษาพยาบาลในยามฉุกเฉิน เช่น บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค
16. หนังสือคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ต้น (ต้องเอามาทุกคน ไว้ทบทวนเวลาว่าง)
17. นาฬิกาข้อมือแบบ ตัวเลข (ราคาไม่แพง กันน้ำได้) ไว้จับเวลา
18. บัตรประจำตัวสอบ ระเบียบการสมัครสอบและเอกสารทุกอย่างที่โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจส่งกลับมาให้)
19. หากนักเรียนคนใดยังไม่ได้สมัครทางไปรษณีย์ ให้นำใบสมัครพร้อมหลักฐานทุกอย่างมาด้วย ทางสถาบันจะพานักเรียนไปสมัครสอบ ในกรณีนี้ให้นำหลักฐานตัวจริงมาด้วย
20. อนุญาติให้เอากระเป๋าเดินทางใบใหญ่ได้ 1 ใบ และกระเป๋าเป้ ได้ 1 ใบ

สำหรับผู้ควบคุม :

1. โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง (เมื่อถึงค่าย จะนำเอามาเก็บรวมกันที่ ครูฝึก และจะแจกคืนให้ทุกวันเวลา
      21:00 น. - 22:00 น.)
2.  หากผู้ปกครอบต้องการมอบเงินให้นักเรียนใช้ ต้องนำมาฝากไว้ที่ คุณพัชรกันย์ กองแก้ว เพื่อให้นักเรียนเบิกไช้ได้เป็นครั้งคราว (ส่วนใหญ่เด็กจะใช้จ่ายค่าขนมวันละ 50-70 บาท) แต่จะให้เด็กมีเงินติดตัวไม่เกิน 200-300 บาท เพื่อความปลอดภัย

สิ่งของที่นักเรียนห้ามนำมา :

1. สร้อยคอทองคำ หรือเครื่องประดับมีค่ามาก ๆ
2. นาฬิการาคาแพง
3. พระเครื่องที่มีมูลค่าสูง
4. อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เว้นโทรศัพท์ มือถือ

กรณีมีเรื่องด่วนอยากติดต่อฉุกเฉินกับเด็กนักเรียนหรือสอบถามความเป็นอยู่ของเด็กในช่วงเวลาเข้าค่าย สามารถติดต่อ ตรงได้ที่
1. คุณพัชรกันย์     กองแก้ว (แอนนี่)  โทร. 086 9173 434
2. พันเอกแดนชัย  กองแก้ว โทร. 083 1981 525


Friday, January 11, 2013

การสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร

การสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร   (ข้อมูลอาจมีการปรับปรุง )    
         โรงเรียนเตรียมทหาร มิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก และกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในแต่ละปีแล้วส่งมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหารเป็นเวลา ๓ ปี
         เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว จึงจะไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร – ตำรวจ ตามที่นักเรียนสมัครสอบไว้แต่แรก

ใบสมัคร          
มีจำหน่ายประมาณ กลางเดือน มกราคม ไปจนถึงวันสุดท้ายของการสมัครด้วยตนเองของแต่ละเหล่า

การสมัครสอบ              
สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณ กลางเดือน มกราคม – ปลายเดือน กุมภาพันธ์       สมัครด้วยตนเอง    ประมาณ กลางเดือน มีนาคม

การสอบคัดเลือก            
ประมาณ ปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือน เมษายนของทุกปี

สถานที่จำหน่ายใบสมัคร
ใบ สมัครและระเบียบการในการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จะมีสถานที่จำหน่ายแตกต่างกันไปตามเหล่าที่นักเรียนสมัครเข้าศึกษาต่อ ดังนี้
         ๑. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก ๒๖๐๐๑
         ๒. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพเรือ มีจำหน่ายที่ โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐
         ๓. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพอากาศ มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย  โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ และตามกองบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ
         ๔.  ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีจำหน่ายที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐

หลักฐานที่จะต้องยืนในวันสมัคร
         ๑. รูปถ่ายหน้าตรง ครึ่งตัว ไม่สวมหมวกหรือแว่นตา (เหมือนกับทุกรูป) และต้องเป็นรูปที่ถ่ายไว้ไม่เกิน ๓ เดือน
         ๒. สำเนาสูติบัตร
         ๓. ใบรับรองผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ. ๕ – ป) หรือใบรับรองการศึกษาตามอย่างที่แนบ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔)

ข้อ    ๓. ใบรับรองผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ. ๕ – ป) หรือใบรับรองการศึกษาตามอย่างที่แนบ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔)
เปลี่ยนเป็น     ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือใบรับรองผลการเรียน (ม.๓ หรือสูงกว่า)  

