Saturday, October 13, 2012

แต่ละเหล่าแยกสาขาเรียนได้ดังนี้

แต่ละเหล่าแยกสาขาเรียนได้ดังนี้
โรงเรียนนายร้อย จปร. (4ปี)

 1.  ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มี 9 สาขา
   1.1  สาขาวิศวกรรมเครื่องกลและวิชาการทหาร
   1.2  สาขาวิศวกรรมโยธาและวิชาการทหาร
   1.3  สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและวิชาการทหาร
   1.4  สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังและวิชาการทหาร
   1.5  สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิชาการทหาร
   1.6  สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและวิชาการทหาร
   1.7  สาขาวิศวกรรมอากาศยานและวิชาการทหาร
   1.8  สาขาวิศวกรรมสรรพาวุธและวิชาการทหาร
   1.9  สาขาวิศวกรรมสำรวจและวิชาการทหาร

 2.  ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 5 สาขา
   2.1  สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิชาการทหาร
   2.2  สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและวิชาการทหาร
   2.3  สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิชาการทหาร
   2.4  สาขาเคมีประยุกต์ทางทหารและวิชาการทหาร
   2.5  สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิชาการทหาร

 3.  ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มี 3 สาขา
   3.1  สาขาบริหารรัฐกิจและวิชาการทหาร
   3.2  สาขาบริหารทั่วไปและวิชาการทหาร
   3.3  สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาและวิชาการทหาร
 โรงเรียนนายเรือ (4ปี) มี 11 สาขา
   1.  วิศวกรรมไฟฟ้า
   2.  วิศวกรรมเครื่องกลเรือ
   3.  วิศวกรรมโยธา
   4.  วิศวกรรมอากาศยาน
   5.  วิศวกรรมอุทกศาสตร์
   6.  วิศวกรรมต่อเรือ
   7.  วิศวกรรมอุตสาหการ
   8.  วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
   9.  บริหารศาสตร์
   10.  วิทยาการคอมพิวเตอร์
   11.  การจัดการทรัพยากรชายฝั่งและสิ่งแวดล้อม

 โรงเรียนนายเรืออากาศ (4ปี) มี 8 สาขา
   1.  วิศวกรรมอากาศยาน
   2.  วิศวกรรมเครื่องกล
   3.  วิศวกรรมไฟฟ้า
   4.  วิศวกรรมโยธา
   5.  วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
   6.  วิศวกรรมอุตสาหการ
   7.  คอมพิวเตอร์
   8.  วัสดุศาสตร์

 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (4ปี) มี 5 สาขา
   1. การบริหาร
   2. การสืบสวน
   3. การสอบสวน
   4. การจราจร
   5. การป้องกันปราบปราม




     โรงเรียนเตรียมทหารเป็นสถาบันการศึกษาทางวิชาการทหารและตำรวจที่มีชื่อเสียง ที่สุดในประเทศไทย ทำหน้าที่เตรียมนักเรียนให้กับกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้การศึกษาแก่นักเรียนเตรียมทหารในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) เป็นเวลา 3 ปี และยังให้ความรู้ความสามารถทางการทหารเบื้องต้น พัฒนาร่างกายและจิตใจตลอดจนคุณลักษณะให้มีความเป็นผู้นำ อีกทั้งยังได้รับวิทยาการที่ทันสมัยจากอุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพของ โรงเรียน และมีการศึกษาดูงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย มีทุนการศึกษามากมายจากภาครัฐ และเอกชนมอบให้ สำหรับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

     เมื่อศึกษาจบหลักสูตร นักเรียนเตรียมทหารจะได้ไปศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นายเรือ นายเรืออากาศ และนายร้อยตำรวจ ตามที่แต่ละคนเลือกไว้ต่อไป

     โรงเรียนของเหล่าทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีสาขาวิชาให้เลือกเรียนมากมาย เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การบริหาร กฎหมาย และมีทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศมากมาย ตั้งแต่ ปริญญาตรี ถึง ปริญญาเอก เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทั้ง 4 เหล่าจะได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี และร้อยตำรวจตรี และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทันที

คุณสมบัติผู้เข้าสมัคร

     1. เป็นนักเรียนที่จบตั้งแต่ชั้น ม.3 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า อายุตั้งแต่ 14 ปี ไม่เกิน 17 ปี
     2. สัญชาติไทย บิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
     3. บุคลิกลักษณะท่าทางสมบูรณ์เหมาะแก่การเป็นทหาร-ตำรวจ

การรับสมัคร
      จำหน่ายใบสมัครและสมัครทางไปรษณีย์ประมาณต้นเดือน-ปลายเดือนมกราคม
สมัครด้วยตนเอง ประมาณเดือนมีนาคม

การสอบคัดเลือก
     รอบแรก ภาควิชาการ ม.ต้น
          1. คณิตศาสตร์ 250 คะแนน
          2. วิทยาศาสตร์ 250 คะแนน
          3. ภาษาอังกฤษ 100 คะแนน
          4. ภาษาไทย 50 คะแนน
          5. สังคมศึกษา 50 คะแนน

     รอบสอง
          1. สอบพลศึกษา ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและว่ายน้ำ
          2. สอบสัมภาษณ์ พิจารณารูปร่างท่าทาง ปฏิภาณ-ไหวพริบ ตลอดจนคุณลักษณะความเหมาะสมจะเป็นนายทหาร-ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร
          3. การตรวจร่างกาย ตรวจร่างกายจากแพทย์โรงพยาบาลทหารตำรวจว่ามีโรคที่ขัดต่อการเป็นนักเรียนเตรียมทหารหรือไม่

หลักฐานที่ต้องใช้สมัครกับโรงเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่า

     รอบแรก
     1. รูปถ่าย 2” 8 รูป, 1.5" 7 รูป และ 1” 1 รูป
     2. สำเนาบัตรประชาชน
     3. ใบรับรองผลการเรียน
     4. ทะเบียนบ้านของผู้สมัคร บิดาและมารดา
     5. ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
     6. ใบมรณบัตร บิดาหรือมารดา
     7. สูติบัตร กรณีบิดามารดาไม่จดทะเบียน
     8. คะแนนเพิ่ม
          8.1 รด.
          8.2 บุตรทหาร ตำรวจ ที่รับราชการไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือได้เหรียญจักรมาลา
          8.3 บุตรข้าราชการ หรือลูกจ้างที่ทำหน้าที่ระหว่างรบ สงคราม, ปราบจลาจล, กฎอัยการศึก
                 หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นนักดำเรือดำน้ำ
          8.4 บุตรข้าราชการหรือลูกจ้าง ที่ทุพพลภาพ,ถูกทำร้าย หรือตายในหน้าที่
          8.5 บุตรผู้ช่วยเหลือราชการในการปราบโจรผู้ร้ายแล้วทุพพลภาพ,ตาย หรือได้เหรียญกล้าหาญ

No comments:

Post a Comment