         ๔. ใบสำคัญทหารกองเกินหรือใบแทน
         ๕. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิดซึ่งคัดไว้ไม่เกิน ๓ เดือน หากผู้สมัครมีบิดา และมารดาที่มีนามสกุลไม่ตรงกัน ต้องนำหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย
         ๖. ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม ให้นำหลักฐานใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองจากนายทะเบียน เพื่อแสดงสัญชาติของบิดาหรือมารดา
         ๗. หลักฐานแสดงว่าสำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร (ชั้นปีที่ ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๕) ของกรมการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม (ถ้ามี)
         ๘. หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรนายทหาร นายตำรวจสัญญาบัตรประจำการ หรือนกประจำการหรือเป็นบุตรนายทหารประทวน หรือตำรวจต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรประจำการ (ถ้ามี)
         ๙. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ระหว่างที่มีการรบหรือสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับวันราชการทวีคูณ (ในกรณีนับวันทวีคูณเฉพาะกรณีปราบจลาจล พ.ศ. ๒๔๙๘) (ถ้ามี)
         ๑๐. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ที่ต้องประสบอันตราย ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำตามหน้าที่จนถึงทุพพลภาพ หรือบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเหรียญกล้าหาญ (ถ้ามี)

หมายเหตุ
         ***นัก เรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาดใดก็ได้ จำนวน ๑ รูป  สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาด ๑.๕ x ๒ นิ้ว จำนวน ๗ รูป  สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๔ รูป
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ x ๑.๕ นิ้ว จำนวน ๘ รูป
         *** เอกสารทุกอย่างหากผู้สมัครถ่ายเอกสารมาเอง ต้องนำต้นฉบับจริงมาให้กรรมการตรวจสอบด้วย การเตรียมเอกสารต่าง ๆ  ให้ผู้สมัครดำเนินการตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ในระเบียบการซึ่งจะจำหน่ายคู่ กับใบสมัคร


การเตรียมตัวของผู้สมัคร
         ๑. ผู้สมัครต้องอ่านระเบียบการทั่วไป และวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตลอดจนคำชี้แจงต่าง ๆ ให้เข้าใจ ชัดเจน โดยตลอด
         ๒. เตรียมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสมัคร ตรวจดูให้มีความถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความสะดวกรวดเร็วในการสมัครของผู้สมัครเอง
         ๓. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดและไม่เป็นโรค หรือความพิการอื่นที่ขัดต่อการสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ๔. จดจำกำหนดเวลา และสถานที่ของการรับสมัครที่จะประกาศให้ทราบก่อนการรับสมัคร
         ๕. การแต่งกายในการไปสมัครรวมทั้งการที่จะเข้าสอบ ตลอดจนการไปติดต่อต่าง ๆ ต้องให้สุภาพเรียบร้อย
         ๖. ในวันสมัครจะต้องไปสมัครด้วนตนเองยังไม่จำเป็นต้องนำผู้ปกครอง หรือผู้รับรองไปด้วย
การทำสัญญามอบตัวเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จะต้องนำผู้ปกครองและผู้รับรอง ไปทำสัญญาที่โรงเรียนเตรียมทหาร ตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้ในประกาศพร้อมทั้งนำเงินค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นนักเรียนเตรียม ทหารมาชำระด้วย (รายละเอียดจะมีคำชี้แจงแจกจ่าง ให้ทราบในวันประกาศผลรอบสอง)

หลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องนำมามอบให้กรรมการในวันทำสัญญา  คือ
๑.    ระเบียบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม. ๓ (รบ.๑ ต.) หรือเทียบเท่า
๒.   สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร
๓.  สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ผู้ให้กำเนิด) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรมต้องมีหลักฐานทางราชการรับรองสัญชาติของ บิดา มารดาด้วย

         ผู้ไม่มาทำสัญญา ไม่นำหลักฐานดังกล่าวมามอบให้หรือไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์แห่งการเป็นนักเรียนเตรียมทหาร กรรมการจะเรียกบุคคลสำรองเข้าแทนต่อไป
สถานที่ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

         ขอให้ผู้ที่สนใจติดต่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงจากสถาบัน และหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก
โดย ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก ติดต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อ.เมือง จ.นครนายก ๒๖๐๐๐ โทร. ๐๒-๒๔๑-๒๖๙๑ – ๔ , (๐๓๗) ๓๑๓-๕๙๕ หรือ (๐๓๗) ๓๑๒๐๑๐ – ๔ ต่อ ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๔, ๖๒๑๓๗

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ  ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทร. ๐๒-๓๙๔๐๔๔๑ – ๔ , ๐๒-๓๙๔๒๕๓๑ – ๔ , ๐๒-๔๗๕-๓๙๒๓, ๐๒๔๗๕ - ๓๘๕๒

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

         และท่านอาจสอบถามรายละเอียดได้จาก   แผนกสารนิเทศ โรงเรียนเตรียมทหาร ๑๘๕ หมู่ ๕ ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ๒๖๑๑๐ โทร. (๐๓๗) ๓๐๖๐๒๕ – ๔๔ ต่อ ๕๑๙๐ – ๓, ๕๗๒๕๑๙๐ – ๓

การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร

การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ  ดังนี้

            ๑  การสอบรอบแรก  เป็นการสอบภาควิชาการ  วิชาที่สอบได้แก่  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  ภาษาไทยและสังคมศึกษาตามหลักสูตรไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  (ม. ๓)  ของกระทรวงศึกษาธิการ  มีรายละเอียดดังนี้
๑.๑  วิชาคณิตศาสตร์  (คะแนนเต็ม  ๒๕๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๒  วิชาวิทยาศาสตร์  (คะแนนเต็ม  ๒๕๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๓  วิชาภาษาอังกฤษ  (คะแนนเต็ม  ๑๐๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๔  วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา  (คะแนนเต็ม  ๑๐๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
            โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ  โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  จะคัดเลือกผู้ที่สอบภาควิชาการผ่าน  โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้คะแนนภาควิชาการรวมสูงสุดมาตามลำดับไว้จำนวนหนึ่ง  แล้วประกาศรายชื่อเพื่อให้เข้าสอบรอบสองต่อไป

            ๒  การสอบรอบสอง  เป็นการตรวจร่างกาย  ตรวจสอบประวัติ  ทดสอบบุคลิกภาพ  สอบพลศึกษา  สอบสัมภาษณ์  และวัดขนาดร่างกาย  มีรายละเอียดดังนี้
๒.๑  การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ
ผู้ สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย  ตามสถานที่ วัน  เวลา  ที่จะประกาศให้ทราบ  ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิผลการตรวจร่างกาย  ถือความเห็นของคณะกรรมการคัดเลือกเป็นเด็ดขาด  จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจ  หรือได้รับใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง     นอกจากการตรวจร่างกายแล้วจะมีการฉาย  X – RAY  ตรวจโลหิต  ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ  ผู้สมัครจะต้องชำระค่าตรวจร่างกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด  ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษ  นอกเหนือจากการตรวจธรรมดาผู้รับการตรวจจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
สำหรับ เหล่าตำรวจ ในวันตรวจร่างกายจะทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้สมัคร  เพื่อตรวจสอบประวัติไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และยังต้องตรวจสอบไปยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่อีกทาง หนึ่งด้วย  หากผู้ใดมีประวัติเคยถูกลงโทษหรือความประพฤติไม่ดีตามที่กำหนดไว้ในเรื่อง ของคุณสมบัติ  จะถูกตัดสิทธิไม่ให้เป็นผู้สอบคัดเลือกได้

คำเตือน
(๑)  ในตอนเช้าวันตรวจร่างกาย  ไม่ควรรับประทานอาหารหวานจัด  เพราะอาจทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
(๒)  ก่อนตรวจร่างกาย  ห้ามรับประทานยาแก้ไอทุกชนิด  หรือยากระตุ้นกำลัง  ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางหัวใจ  และหลอดเลือดได้
(๓)  ห้ามผู้สมัครใส่  CONTACT  - LENS  ไปตรวจสายตา

๒.๒  การทดสอบบุคลิกภาพ  ไม่มีคะแนนถือเกณฑ์  ได้ – ตก  โดยใช้แบบทดสอบที่คณะอนุกรรมการกำหนด
๒.๓  การสอบพลศึกษา    เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย   มีคะแนนเต็ม (แต่ละเหล่าไม่เท่ากัน)  คะแนนที่ได้จะให้ลดหลั่นกันลงตามลำดับ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทดสอบในแต่ละประเภทที่ผู้สอบปฏิบัติได้สำเร็จหรือ จำนวนครั้งที่ปฏิบัติ  สำหรับผู้ที่ได้คะแนนรวมจาการทดสอบทุกประเภทต่ำกว่าที่แต่ละเหล่ากำหนด หรือสอบว่ายน้ำ  ๕๐  เมตร  หรือวิ่ง
๑,๐๐๐  เมตร  ไม่ถึงหรือทำเวลาไม่ได้ตามที่กำหนดถือว่าสอบตกให้คัดออก  (คะแนนผลการสอบพลศึกษาจะไม่นำไปรวมกับคะแนนการสอบข้อเขียน   ยกเว้น เหล่าทหารบก ที่จะคิดคะแนนรอบสองเป็น 10% ของคะแนนทั้งหมด)
ผู้เข้าสอบจะ ต้องทำการสอบให้ครบทุกประเภท  ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่ง  ถือว่าสอบตกและจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร  โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน  


สำหรับผู้ที่สนใจเข้าคอร์ส ติวกับทางทีมงานของ พันเอกแดนชัย กองแก้ว 
ทีมงานมีสอนประจำอยู่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง (คณิต คิด Science)
                                                จังหวัดเชียงราย (VST.Pre-Cadet)
                                                จังหวัด นครนายก (ช่วงปิดเทอม เดือน ตุลาคม และ 
                                                                          มีนาคม-พาไปสอบ ของทุกปี) 
สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณ พัชรกันย์ กองแก้ว โทร. 086-9173434

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย
เป็นนักเรียนเตรียมทหารดีอย่างไร?
- ขณะศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเตรียมทหารทางราชการจะสนับสนุนเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนให้ตลอดระยะเวลาการศึกษาทั้ง 3 ปี ซึ่งรวมถึงเครื่องแบบ อุปกรณ์การศึกษาต่างๆ และเมื่อสอบผ่านเกณฑ์การศึกษาต่อยังโรงเรียนเหล่าทัพ ทางราชการก็จะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด (เรียนฟรีและมีเงินเดือน)
- สอบคัดเลือกเพียงครั้งเดียวเพื่อเข้าศึกษาต่อยังโรงเรียนเตรียม ทหาร ระหว่างการเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารทั้ง 3 ปีหากสอบผ่านเลื่อนชั้นได้ตามเกณฑ์สามารถเรียนต่อยังโรงเรียนนายร้อยแต่ละ เหล่าทัพได้โดยอัตโนมัติ
- มีทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่เรียนดี และความประพฤติดีจำนวนมากระหว่างเรียน
- มีทุนสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, สเปน ฯลฯ สำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดีเด่น
- เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยตรี, เรือตรี, เรืออากาศตรี, ร้อยตำรวจตรี และได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรตามสาขาที่ได้เรียนมา

สายตาสั้นมีสิทธิ์สอบเป็นนักเรียนเตรียมทหารหรือไม่?
ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาไม่สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารได้ครับ แต่หากมีการแก้ไขให้สายตาเป็นปกติก่อนการสอบคัดเลือกได้ ถือว่ามีสิทธิ์สอบได้ตามปกติครับ (เวลาตรวจร่างกายแพทย์จะตรวจพบร่องรอยการรักษาอยู่แล้ว น้องๆ สามารถตอบไปได้ตามตรงเลยครับว่าไปทำการรักษาสายตามาเพื่อการสอบ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด)

เรียนกวดวิชาดีไหม?
การสอบคัดเลือกเพื่อเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในแต่ละปี มีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูง ประกอบกับข้อสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหารของแต่ละเหล่าทัพมักเป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยากและมีเวลาในการทำค่อนข้างจำกัด ดังนั้นผู้ที่มีการเตรียมพร้อมที่ดีย่อมได้เปรียบและมีโอกาสสอบติดมากกว่า การติวหรือเรียนกับสถาบันกวดวิชาเป็นการเน้นสรุปเนื้อหาสำคัญ พร้อมทั้งเทคนิคการทำโจทย์ รวมถึงเทคนิคการเดาข้อสอบหรือการตัดตัวเลือกที่ไม่ใช้ทิ้ง เป็นต้น ทำให้สามารถประหยัดเวลาในการทำข้อสอบ รวมถึงมีการแนะนำการเตรียมพร้อมร่างกายในการสอบพลศึกษาและเทคนิคการสอบสัมภาษณ์จากพี่ๆ ที่มีประสบการณ์ ทำให้เพิ่มโอกาสการสอบติดมากขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า น้องๆ ที่ไม่ได้ผ่านการกวดวิชาจะไม่สามารถสอบติดได้นะครับ การกวดวิชาเป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกในการเพิ่มโอกาสครับ

มีระบบเส้นสายในการสอบหรือไม่ครับ?
การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารเป็นการสอบคัดเลือกระดับประเทศ แต่ละเหล่าทัพต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญของกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติในอนาคต ประกอบกับข้อสอบและการคัดเลือกทุกขั้นตอนจะมีการตั้งคณะกรรมการอย่างโปร่งใสเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ยืนยันได้เลยว่า ไม่มีระบบเส้นสายหรือข้อสอบรั่วก่อนการสอบคัดเลือกแน่นอน ขอให้มั่นใจได้เลยว่าหากน้องเก่งจริง ทำข้อสอบได้จริง ใครๆ ก็สามารถเป็นนักเรียนเตรียมทหารได้ครับ

แต่ละปี แต่ละเหล่ารับนักเรียนกี่คนครับ?
จำนวนการรับนักเรียนเตรียมทหารของแต่ละเหล่าทัพในแต่ละปีขึ้นอยู่กับการวางแผนเพื่ิอสนองความต้องการกำลังพลของแต่ละเหล่าทัพ จำนวนการรับนักเรียนในแต่ละปีจึงไม่แน่นอนครับ แต่พอจะสามารถใช้ตัวเลขอ้างอิงของปีที่ผ่านๆ มาเป็นแนวโน้มได้ครับ

จำนวนการรับนักเรียนเตรียมทหารของแต่ละเหล่าทัพ
ประจำปี 2555 (นตท.รุ่นที่ 56)
จำนวนรับ/เหล่า นายร้อยจปร. นายเรือ นายเรืออากาศ นายร้อยตำรวจ
รอบแรก(วิชาการ) 760 702 610 630
รอบสอง(รับจริง) 226 (สำรอง 20)
นายเรือ 70 (สำรอง 10)
ตำรวจน้ำ 10 (สำรอง 10)
83 (สำรอง 20) 180 (สำรอง 20)

Wednesday, January 9, 2013

การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม 700 คะแนน)



ปัญหาข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  และตรวจข้อสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  ผู้สมัครจะต้องเตรียมปากกาหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน  ดินสอดำชนิดอ่อนเบอร์  2B    ยางลบดินสอและอุปกรณ์สำหรับเหลาดินสอ  เพื่อใช้ในการสอบ


การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม 700 คะแนน)
-วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน
-วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน
-วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 140 คะแนน
-วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 60 คะแนน
-วิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม 60 คะแนน

*ทั้ง 5 วิชา มีเนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กระทรวงศึกษาธิการ 
 

:: ดึงข้ออย่างไร ให้ขี้น ::

:: ดึงข้ออย่างไร ให้ขี้น ::
เป็นเกร็ดความรู้ในการดึงข้อให้ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์กับนักเรียนในการสอบภาคพละศึกษา
การดึงข้อก็มีหลักมาให้ปฏิบัติกันดังนี้

1.   น้ำหนักตัว ต้องให้ได้มาตราฐาน ไม่น้ำหนักมากเกินไป

2.   ข้อมือ และกล้ามเนื้อที่แขน ข้อและกล้ามตรงบริเวณท้องและหัวไหล่ต้องมีความแข็งแรง เพราะต้องเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อดึงตัวขึ้นไป

3.   การจับ ราวดึง ต้องใช้มือคว่ำกำรอบใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กำรอบอยู่ด้านบนแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกำรอบอยู่ใต้ราว จะได้มีกำลังในการดึงตัว

4.   ความกว้างของราวจับ ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 นิ้ว 2 หุน เพราะถ้าใหญ่เกินไปหรือไม่ได้มาตราฐานจะกำไม่กระชับ จะทำให้ไม่มีแรงดึงขึ้น

5.   การวางมือในการจับราวดึง ต้องจับไม่กว้างหรือแคบเกินไป ต้องจับให้พอดี

6.   จังหวะในการดึงควรมีจังหวะในการเด้งตัวขึ้น

7.   การ วางตัวการห้อยตัว ข้อสำคัญคือ เมื่อจับราวห้อยตัวแล้ว ตัวต้องไม่แกว่ง ลำตัวต้องนิ่งที่สุดแล้วบังคับกล้ามเนื้อหัวไหล่ ท้องแขน ข้อมือ พลังเกาะที่นิ้ว ดึงลำตัวให้ขึ้นให้ได้

8.   การอบอุ่นร่างกาย เช่น หัวไหล่ กล้ามเนื้อ หน้าแขน กล้ามเนื้อหลังแขน กล้ามเนื้อบริเวณท้องแขนมาจนถึงข้อมือ ไปจนถึงนิ้วมือทุก ๆ นิ้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อทุกส่วน

9.   การตั้งสมาธิ จงมั่นใจว่าเราต้องทำได้

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนทุกคน ตามทฤษฎีข้างต้นนี้

:: ทำไมเราต้องฝึกดึงข้อ ::
การดึงข้อก็เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง แต่ที่เราต้องฝึกเพื่อมาใช้สำหรับการโดดร่มนั่นเอง

การ ฝึกเพื่อให้ได้กำลังที่จะมาดึงข้อแบบนึงที่ได้ผลคือ ทำท่าไถนา(ให้เพื่อนจับขายกมาหนีบกับลำตัวเพื่อน โดยที่เรามีสองแขนยันพื้น  แล้วก็ทำท่าดันพื้น และท่าออกกำลังท่าอื่นๆที่จะคิดออก โดยให้อยู่บนพื้นฐานท่าไถนา จะได้กำลังแขนเร็วขึ้นครับ)

การอนุมัติการจบหลักสูตรและการมอบประกาศนียบัตร

การอนุมัติการจบหลักสูตรและการมอบประกาศนียบัตร
    
นักเรียนเตรียมทหารที่จะได้รับการพิจารณาอนุมัติให้จบหลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารได้ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

๑ ต้องเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่ม ครบตามโครงสร้างที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด ได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา และได้รับการตัดสินผลการเรียนให้ผ่านทุกรายวิชาพื้นฐานในทุกกลุ่มสาระการ เรียนรู้และต้องได้จำนวนตามที่กำหนดในแผนการเรียนของโรงเรียนเตรียมทหาร

๒ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด และได้รับการตัดสินให้ผ่านทุกกิจกรรมในทุกชั้นปี

๓ ต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๔ ต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ และได้รับการตัดสินให้ผ่าน


การเรียนซ้ำชั้น

นักเรียนเตรียมทหารต้องเรียนซ้ำชั้นในกรณี ดังต่อไปนี้

๑ นตท. ชั้นปีที่ ๑ ต้องเรียนซ้ำชั้น ในกรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษา ต่ำกว่า ๑.๕ หรือมีคะแนนความประพฤติต่ำกว่า ร้อยละ ๖๐ ของคะแนนความประพฤติประจำปีการศึกษา หรือได้ผลการเรียน "R"

๒ นตท. ชั้นปีที่ ๒ ต้องเรียนซ้ำชั้น ในกรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษา ต่ำกว่า ๑.๗๕ หรือมีคะแนนความประพฤติต่ำกว่า ร้อยละ ๖๐ ของคะแนนความประพฤติประจำปีการศึกษา หรือได้ผลการเรียน "R"

๓ นตท. ชั้นปีที่ ๓ ต้องเรียนซ้ำชั้น ในกรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษา ต่ำกว่า ๒.๐ โดยไม่จบหลักสูตร และไม่ได้รับประกาศนียบัตรในปีการศึกษานั้น หรือได้ผลการเรียน "R"

๔ นตท. จะเรียนซ้ำชั้นได้ในชั้นปีใดชั้นปีหนึ่งเพียงชั้นปีเดียวเท่านั้น และระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตรรวมแล้วไม่เกิน ๔ ปีการศึกษา

การศึกษาต่อโรงเรียนเหล่าทัพและโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

นัก เรียนเตรียมทหารที่ศึกษาจบหลักสูตร และได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ และมีคะแนนความประพฤติไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนความประพฤติประจำปีการศึกษานั้น
นักเรียนเตรียมทหารที่ศึกษาจบ หลักสูตร กองบัญชาการทหารสูงสุดมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้นั้น ผู้ได้รับประกาศนียบัตรย่อมมีวิทยฐานะ มีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ


การถอนทะเบียนจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

นักเรียนเตรียมทหารจะถูกถอนทะเบียนจากความเป็นนักเรียน ในกรณีต่อไปนี้

๑ ลาออก

๒ ถึงแก่กรรม

๓ ป่วยหรือพิการ ซึ่งแพทย์ทหารไม่น้อยกว่า ๓ นาย โดยมีแพทย์ของ กองพยาบาล โรงเรียนเตรียมทหาร ๑ นาย และแพทย์เฉพาะทาง ๒ นาย ได้ตรวจและลงความเห็นว่าเป็นโรคที่ไม่สามารถศึกษาต่อไปได้ หรือมีความพิการที่ขัดต่อการรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

๔ ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน ๑๒๐ คะแนน ในปีการศึกษานั้น

๕ ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน ๘๐ คะแนน และสอบไม่ผ่านเกณฑ์ในรายวิชาหนึ่งวิชาใด หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า ๒.๐๐

๖ เสพหรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติด หรือเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

๗ มีความสัมพันธ์ทางเพศจนเสียหาย หรือประพฤติติดต่อได้เสียกับหญิงจนถึงขั้นที่ถือได้ว่าเป็นภรรยา

๘ กระทำความผิดเกี่ยวกับการประสงค์ต่อทรัพย์

๙ เกียจคร้านต่อการศึกษา ซึ่งผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร เห็นว่าไม่สมควรให้ศึกษาต่อไป

๑๐ ประพฤติเสื่อมเสียแก่ตนเอง และหรือทางราชการอย่างร้ายแรง ซึ่งผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหารพิจารณาเห็นสมควรให้ออกจากความเป็นนัก เรียนเตรียมทหาร

๑๑ ผู้ปกครองหรือผู้รับรอง ถึงแก่กรรมหรือถอนสัญญา และไม่สามารถหาผู้ปกครอง หรือผู้รับรองรายใหม่แล้วแต่กรณีมาทำสัญญาได้ภายใน ๖๐ วัน

๑๒ ปรากฏว่าข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของใบสมัคร หรือเอกสารประกอบการทำสัญญามอบตัวของนักเรียนเป็นเท็จ หรือไม่ปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในใบสมัคร

๑๓ ทุจริตในการสอบและสอบไม่ผ่านเกณฑ์ในรายวิชาหนึ่งวิชาใด หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า ๒.๐๐

๑๔ เรียนซ้ำชั้นมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลการเรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ได้เลื่อนชั้น

๑๕ เรียนซ้ำชั้นเกิน ๑ ครั้ง ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

ใน กรณีที่ผู้พ้นสภาพความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วแต่ระยะเวลาที่ถือว่าอยู่ในกองประจำ การยังไม่ครบกำหนด ให้โรงเรียนเตรียมทหารส่งตัวผู้นั้นไปรับราชการในกรมกองทหาร จนกว่าจะครบกำหนดตามกฎหมาย


ค่าชดใช้เงินให้แก่ทางราชการ

๑.พ้นจากฐานะนักเรียนเตรียมทหาร ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๑ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท

๒.นัก เรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๑ เรียนซ้ำชั้นมาแล้ว ๑ ปี แต่คุณสมบัติยังไม่อยู่ในเกณฑ์ได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาในชั้นปีที่ ๒ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท

๓.พ้นจากฐานะนักเรียนเตรียมทหาร ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท

๔.นัก เรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ เรียนซ้ำชั้นมาแล้ว ๑ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหาร แต่คุณสมบัติยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร หรือโรงเรียนตำรวจ แล้วแต่กรณี ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท

๕.พ้นจากฐานะนักเรียนเตรียมทหาร ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๓ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๙๐,๐๐๐ บาท

๖.นัก เรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๓ เรียนซ้ำชั้นมาแล้ว ๑ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหาร แต่คุณสมบัติยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร หรือโรงเรียนตำรวจ แล้วแต่กรณี ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๙๐,๐๐๐ บาท

๗.เมื่อ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว ไม่เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร หรือโรงเรียนตำรวจแล้วแต่กรณี ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท


สิทธิของนักเรียนเตรียมทหาร

นักเรียนเตรียมทหาร ซึ่งเข้าศึกษาตามหลักสูตรต่อจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม.๓) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า

๑ ชั้นปีที่ ๑ รับเงินเดือน ระดับ พ.๑ ชั้น ๘
๒ ชั้นปีที่ ๒ รับเงินเดือน ระดับ พ.๑ ชั้น ๙
๓ ชั้นปีที่ ๓ รับเงินเดือน ระดับ พ.๑ ชั้น ๑๐


การประเมินการเรียน

๑ การตัดสินผลการเรียน ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนรวมกับคะแนนปลายภาคเรียน และให้พิจารณาตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา

๒ ให้ใช้อักษรแสดงระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชาดังต่อไปนี้
A หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๔.๐
B+ หมายถึง ผลการเรียนดีมาก มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๓.๕
B หมายถึง ผลการเรียนดี มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๓.๐
C+ หมายถึง ผลการเรียนดีพอใช้ มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๒.๕
C หมายถึง ผลการเรียนพอใช้ มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๒.๐
D+ หมายถึง ผลการเรียนอ่อน มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๑.๕
D หมายถึง ผลการเรียนอ่อนมาก มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๑.๐
F หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์ มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๐.๐

๓ ให้ใช้อักษรแสดงผลการเรียนที่มีเงื่อนไขในแต่ละรายวิชา ดังนี้
R หมายถึง ให้เรียนซ้ำ

๔ การพิจารณาตัดสินว่านักเรียนเตรียมทหารผ่านการประเมินและได้หน่วยกิต เฉพาะผู้ที่ได้ระดับผลการเรียน D ถึง A เท่านั้น

๕ นักเรียนเตรียมทหารที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ให้ได้ระดับผลการเรียน "F"

๖ ให้คำนวณหาค่าระดับคะแนนเฉลี่ย และ/หรือ คะแนนเฉลี่ยสะสมตามระยะเวลา ดังนี้
- เมื่อสิ้นสุดการศึกษาในแต่ละภาคเรียน
- เมื่อสิ้นปีการศึกษา และ/หรือ เมื่อได้ศึกษาจบหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหาร

๗ การวัดผลปลายภาคเรียนเฉพาะผู้ที่มีเวลาเรียนตลอดภาคเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น

๘ การอนุญาตให้นักเรียนเตรียมทหาร เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนสำหรับผู้ที่มีเวลาเรียนไม่ถึง
ร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร

+++การ เปลี่ยนอักษรแสดงระดับผลการเรียน "F" ให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุงแก้ไขนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ไม่ผ่านการประเมิน แล้วจึงจัดให้นักเรียนเตรียมทหารรับการประเมิน และให้รับการประเมินได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนถัดไป และเมื่อผ่านการประเมินให้ได้อักษรแสดงระดับผลการเรียนใหม่ไม่เกิน "D"

+++การตัดสินผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ถือปฏิบัติดังนี้

๑ พิจารณาตัดสินผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๒ ให้ใช้อักษรแสดงผลการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม ดังนี้
-SA หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก โดยผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญหรือมีผลงานดีเด่น
-SB หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี โดยผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือมีผลงานดี
-S หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด
-U หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๓ การประเมินผลกิจกรรมเฉพาะผู้ที่มีเวลาร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาทั้งหมดที่จัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน

๔ การอนุญาตให้นักเรียนเตรียมทหาร ได้รับการตัดสินผลการประเมินกิจกรรมสำหรับผู้ที่มีเวลาร่วม
ในกิจกรรมไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาทั้งหมด ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร

๕ นักเรียนเตรียมทหารที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "S" , "SB", "SA" ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "U"

๖ การเปลี่ยนผลการประเมิน "U" เป็น "S" ให้ผู้รับผิดชอบจัดซ่อมเสริม หรือให้นักเรียนเตรียมทหาร ปฏิบัติกิจกรรมตามที่นักเรียนเตรียมทหารเลือกใหม่จนผ่านครบทุกกิจกรรม ตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๗ การดำเนินการแก้ "U" ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น หรือก่อนการส่งตัวให้
โรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถ้าไม่มาดำเนินการแก้ "U" ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้ได้ผลการเรียน "R"


+++การตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ถือปฏิบัติดังนี้

๑ พิจารณาตัดสินผลการประเมินในภาพรวมของคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๒ ให้ใช้อักษรแสดงผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้
-SA หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก โดยผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญหรือมีผลงานดีเด่น
-SB หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี โดยผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือมีผลงานดี
-S หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด
-U หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๓ นักเรียนเตรียมทหารที่เข้าร่วมการประเมินในภาพรวมของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "S" , "SB", "SA" ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "U"
๔ การเปลี่ยนผลการประเมิน "U" เป็น "S" ให้ผู้รับผิดชอบจัดซ่อมเสริม หรือให้นักเรียนเตรียมทหาร ปฏิบัติกิจกรรมตามที่นักเรียนเตรียมทหารเลือกใหม่จนผ่านครบทุกกิจกรรมลักษณะ ตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด
๕ การดำเนินการแก้ "U" ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น หรือก่อนการส่งตัวให้
โรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถ้าไม่มาดำเนินการแก้ "U" ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้ได้ผลการเรียน "R"


+++ การตัดสินผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ให้ถือปฏิบัติดังนี้

๑ พิจารณาตัดสินผลการประเมินในภาพรวมของความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๒ ให้ใช้อักษรแสดงผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ดังนี้
-SA หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก โดยผ่านการประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญหรือมีผลงานดีเด่น

SB หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี โดยผ่านการประเมินผลการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือมีผลงานดี
-S หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผ่านการประเมินผลการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด
-U หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๓ นักเรียนเตรียมทหารที่เข้าร่วมการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "S" , "SB", "SA" ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "U"

๔ การเปลี่ยนผลการประเมิน "U" เป็น "S" ให้ผู้รับผิดชอบจัดซ่อมเสริม หรือให้นักเรียนเตรียมทหาร ปฏิบัติกิจกรรมตามที่นักเรียนเตรียมทหารเลือกใหม่จนผ่านครบทุกกิจกรรม ตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๕ การดำเนินการแก้ "U" ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น หรือก่อนการส่งตัวให้
โรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถ้าไม่มาดำเนินการแก้ "U" ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้ได้ผลการเรียน "R"

ข้อมูลจาก กองสถิติและประเมินผล

ตามมาตรฐาน นตท.ทุกเหล่าทัพ

ตามมาตรฐาน นตท.ทุกเหล่าทัพ 

การ สอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ๘ สถานี ผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกสถานี ถ้าขาดสอบสถานีใดสถานีหนึ่งถือว่าสอบตกให้คัดออก สถานีที่สอบและวิธีการทดสอบกำหนดตามลำดับดังนี้

สถานีที่ ๑ นั่งงอตัว เครื่องวัดเป็นกล่องไม้สูงจากพื้น ๓๐ เซนติเมตร ติดไม้วัดยาว ๖๐ เซนติเมตร ด้านบนของกล่องในแนวนอน ให้ผู้สอบนั่งเหยียดขาตรง เท้าทั้งสองตั้งฉากกับพื้นและชิดกัน ฝ่าเท้าจรดแกนกลางของเครื่องวัด แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงขนากับพื้นฝ่ามือว่างอยู่บนเครื่องวัด เมื่อพร้อมแล้วให้ค่อย ๆ ก้มตัวพร้อมกับเหยียดแขนเลื่อนฝ่ามือไปข้างหน้าตามแนวเครื่องวัดจนไม่สามารถ ก้มตัวเลื่อนฝ่ามือต่อไปได้ ขณะปฏิบัติเข่าเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ

สถานีที่ ๒ ยืนกระโดดไกล ให้ผู้เข้าสอบยืนบนจุดที่กำหนดของเครื่องวัด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลังพร้อมกับย่อตัวลง ให้เหวี่ยงแขนย่อตัวหาจังหวะได้ เมื่อได้จังหวะแล้วให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าอย่างแรง พร้อมกระโดดด้วยเท้าทั้งสองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด

สถานีที่ ๓ ลุกนั่ง ๓๐ วินาที ท่าเตรียมผู้สอบนอนหงาย ฝ่ามือทั้งสองสอดประสานกันที่ท้ายทอย ศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้น เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ ผู้ช่วยคุกเข่าใช้มือทั้งสองจับข้อเท้าของผู้สอบกดไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น เมื่อพร้อมแล้วกรรมการให้สัญญาณ " เริ่ม " ผู้สอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสอง ให้แขนทั้งสองช่วงศอกด้านในสัมผัสกับเข่าด้านนอกแล้วกลับนอนลงสู่ท่าเดิมจน ด้านหลังของหัวไหล่และศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้น ทำเช่นนี้ติดต่อกันภายใน ๓๐ วินาที ขณะปฏิบัติฝ่ามือต้องประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอียงตัวไปมา

สถานีที่ ๔ วิ่งเก็บของ เป็นการวิ่งบนทางเรียบ ๒ เท ี ่ยว (ไป – กลับ) มี วงกลม ๒ วง ห่างกัน ๑๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ เซนติเมตร ที่วงกลมปลายทางมีไม้ ๒ ท่อน ( ขนาด ๕ x ๐ . ๕ x ๑๐ ซม .) วางตรงจุดกำหนดในวงกลมปลายทาง เมื่อได้รับสัญญาณให้ผู้สอบเริ่มวิ่งจากวงกลม เริ่มต้นไปยังวงกลมปลายทางหยิบไม้ท่อนที่ ๑ วิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมเริ่มต้น แล้ววิ่งกลับไปเก็บไม้ท่อนที่ ๒ วิ่งกลับมาผ่านวงกลมเริ่มต้น ( โดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่ ๒ ในวงกลมเริ่มต้น ) ถ้าวางไม้ไม่อยู่ในวงกลมต้องเก็บมาวางไว้ในวงกลม ห้ามโยนท่อนไม้

สถานี ที่ ๕ วิ่งระยะทาง ๕๐ เมตร ให้ผู้สอบพร้อมที่เส้นปล่อยตัวตามช่องวิ่งของตนเอง เมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัวให้วิ่งในช่องวิ่งของตนเองไปจนถึงเส้นชัย

สถานี ที่ ๖ ดึงข้อ ท่าเริ่มต้น ให้ผู้สอบจับราวเดี่ยวแบบคว่ำมือทั้ง ๒ ข้าง พร้อมห้อยตัวลงจนแขน ลำตัว และขาเหยียดตรง เมื่อพร้อมให้ผู้สอบงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว และกลับส ู ่ท่าเริ่มต้น แขน ลำตัวและขา ต้องเหยียดตรงทุกครั้ง ปฏิบัติติดต่อกันให้มากครั้งทีสุด ห้ามแกว่งเท้าหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที

สถานีที่ ๗ วิ่งระยะ ๑ , ๐๐๐ เมตร ให้ผู้สอบพร้อมที่เส้นปล่อยตัวเมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัว ให้เริ่มวิ่งไปตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดไว้

สถานีที่ ๘ ว่ายน้ำระยะทาง ๕๐ เมตร ให้ผู้สอบพร้อมบนแท่นปล่อยตัวหรือที่ขอบสระ หรืออยู่ในน้ำ ตามลู่ว่ายของตนเองด้านจุดเริ่มต้น เมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัว ให้ว่ายน้ำไปจนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย