Monday, January 28, 2013

ด่วน กำลังจะเต็มแล้ว สำหรับ คอร์ส ติวเข้มเดือนมีนาคม 2556 (นักเรียน ชั้นม. 3- ม. 5 อายุไม่เกิน 17 ปี)

สำหรับผู้ปกครองที่สนใจส่งบุตร หลาน ของท่านเข้าค่ายติวเข้ม เพื่อสอบเข้า โรงเรียนเตรียมทหาร

สำหรับ นักเรียนชั้น ม.3- ม. 5  (อายุไม่เกิน 17 ปี) 

รีบจองด่วนเลยนะคะ ก่อน 20 กุมภาพันธ์ 

เนื่องจากว่าตอนนี้เหลือที่นั้งไม่มากแล้ว คะ  รีบหน่อยนะคะ หรือสนใจจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 

คุณพัชรกันย์ เบอร์ 086 917 3434 
โทรหาเราได้เลยนะคะ ยินดีให้คำปรึกษา คะ

เขาชะโง การเด้นท์โฮม จ.นครนายก (ค่ายติวเข้ม ม.1-ม.2)

ทางทีมงานได้เตรียมสถานที่เรียนและที่พักให้กับนักเรียนชั้น ม.1-ม.2
เพื่อเข้าค่ายติวเข้มเพื่อมุ่งสู่เส้นทางเข้าเตรียมทหาร ไว้พร้อมแล้ว
 คือ
เขาชะโง การเด้นท์โฮม
เลขที่ 1 หมู่9 บ้านโคกลำดวน ต.พรหมณี อ.เมือง จ.นครนายก
รีบจองค่ายด่วนก่อน 20 กุมภาพันธ์ 2556 นี้คะ

โทรได้เลยนะคะ ที่ คุณพัชรกันย์ เบอร์ 086 917 3434




Saturday, January 19, 2013

คอร์ส สำหรับนักเรียน ม.1 - ม.2 (เพิ่มเติม)

สำหรับ ผู้ปกครอบ หรือ นักเรียน ที่สนใจเข้าคอร์ส ฝึกอบรม ภาควิชาการ และ พละศึกษา ฝึกวินัย
 ที่ จ.นครนายก 
เดินทาง 8 มีนาคม ช่วงเย็น - 4 เมษายน 2556
 รีบสมัครด่วน ก่อนวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556

เราขอแจ้งตารางเรียน ของทุกวันเป็นดังนี้

6:30 - 7: 30 วิ่งออกกำลังกาย
7:30 - 8:30 รับประทานอาหารเช้า
8:30-9:00 เตรียมตัวเข้าเรียน
9:00-12:00 เรียนวิชาการช่วงที่ 1
12:00-13:00 รับประทานอาหารเที่ยง
13:00-16:00 เรียนวิชาการช่วงที่ 2
16:00-16:30 เตรียมตัวเปลี่ยนชุดพละ
16:30-17:30 ออกกำลังกาย (ฝึกวินัย)
17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น
18:30-19:00 เตรียมตัวเข้าห้องเรียน
19:00-21:00 เรียนวิชาการช่วงที่ 3
21:00-22:00 แจกโทรศัพท์ มือถือให้นักเรียนคุยกับผู้ปกครอง
22:00 พักผ่อน

เวลาที่แจ้งให้ทราบอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม

สำหรับกิจกรรมพิเศษ เสริม 
1. พาเด็กไปทัศนศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร
2. พาไปสัการะศาลเจ้าพ่อขุนด่าน / ศาลาวงกลม
3. กิจกรรมที่ โรงเรียน นายร้อย จปร.
เช่น
กระโดนหอสูง 34 ฟุต
กิจกรรมยิงปือเพ้นท์บอล
กิจกรรมยิงปืน BB GUN ลงสนาม
กิจกรรมยิงธนู
ฯลฯ
แล้วแต่เวลาเหมาะสมให้เสร็จภาย ใน 1 วัน

ส่วนวันที่ 1-3 เมษายน  พาไปเที่่ยวสัตหีบ 

4 เมษายน เดินทางกลับ

สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาติดต่อ ได้ที่
คุณพัชรกันย์ กองแก้ว โทร. 086 9173 434
 

 

สิ่งของที่ต้องเตรียมมาเข้า คอร์ส ติวเข้ม เดือน มีนาคม 2556 ที่ จ.นครนายก

สำหรับผู้ที่สมัครเข้า คอร์ส ติวเข้ม เดือน มีนาคม 2556 กับ ทีมงาน พันเอกแดนชัย กองแก้ว ทางทีมงานขอให้เตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้

1. เสื้อผ้าสำหรับใส่เรียนและออกกำลังกาย อย่างน้อย 4 ชุด (เสื้อยืด,กางเกงสุภาพ (กางเกงใส่ไปเที่ยว,กางเกงพละหรือ กางเกงขาสั้น))
2. ชุดนักเรียนอย่างน้อย 2 ชุด เพื่อใช้ใส่ไปสอบ (มัธยมศึกษาปีที่ 2 ไม่ต้องนำมา)
3. ชุดสำหรับใส่นอนอย่างน้อย 2 ชุด
4. เสื้อกันหนาว 1 ตัว (อาจใส่นอน)
5. อุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ เช่น ขันน้ำ,แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, สบู่ และแชมพูสระผม
6. ผ้าเช็ดตัว ผืนใหญ่ 1 ผืน
7. ยาสามัญเช่น ยาพาราฯ ยาแก้แพ้ ฯลฯ และสำหรับผู้มีโรคประจำตัว ต้องแจ้งให้ทีมงานทราบและนำยามาด้วย และสำหรับผู้ที่แพ้ยา แพ้อาหาร ก็ต้องแจ้งให้ทราบเช่นกัน
8. Dictionary
9. สมุดจดอย่างน้อย 6 เล่ม
10. เครื่องเขียน
         - สำหรับใช้เรียน เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ แลกกาเน้นข้อความเป็นต้น
         - สำหรับใช้สอบ  เช่น ดินสอ 2B อย่างน้อย 3 แท่ง พร้อมยางลบ และที่เหลาดินสอขนาด
           เล็ก สำหรับใช้เหลาในห้องสอบ (กรณีอนุญาตให้นำเข้าไปได้)
11.รองเท้าสุภาพ,รองเท้าออกกำลังกาย,รองเท้าแตะใส่อาบน้ำ,รองเท้านักเรียน,ถุงเท้า
12. กางเกงว่ายน้ำ และแว่นตาสำหรับว่ายน้ำ
13. ยานวดกล้ามเนื้อ (สำหรับใช้หลังปวดเมื่อยเวลาออกกำลังกาย)
14. ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดเหงื่อ
15. เอกสารสำหรับการรักษาพยาบาลในยามฉุกเฉิน เช่น บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค
16. หนังสือคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ต้น (ต้องเอามาทุกคน ไว้ทบทวนเวลาว่าง)
17. นาฬิกาข้อมือแบบ ตัวเลข (ราคาไม่แพง กันน้ำได้) ไว้จับเวลา
18. บัตรประจำตัวสอบ ระเบียบการสมัครสอบและเอกสารทุกอย่างที่โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจส่งกลับมาให้)
19. หากนักเรียนคนใดยังไม่ได้สมัครทางไปรษณีย์ ให้นำใบสมัครพร้อมหลักฐานทุกอย่างมาด้วย ทางสถาบันจะพานักเรียนไปสมัครสอบ ในกรณีนี้ให้นำหลักฐานตัวจริงมาด้วย
20. อนุญาติให้เอากระเป๋าเดินทางใบใหญ่ได้ 1 ใบ และกระเป๋าเป้ ได้ 1 ใบ

สำหรับผู้ควบคุม :

1. โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง (เมื่อถึงค่าย จะนำเอามาเก็บรวมกันที่ ครูฝึก และจะแจกคืนให้ทุกวันเวลา
      21:00 น. - 22:00 น.)
2.  หากผู้ปกครอบต้องการมอบเงินให้นักเรียนใช้ ต้องนำมาฝากไว้ที่ คุณพัชรกันย์ กองแก้ว เพื่อให้นักเรียนเบิกไช้ได้เป็นครั้งคราว (ส่วนใหญ่เด็กจะใช้จ่ายค่าขนมวันละ 50-70 บาท) แต่จะให้เด็กมีเงินติดตัวไม่เกิน 200-300 บาท เพื่อความปลอดภัย

สิ่งของที่นักเรียนห้ามนำมา :

1. สร้อยคอทองคำ หรือเครื่องประดับมีค่ามาก ๆ
2. นาฬิการาคาแพง
3. พระเครื่องที่มีมูลค่าสูง
4. อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เว้นโทรศัพท์ มือถือ

กรณีมีเรื่องด่วนอยากติดต่อฉุกเฉินกับเด็กนักเรียนหรือสอบถามความเป็นอยู่ของเด็กในช่วงเวลาเข้าค่าย สามารถติดต่อ ตรงได้ที่
1. คุณพัชรกันย์     กองแก้ว (แอนนี่)  โทร. 086 9173 434
2. พันเอกแดนชัย  กองแก้ว โทร. 083 1981 525


Friday, January 11, 2013

การสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร

การสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร   (ข้อมูลอาจมีการปรับปรุง )    
         โรงเรียนเตรียมทหาร มิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก และกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในแต่ละปีแล้วส่งมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหารเป็นเวลา ๓ ปี
         เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว จึงจะไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร – ตำรวจ ตามที่นักเรียนสมัครสอบไว้แต่แรก

ใบสมัคร          
มีจำหน่ายประมาณ กลางเดือน มกราคม ไปจนถึงวันสุดท้ายของการสมัครด้วยตนเองของแต่ละเหล่า

การสมัครสอบ              
สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณ กลางเดือน มกราคม – ปลายเดือน กุมภาพันธ์       สมัครด้วยตนเอง    ประมาณ กลางเดือน มีนาคม

การสอบคัดเลือก            
ประมาณ ปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือน เมษายนของทุกปี

สถานที่จำหน่ายใบสมัคร
ใบ สมัครและระเบียบการในการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จะมีสถานที่จำหน่ายแตกต่างกันไปตามเหล่าที่นักเรียนสมัครเข้าศึกษาต่อ ดังนี้
         ๑. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก ๒๖๐๐๑
         ๒. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพเรือ มีจำหน่ายที่ โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐
         ๓. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพอากาศ มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย  โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ และตามกองบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ
         ๔.  ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีจำหน่ายที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐

หลักฐานที่จะต้องยืนในวันสมัคร
         ๑. รูปถ่ายหน้าตรง ครึ่งตัว ไม่สวมหมวกหรือแว่นตา (เหมือนกับทุกรูป) และต้องเป็นรูปที่ถ่ายไว้ไม่เกิน ๓ เดือน
         ๒. สำเนาสูติบัตร
         ๓. ใบรับรองผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ. ๕ – ป) หรือใบรับรองการศึกษาตามอย่างที่แนบ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔)

ข้อ    ๓. ใบรับรองผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ. ๕ – ป) หรือใบรับรองการศึกษาตามอย่างที่แนบ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔)
เปลี่ยนเป็น     ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือใบรับรองผลการเรียน (ม.๓ หรือสูงกว่า)  

         ๔. ใบสำคัญทหารกองเกินหรือใบแทน
         ๕. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิดซึ่งคัดไว้ไม่เกิน ๓ เดือน หากผู้สมัครมีบิดา และมารดาที่มีนามสกุลไม่ตรงกัน ต้องนำหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย
         ๖. ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม ให้นำหลักฐานใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองจากนายทะเบียน เพื่อแสดงสัญชาติของบิดาหรือมารดา
         ๗. หลักฐานแสดงว่าสำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร (ชั้นปีที่ ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๕) ของกรมการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม (ถ้ามี)
         ๘. หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรนายทหาร นายตำรวจสัญญาบัตรประจำการ หรือนกประจำการหรือเป็นบุตรนายทหารประทวน หรือตำรวจต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรประจำการ (ถ้ามี)
         ๙. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ระหว่างที่มีการรบหรือสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับวันราชการทวีคูณ (ในกรณีนับวันทวีคูณเฉพาะกรณีปราบจลาจล พ.ศ. ๒๔๙๘) (ถ้ามี)
         ๑๐. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ที่ต้องประสบอันตราย ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำตามหน้าที่จนถึงทุพพลภาพ หรือบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเหรียญกล้าหาญ (ถ้ามี)

หมายเหตุ
         ***นัก เรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาดใดก็ได้ จำนวน ๑ รูป  สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาด ๑.๕ x ๒ นิ้ว จำนวน ๗ รูป  สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๔ รูป
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ x ๑.๕ นิ้ว จำนวน ๘ รูป
         *** เอกสารทุกอย่างหากผู้สมัครถ่ายเอกสารมาเอง ต้องนำต้นฉบับจริงมาให้กรรมการตรวจสอบด้วย การเตรียมเอกสารต่าง ๆ  ให้ผู้สมัครดำเนินการตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ในระเบียบการซึ่งจะจำหน่ายคู่ กับใบสมัคร


การเตรียมตัวของผู้สมัคร
         ๑. ผู้สมัครต้องอ่านระเบียบการทั่วไป และวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตลอดจนคำชี้แจงต่าง ๆ ให้เข้าใจ ชัดเจน โดยตลอด
         ๒. เตรียมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสมัคร ตรวจดูให้มีความถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความสะดวกรวดเร็วในการสมัครของผู้สมัครเอง
         ๓. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดและไม่เป็นโรค หรือความพิการอื่นที่ขัดต่อการสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ๔. จดจำกำหนดเวลา และสถานที่ของการรับสมัครที่จะประกาศให้ทราบก่อนการรับสมัคร
         ๕. การแต่งกายในการไปสมัครรวมทั้งการที่จะเข้าสอบ ตลอดจนการไปติดต่อต่าง ๆ ต้องให้สุภาพเรียบร้อย
         ๖. ในวันสมัครจะต้องไปสมัครด้วนตนเองยังไม่จำเป็นต้องนำผู้ปกครอง หรือผู้รับรองไปด้วย
การทำสัญญามอบตัวเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จะต้องนำผู้ปกครองและผู้รับรอง ไปทำสัญญาที่โรงเรียนเตรียมทหาร ตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้ในประกาศพร้อมทั้งนำเงินค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นนักเรียนเตรียม ทหารมาชำระด้วย (รายละเอียดจะมีคำชี้แจงแจกจ่าง ให้ทราบในวันประกาศผลรอบสอง)

หลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องนำมามอบให้กรรมการในวันทำสัญญา  คือ
๑.    ระเบียบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม. ๓ (รบ.๑ ต.) หรือเทียบเท่า
๒.   สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร
๓.  สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ผู้ให้กำเนิด) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรมต้องมีหลักฐานทางราชการรับรองสัญชาติของ บิดา มารดาด้วย

         ผู้ไม่มาทำสัญญา ไม่นำหลักฐานดังกล่าวมามอบให้หรือไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์แห่งการเป็นนักเรียนเตรียมทหาร กรรมการจะเรียกบุคคลสำรองเข้าแทนต่อไป
สถานที่ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

         ขอให้ผู้ที่สนใจติดต่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงจากสถาบัน และหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก
โดย ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก ติดต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อ.เมือง จ.นครนายก ๒๖๐๐๐ โทร. ๐๒-๒๔๑-๒๖๙๑ – ๔ , (๐๓๗) ๓๑๓-๕๙๕ หรือ (๐๓๗) ๓๑๒๐๑๐ – ๔ ต่อ ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๔, ๖๒๑๓๗

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ  ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทร. ๐๒-๓๙๔๐๔๔๑ – ๔ , ๐๒-๓๙๔๒๕๓๑ – ๔ , ๐๒-๔๗๕-๓๙๒๓, ๐๒๔๗๕ - ๓๘๕๒

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

         และท่านอาจสอบถามรายละเอียดได้จาก   แผนกสารนิเทศ โรงเรียนเตรียมทหาร ๑๘๕ หมู่ ๕ ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ๒๖๑๑๐ โทร. (๐๓๗) ๓๐๖๐๒๕ – ๔๔ ต่อ ๕๑๙๐ – ๓, ๕๗๒๕๑๙๐ – ๓

การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร

การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ  ดังนี้

            ๑  การสอบรอบแรก  เป็นการสอบภาควิชาการ  วิชาที่สอบได้แก่  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  ภาษาไทยและสังคมศึกษาตามหลักสูตรไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  (ม. ๓)  ของกระทรวงศึกษาธิการ  มีรายละเอียดดังนี้
๑.๑  วิชาคณิตศาสตร์  (คะแนนเต็ม  ๒๕๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๒  วิชาวิทยาศาสตร์  (คะแนนเต็ม  ๒๕๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๓  วิชาภาษาอังกฤษ  (คะแนนเต็ม  ๑๐๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๔  วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา  (คะแนนเต็ม  ๑๐๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
            โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ  โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  จะคัดเลือกผู้ที่สอบภาควิชาการผ่าน  โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้คะแนนภาควิชาการรวมสูงสุดมาตามลำดับไว้จำนวนหนึ่ง  แล้วประกาศรายชื่อเพื่อให้เข้าสอบรอบสองต่อไป

            ๒  การสอบรอบสอง  เป็นการตรวจร่างกาย  ตรวจสอบประวัติ  ทดสอบบุคลิกภาพ  สอบพลศึกษา  สอบสัมภาษณ์  และวัดขนาดร่างกาย  มีรายละเอียดดังนี้
๒.๑  การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ
ผู้ สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย  ตามสถานที่ วัน  เวลา  ที่จะประกาศให้ทราบ  ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิผลการตรวจร่างกาย  ถือความเห็นของคณะกรรมการคัดเลือกเป็นเด็ดขาด  จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจ  หรือได้รับใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง     นอกจากการตรวจร่างกายแล้วจะมีการฉาย  X – RAY  ตรวจโลหิต  ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ  ผู้สมัครจะต้องชำระค่าตรวจร่างกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด  ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษ  นอกเหนือจากการตรวจธรรมดาผู้รับการตรวจจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
สำหรับ เหล่าตำรวจ ในวันตรวจร่างกายจะทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้สมัคร  เพื่อตรวจสอบประวัติไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และยังต้องตรวจสอบไปยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่อีกทาง หนึ่งด้วย  หากผู้ใดมีประวัติเคยถูกลงโทษหรือความประพฤติไม่ดีตามที่กำหนดไว้ในเรื่อง ของคุณสมบัติ  จะถูกตัดสิทธิไม่ให้เป็นผู้สอบคัดเลือกได้

คำเตือน
(๑)  ในตอนเช้าวันตรวจร่างกาย  ไม่ควรรับประทานอาหารหวานจัด  เพราะอาจทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
(๒)  ก่อนตรวจร่างกาย  ห้ามรับประทานยาแก้ไอทุกชนิด  หรือยากระตุ้นกำลัง  ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางหัวใจ  และหลอดเลือดได้
(๓)  ห้ามผู้สมัครใส่  CONTACT  - LENS  ไปตรวจสายตา

๒.๒  การทดสอบบุคลิกภาพ  ไม่มีคะแนนถือเกณฑ์  ได้ – ตก  โดยใช้แบบทดสอบที่คณะอนุกรรมการกำหนด
๒.๓  การสอบพลศึกษา    เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย   มีคะแนนเต็ม (แต่ละเหล่าไม่เท่ากัน)  คะแนนที่ได้จะให้ลดหลั่นกันลงตามลำดับ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทดสอบในแต่ละประเภทที่ผู้สอบปฏิบัติได้สำเร็จหรือ จำนวนครั้งที่ปฏิบัติ  สำหรับผู้ที่ได้คะแนนรวมจาการทดสอบทุกประเภทต่ำกว่าที่แต่ละเหล่ากำหนด หรือสอบว่ายน้ำ  ๕๐  เมตร  หรือวิ่ง
๑,๐๐๐  เมตร  ไม่ถึงหรือทำเวลาไม่ได้ตามที่กำหนดถือว่าสอบตกให้คัดออก  (คะแนนผลการสอบพลศึกษาจะไม่นำไปรวมกับคะแนนการสอบข้อเขียน   ยกเว้น เหล่าทหารบก ที่จะคิดคะแนนรอบสองเป็น 10% ของคะแนนทั้งหมด)
ผู้เข้าสอบจะ ต้องทำการสอบให้ครบทุกประเภท  ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่ง  ถือว่าสอบตกและจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร  โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน  


สำหรับผู้ที่สนใจเข้าคอร์ส ติวกับทางทีมงานของ พันเอกแดนชัย กองแก้ว 
ทีมงานมีสอนประจำอยู่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง (คณิต คิด Science)
                                                จังหวัดเชียงราย (VST.Pre-Cadet)
                                                จังหวัด นครนายก (ช่วงปิดเทอม เดือน ตุลาคม และ 
                                                                          มีนาคม-พาไปสอบ ของทุกปี) 
สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณ พัชรกันย์ กองแก้ว โทร. 086-9173434

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย
เป็นนักเรียนเตรียมทหารดีอย่างไร?
- ขณะศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเตรียมทหารทางราชการจะสนับสนุนเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนให้ตลอดระยะเวลาการศึกษาทั้ง 3 ปี ซึ่งรวมถึงเครื่องแบบ อุปกรณ์การศึกษาต่างๆ และเมื่อสอบผ่านเกณฑ์การศึกษาต่อยังโรงเรียนเหล่าทัพ ทางราชการก็จะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด (เรียนฟรีและมีเงินเดือน)
- สอบคัดเลือกเพียงครั้งเดียวเพื่อเข้าศึกษาต่อยังโรงเรียนเตรียม ทหาร ระหว่างการเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารทั้ง 3 ปีหากสอบผ่านเลื่อนชั้นได้ตามเกณฑ์สามารถเรียนต่อยังโรงเรียนนายร้อยแต่ละ เหล่าทัพได้โดยอัตโนมัติ
- มีทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่เรียนดี และความประพฤติดีจำนวนมากระหว่างเรียน
- มีทุนสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, สเปน ฯลฯ สำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดีเด่น
- เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยตรี, เรือตรี, เรืออากาศตรี, ร้อยตำรวจตรี และได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรตามสาขาที่ได้เรียนมา

สายตาสั้นมีสิทธิ์สอบเป็นนักเรียนเตรียมทหารหรือไม่?
ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาไม่สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารได้ครับ แต่หากมีการแก้ไขให้สายตาเป็นปกติก่อนการสอบคัดเลือกได้ ถือว่ามีสิทธิ์สอบได้ตามปกติครับ (เวลาตรวจร่างกายแพทย์จะตรวจพบร่องรอยการรักษาอยู่แล้ว น้องๆ สามารถตอบไปได้ตามตรงเลยครับว่าไปทำการรักษาสายตามาเพื่อการสอบ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด)

เรียนกวดวิชาดีไหม?
การสอบคัดเลือกเพื่อเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในแต่ละปี มีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูง ประกอบกับข้อสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหารของแต่ละเหล่าทัพมักเป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยากและมีเวลาในการทำค่อนข้างจำกัด ดังนั้นผู้ที่มีการเตรียมพร้อมที่ดีย่อมได้เปรียบและมีโอกาสสอบติดมากกว่า การติวหรือเรียนกับสถาบันกวดวิชาเป็นการเน้นสรุปเนื้อหาสำคัญ พร้อมทั้งเทคนิคการทำโจทย์ รวมถึงเทคนิคการเดาข้อสอบหรือการตัดตัวเลือกที่ไม่ใช้ทิ้ง เป็นต้น ทำให้สามารถประหยัดเวลาในการทำข้อสอบ รวมถึงมีการแนะนำการเตรียมพร้อมร่างกายในการสอบพลศึกษาและเทคนิคการสอบสัมภาษณ์จากพี่ๆ ที่มีประสบการณ์ ทำให้เพิ่มโอกาสการสอบติดมากขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า น้องๆ ที่ไม่ได้ผ่านการกวดวิชาจะไม่สามารถสอบติดได้นะครับ การกวดวิชาเป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกในการเพิ่มโอกาสครับ

มีระบบเส้นสายในการสอบหรือไม่ครับ?
การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารเป็นการสอบคัดเลือกระดับประเทศ แต่ละเหล่าทัพต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญของกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติในอนาคต ประกอบกับข้อสอบและการคัดเลือกทุกขั้นตอนจะมีการตั้งคณะกรรมการอย่างโปร่งใสเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ยืนยันได้เลยว่า ไม่มีระบบเส้นสายหรือข้อสอบรั่วก่อนการสอบคัดเลือกแน่นอน ขอให้มั่นใจได้เลยว่าหากน้องเก่งจริง ทำข้อสอบได้จริง ใครๆ ก็สามารถเป็นนักเรียนเตรียมทหารได้ครับ

แต่ละปี แต่ละเหล่ารับนักเรียนกี่คนครับ?
จำนวนการรับนักเรียนเตรียมทหารของแต่ละเหล่าทัพในแต่ละปีขึ้นอยู่กับการวางแผนเพื่ิอสนองความต้องการกำลังพลของแต่ละเหล่าทัพ จำนวนการรับนักเรียนในแต่ละปีจึงไม่แน่นอนครับ แต่พอจะสามารถใช้ตัวเลขอ้างอิงของปีที่ผ่านๆ มาเป็นแนวโน้มได้ครับ

จำนวนการรับนักเรียนเตรียมทหารของแต่ละเหล่าทัพ
ประจำปี 2555 (นตท.รุ่นที่ 56)
จำนวนรับ/เหล่า นายร้อยจปร. นายเรือ นายเรืออากาศ นายร้อยตำรวจ
รอบแรก(วิชาการ) 760 702 610 630
รอบสอง(รับจริง) 226 (สำรอง 20)
นายเรือ 70 (สำรอง 10)
ตำรวจน้ำ 10 (สำรอง 10)
83 (สำรอง 20) 180 (สำรอง 20)

Wednesday, January 9, 2013

การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม 700 คะแนน)



ปัญหาข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  และตรวจข้อสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  ผู้สมัครจะต้องเตรียมปากกาหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน  ดินสอดำชนิดอ่อนเบอร์  2B    ยางลบดินสอและอุปกรณ์สำหรับเหลาดินสอ  เพื่อใช้ในการสอบ


การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม 700 คะแนน)
-วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน
-วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน
-วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 140 คะแนน
-วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 60 คะแนน
-วิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม 60 คะแนน

*ทั้ง 5 วิชา มีเนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กระทรวงศึกษาธิการ 
 

:: ดึงข้ออย่างไร ให้ขี้น ::

:: ดึงข้ออย่างไร ให้ขี้น ::
เป็นเกร็ดความรู้ในการดึงข้อให้ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์กับนักเรียนในการสอบภาคพละศึกษา
การดึงข้อก็มีหลักมาให้ปฏิบัติกันดังนี้

1.   น้ำหนักตัว ต้องให้ได้มาตราฐาน ไม่น้ำหนักมากเกินไป

2.   ข้อมือ และกล้ามเนื้อที่แขน ข้อและกล้ามตรงบริเวณท้องและหัวไหล่ต้องมีความแข็งแรง เพราะต้องเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อดึงตัวขึ้นไป

3.   การจับ ราวดึง ต้องใช้มือคว่ำกำรอบใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กำรอบอยู่ด้านบนแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกำรอบอยู่ใต้ราว จะได้มีกำลังในการดึงตัว

4.   ความกว้างของราวจับ ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 นิ้ว 2 หุน เพราะถ้าใหญ่เกินไปหรือไม่ได้มาตราฐานจะกำไม่กระชับ จะทำให้ไม่มีแรงดึงขึ้น

5.   การวางมือในการจับราวดึง ต้องจับไม่กว้างหรือแคบเกินไป ต้องจับให้พอดี

6.   จังหวะในการดึงควรมีจังหวะในการเด้งตัวขึ้น

7.   การ วางตัวการห้อยตัว ข้อสำคัญคือ เมื่อจับราวห้อยตัวแล้ว ตัวต้องไม่แกว่ง ลำตัวต้องนิ่งที่สุดแล้วบังคับกล้ามเนื้อหัวไหล่ ท้องแขน ข้อมือ พลังเกาะที่นิ้ว ดึงลำตัวให้ขึ้นให้ได้

8.   การอบอุ่นร่างกาย เช่น หัวไหล่ กล้ามเนื้อ หน้าแขน กล้ามเนื้อหลังแขน กล้ามเนื้อบริเวณท้องแขนมาจนถึงข้อมือ ไปจนถึงนิ้วมือทุก ๆ นิ้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อทุกส่วน

9.   การตั้งสมาธิ จงมั่นใจว่าเราต้องทำได้

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนทุกคน ตามทฤษฎีข้างต้นนี้

:: ทำไมเราต้องฝึกดึงข้อ ::
การดึงข้อก็เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง แต่ที่เราต้องฝึกเพื่อมาใช้สำหรับการโดดร่มนั่นเอง

การ ฝึกเพื่อให้ได้กำลังที่จะมาดึงข้อแบบนึงที่ได้ผลคือ ทำท่าไถนา(ให้เพื่อนจับขายกมาหนีบกับลำตัวเพื่อน โดยที่เรามีสองแขนยันพื้น  แล้วก็ทำท่าดันพื้น และท่าออกกำลังท่าอื่นๆที่จะคิดออก โดยให้อยู่บนพื้นฐานท่าไถนา จะได้กำลังแขนเร็วขึ้นครับ)

การอนุมัติการจบหลักสูตรและการมอบประกาศนียบัตร

การอนุมัติการจบหลักสูตรและการมอบประกาศนียบัตร
    
นักเรียนเตรียมทหารที่จะได้รับการพิจารณาอนุมัติให้จบหลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารได้ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

๑ ต้องเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่ม ครบตามโครงสร้างที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด ได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา และได้รับการตัดสินผลการเรียนให้ผ่านทุกรายวิชาพื้นฐานในทุกกลุ่มสาระการ เรียนรู้และต้องได้จำนวนตามที่กำหนดในแผนการเรียนของโรงเรียนเตรียมทหาร

๒ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด และได้รับการตัดสินให้ผ่านทุกกิจกรรมในทุกชั้นปี

๓ ต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๔ ต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ และได้รับการตัดสินให้ผ่าน


การเรียนซ้ำชั้น

นักเรียนเตรียมทหารต้องเรียนซ้ำชั้นในกรณี ดังต่อไปนี้

๑ นตท. ชั้นปีที่ ๑ ต้องเรียนซ้ำชั้น ในกรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษา ต่ำกว่า ๑.๕ หรือมีคะแนนความประพฤติต่ำกว่า ร้อยละ ๖๐ ของคะแนนความประพฤติประจำปีการศึกษา หรือได้ผลการเรียน "R"

๒ นตท. ชั้นปีที่ ๒ ต้องเรียนซ้ำชั้น ในกรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษา ต่ำกว่า ๑.๗๕ หรือมีคะแนนความประพฤติต่ำกว่า ร้อยละ ๖๐ ของคะแนนความประพฤติประจำปีการศึกษา หรือได้ผลการเรียน "R"

๓ นตท. ชั้นปีที่ ๓ ต้องเรียนซ้ำชั้น ในกรณีมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษา ต่ำกว่า ๒.๐ โดยไม่จบหลักสูตร และไม่ได้รับประกาศนียบัตรในปีการศึกษานั้น หรือได้ผลการเรียน "R"

๔ นตท. จะเรียนซ้ำชั้นได้ในชั้นปีใดชั้นปีหนึ่งเพียงชั้นปีเดียวเท่านั้น และระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตรรวมแล้วไม่เกิน ๔ ปีการศึกษา

การศึกษาต่อโรงเรียนเหล่าทัพและโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

นัก เรียนเตรียมทหารที่ศึกษาจบหลักสูตร และได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ และมีคะแนนความประพฤติไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนความประพฤติประจำปีการศึกษานั้น
นักเรียนเตรียมทหารที่ศึกษาจบ หลักสูตร กองบัญชาการทหารสูงสุดมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้นั้น ผู้ได้รับประกาศนียบัตรย่อมมีวิทยฐานะ มีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ


การถอนทะเบียนจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

นักเรียนเตรียมทหารจะถูกถอนทะเบียนจากความเป็นนักเรียน ในกรณีต่อไปนี้

๑ ลาออก

๒ ถึงแก่กรรม

๓ ป่วยหรือพิการ ซึ่งแพทย์ทหารไม่น้อยกว่า ๓ นาย โดยมีแพทย์ของ กองพยาบาล โรงเรียนเตรียมทหาร ๑ นาย และแพทย์เฉพาะทาง ๒ นาย ได้ตรวจและลงความเห็นว่าเป็นโรคที่ไม่สามารถศึกษาต่อไปได้ หรือมีความพิการที่ขัดต่อการรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

๔ ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน ๑๒๐ คะแนน ในปีการศึกษานั้น

๕ ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน ๘๐ คะแนน และสอบไม่ผ่านเกณฑ์ในรายวิชาหนึ่งวิชาใด หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า ๒.๐๐

๖ เสพหรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติด หรือเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

๗ มีความสัมพันธ์ทางเพศจนเสียหาย หรือประพฤติติดต่อได้เสียกับหญิงจนถึงขั้นที่ถือได้ว่าเป็นภรรยา

๘ กระทำความผิดเกี่ยวกับการประสงค์ต่อทรัพย์

๙ เกียจคร้านต่อการศึกษา ซึ่งผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร เห็นว่าไม่สมควรให้ศึกษาต่อไป

๑๐ ประพฤติเสื่อมเสียแก่ตนเอง และหรือทางราชการอย่างร้ายแรง ซึ่งผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหารพิจารณาเห็นสมควรให้ออกจากความเป็นนัก เรียนเตรียมทหาร

๑๑ ผู้ปกครองหรือผู้รับรอง ถึงแก่กรรมหรือถอนสัญญา และไม่สามารถหาผู้ปกครอง หรือผู้รับรองรายใหม่แล้วแต่กรณีมาทำสัญญาได้ภายใน ๖๐ วัน

๑๒ ปรากฏว่าข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของใบสมัคร หรือเอกสารประกอบการทำสัญญามอบตัวของนักเรียนเป็นเท็จ หรือไม่ปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในใบสมัคร

๑๓ ทุจริตในการสอบและสอบไม่ผ่านเกณฑ์ในรายวิชาหนึ่งวิชาใด หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า ๒.๐๐

๑๔ เรียนซ้ำชั้นมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลการเรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ได้เลื่อนชั้น

๑๕ เรียนซ้ำชั้นเกิน ๑ ครั้ง ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

ใน กรณีที่ผู้พ้นสภาพความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วแต่ระยะเวลาที่ถือว่าอยู่ในกองประจำ การยังไม่ครบกำหนด ให้โรงเรียนเตรียมทหารส่งตัวผู้นั้นไปรับราชการในกรมกองทหาร จนกว่าจะครบกำหนดตามกฎหมาย


ค่าชดใช้เงินให้แก่ทางราชการ

๑.พ้นจากฐานะนักเรียนเตรียมทหาร ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๑ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท

๒.นัก เรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๑ เรียนซ้ำชั้นมาแล้ว ๑ ปี แต่คุณสมบัติยังไม่อยู่ในเกณฑ์ได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาในชั้นปีที่ ๒ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท

๓.พ้นจากฐานะนักเรียนเตรียมทหาร ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท

๔.นัก เรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ เรียนซ้ำชั้นมาแล้ว ๑ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหาร แต่คุณสมบัติยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร หรือโรงเรียนตำรวจ แล้วแต่กรณี ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท

๕.พ้นจากฐานะนักเรียนเตรียมทหาร ในระหว่างเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๓ ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๙๐,๐๐๐ บาท

๖.นัก เรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๓ เรียนซ้ำชั้นมาแล้ว ๑ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหาร แต่คุณสมบัติยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนขึ้นไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร หรือโรงเรียนตำรวจ แล้วแต่กรณี ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๙๐,๐๐๐ บาท

๗.เมื่อ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว ไม่เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร หรือโรงเรียนตำรวจแล้วแต่กรณี ต้องชดใช้เงินค่าปรับ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท


สิทธิของนักเรียนเตรียมทหาร

นักเรียนเตรียมทหาร ซึ่งเข้าศึกษาตามหลักสูตรต่อจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม.๓) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า

๑ ชั้นปีที่ ๑ รับเงินเดือน ระดับ พ.๑ ชั้น ๘
๒ ชั้นปีที่ ๒ รับเงินเดือน ระดับ พ.๑ ชั้น ๙
๓ ชั้นปีที่ ๓ รับเงินเดือน ระดับ พ.๑ ชั้น ๑๐


การประเมินการเรียน

๑ การตัดสินผลการเรียน ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนรวมกับคะแนนปลายภาคเรียน และให้พิจารณาตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา

๒ ให้ใช้อักษรแสดงระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชาดังต่อไปนี้
A หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๔.๐
B+ หมายถึง ผลการเรียนดีมาก มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๓.๕
B หมายถึง ผลการเรียนดี มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๓.๐
C+ หมายถึง ผลการเรียนดีพอใช้ มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๒.๕
C หมายถึง ผลการเรียนพอใช้ มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๒.๐
D+ หมายถึง ผลการเรียนอ่อน มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๑.๕
D หมายถึง ผลการเรียนอ่อนมาก มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๑.๐
F หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์ มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับ ๐.๐

๓ ให้ใช้อักษรแสดงผลการเรียนที่มีเงื่อนไขในแต่ละรายวิชา ดังนี้
R หมายถึง ให้เรียนซ้ำ

๔ การพิจารณาตัดสินว่านักเรียนเตรียมทหารผ่านการประเมินและได้หน่วยกิต เฉพาะผู้ที่ได้ระดับผลการเรียน D ถึง A เท่านั้น

๕ นักเรียนเตรียมทหารที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ให้ได้ระดับผลการเรียน "F"

๖ ให้คำนวณหาค่าระดับคะแนนเฉลี่ย และ/หรือ คะแนนเฉลี่ยสะสมตามระยะเวลา ดังนี้
- เมื่อสิ้นสุดการศึกษาในแต่ละภาคเรียน
- เมื่อสิ้นปีการศึกษา และ/หรือ เมื่อได้ศึกษาจบหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหาร

๗ การวัดผลปลายภาคเรียนเฉพาะผู้ที่มีเวลาเรียนตลอดภาคเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น

๘ การอนุญาตให้นักเรียนเตรียมทหาร เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนสำหรับผู้ที่มีเวลาเรียนไม่ถึง
ร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร

+++การ เปลี่ยนอักษรแสดงระดับผลการเรียน "F" ให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุงแก้ไขนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ไม่ผ่านการประเมิน แล้วจึงจัดให้นักเรียนเตรียมทหารรับการประเมิน และให้รับการประเมินได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนถัดไป และเมื่อผ่านการประเมินให้ได้อักษรแสดงระดับผลการเรียนใหม่ไม่เกิน "D"

+++การตัดสินผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ถือปฏิบัติดังนี้

๑ พิจารณาตัดสินผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๒ ให้ใช้อักษรแสดงผลการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม ดังนี้
-SA หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก โดยผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญหรือมีผลงานดีเด่น
-SB หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี โดยผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือมีผลงานดี
-S หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด
-U หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๓ การประเมินผลกิจกรรมเฉพาะผู้ที่มีเวลาร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาทั้งหมดที่จัดกิจกรรมของแต่ละภาคเรียน

๔ การอนุญาตให้นักเรียนเตรียมทหาร ได้รับการตัดสินผลการประเมินกิจกรรมสำหรับผู้ที่มีเวลาร่วม
ในกิจกรรมไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาทั้งหมด ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร

๕ นักเรียนเตรียมทหารที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "S" , "SB", "SA" ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "U"

๖ การเปลี่ยนผลการประเมิน "U" เป็น "S" ให้ผู้รับผิดชอบจัดซ่อมเสริม หรือให้นักเรียนเตรียมทหาร ปฏิบัติกิจกรรมตามที่นักเรียนเตรียมทหารเลือกใหม่จนผ่านครบทุกกิจกรรม ตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๗ การดำเนินการแก้ "U" ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น หรือก่อนการส่งตัวให้
โรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถ้าไม่มาดำเนินการแก้ "U" ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้ได้ผลการเรียน "R"


+++การตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ถือปฏิบัติดังนี้

๑ พิจารณาตัดสินผลการประเมินในภาพรวมของคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๒ ให้ใช้อักษรแสดงผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้
-SA หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก โดยผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญหรือมีผลงานดีเด่น
-SB หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี โดยผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือมีผลงานดี
-S หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด
-U หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๓ นักเรียนเตรียมทหารที่เข้าร่วมการประเมินในภาพรวมของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "S" , "SB", "SA" ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "U"
๔ การเปลี่ยนผลการประเมิน "U" เป็น "S" ให้ผู้รับผิดชอบจัดซ่อมเสริม หรือให้นักเรียนเตรียมทหาร ปฏิบัติกิจกรรมตามที่นักเรียนเตรียมทหารเลือกใหม่จนผ่านครบทุกกิจกรรมลักษณะ ตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด
๕ การดำเนินการแก้ "U" ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น หรือก่อนการส่งตัวให้
โรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถ้าไม่มาดำเนินการแก้ "U" ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้ได้ผลการเรียน "R"


+++ การตัดสินผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ให้ถือปฏิบัติดังนี้

๑ พิจารณาตัดสินผลการประเมินในภาพรวมของความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๒ ให้ใช้อักษรแสดงผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ดังนี้
-SA หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก โดยผ่านการประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญหรือมีผลงานดีเด่น

SB หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี โดยผ่านการประเมินผลการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือมีผลงานดี
-S หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผ่านการประเมินผลการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความที่คาดหวังที่สำคัญตามที่กำหนด
-U หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๓ นักเรียนเตรียมทหารที่เข้าร่วมการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "S" , "SB", "SA" ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ได้ผลการเรียน "U"

๔ การเปลี่ยนผลการประเมิน "U" เป็น "S" ให้ผู้รับผิดชอบจัดซ่อมเสริม หรือให้นักเรียนเตรียมทหาร ปฏิบัติกิจกรรมตามที่นักเรียนเตรียมทหารเลือกใหม่จนผ่านครบทุกกิจกรรม ตามที่หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหารกำหนด

๕ การดำเนินการแก้ "U" ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น หรือก่อนการส่งตัวให้
โรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถ้าไม่มาดำเนินการแก้ "U" ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้ได้ผลการเรียน "R"

ข้อมูลจาก กองสถิติและประเมินผล

ตามมาตรฐาน นตท.ทุกเหล่าทัพ

ตามมาตรฐาน นตท.ทุกเหล่าทัพ 

การ สอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ๘ สถานี ผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกสถานี ถ้าขาดสอบสถานีใดสถานีหนึ่งถือว่าสอบตกให้คัดออก สถานีที่สอบและวิธีการทดสอบกำหนดตามลำดับดังนี้

สถานีที่ ๑ นั่งงอตัว เครื่องวัดเป็นกล่องไม้สูงจากพื้น ๓๐ เซนติเมตร ติดไม้วัดยาว ๖๐ เซนติเมตร ด้านบนของกล่องในแนวนอน ให้ผู้สอบนั่งเหยียดขาตรง เท้าทั้งสองตั้งฉากกับพื้นและชิดกัน ฝ่าเท้าจรดแกนกลางของเครื่องวัด แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงขนากับพื้นฝ่ามือว่างอยู่บนเครื่องวัด เมื่อพร้อมแล้วให้ค่อย ๆ ก้มตัวพร้อมกับเหยียดแขนเลื่อนฝ่ามือไปข้างหน้าตามแนวเครื่องวัดจนไม่สามารถ ก้มตัวเลื่อนฝ่ามือต่อไปได้ ขณะปฏิบัติเข่าเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ

สถานีที่ ๒ ยืนกระโดดไกล ให้ผู้เข้าสอบยืนบนจุดที่กำหนดของเครื่องวัด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลังพร้อมกับย่อตัวลง ให้เหวี่ยงแขนย่อตัวหาจังหวะได้ เมื่อได้จังหวะแล้วให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าอย่างแรง พร้อมกระโดดด้วยเท้าทั้งสองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด

สถานีที่ ๓ ลุกนั่ง ๓๐ วินาที ท่าเตรียมผู้สอบนอนหงาย ฝ่ามือทั้งสองสอดประสานกันที่ท้ายทอย ศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้น เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ ผู้ช่วยคุกเข่าใช้มือทั้งสองจับข้อเท้าของผู้สอบกดไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น เมื่อพร้อมแล้วกรรมการให้สัญญาณ " เริ่ม " ผู้สอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสอง ให้แขนทั้งสองช่วงศอกด้านในสัมผัสกับเข่าด้านนอกแล้วกลับนอนลงสู่ท่าเดิมจน ด้านหลังของหัวไหล่และศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้น ทำเช่นนี้ติดต่อกันภายใน ๓๐ วินาที ขณะปฏิบัติฝ่ามือต้องประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอียงตัวไปมา

สถานีที่ ๔ วิ่งเก็บของ เป็นการวิ่งบนทางเรียบ ๒ เท ี ่ยว (ไป – กลับ) มี วงกลม ๒ วง ห่างกัน ๑๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ เซนติเมตร ที่วงกลมปลายทางมีไม้ ๒ ท่อน ( ขนาด ๕ x ๐ . ๕ x ๑๐ ซม .) วางตรงจุดกำหนดในวงกลมปลายทาง เมื่อได้รับสัญญาณให้ผู้สอบเริ่มวิ่งจากวงกลม เริ่มต้นไปยังวงกลมปลายทางหยิบไม้ท่อนที่ ๑ วิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมเริ่มต้น แล้ววิ่งกลับไปเก็บไม้ท่อนที่ ๒ วิ่งกลับมาผ่านวงกลมเริ่มต้น ( โดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่ ๒ ในวงกลมเริ่มต้น ) ถ้าวางไม้ไม่อยู่ในวงกลมต้องเก็บมาวางไว้ในวงกลม ห้ามโยนท่อนไม้

สถานี ที่ ๕ วิ่งระยะทาง ๕๐ เมตร ให้ผู้สอบพร้อมที่เส้นปล่อยตัวตามช่องวิ่งของตนเอง เมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัวให้วิ่งในช่องวิ่งของตนเองไปจนถึงเส้นชัย

สถานี ที่ ๖ ดึงข้อ ท่าเริ่มต้น ให้ผู้สอบจับราวเดี่ยวแบบคว่ำมือทั้ง ๒ ข้าง พร้อมห้อยตัวลงจนแขน ลำตัว และขาเหยียดตรง เมื่อพร้อมให้ผู้สอบงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว และกลับส ู ่ท่าเริ่มต้น แขน ลำตัวและขา ต้องเหยียดตรงทุกครั้ง ปฏิบัติติดต่อกันให้มากครั้งทีสุด ห้ามแกว่งเท้าหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที

สถานีที่ ๗ วิ่งระยะ ๑ , ๐๐๐ เมตร ให้ผู้สอบพร้อมที่เส้นปล่อยตัวเมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัว ให้เริ่มวิ่งไปตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดไว้

สถานีที่ ๘ ว่ายน้ำระยะทาง ๕๐ เมตร ให้ผู้สอบพร้อมบนแท่นปล่อยตัวหรือที่ขอบสระ หรืออยู่ในน้ำ ตามลู่ว่ายของตนเองด้านจุดเริ่มต้น เมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัว ให้ว่ายน้ำไปจนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย

ประเภทที่สอบและเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

ประเภทที่สอบและเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

(๑)  ดึงข้อราวเดี่ยว
ท่าเตรียม  ให้ผู้ทดสอบจับราวเดี่ยวแบบมือคว่ำกำรอบ  ปล่อยตัวให้ตรงจนแขน  ลำตัว  และขาเหยียดตรง
ท่า ปฏิบัติ  ให้ผู้ทดสอบทำท่าต่อจากท่าเตรียม  โดยงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว  แล้วปล่อยตัวลงสู่ท่าเตรียม  กระทำติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุด  ห้ามแกว่งหรือเตะขา  หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า  ๓ - ๔  วินาที  หรือไม่สามารถดึงขึ้นพ้นราวได้  ๒  ครั้งติดต่อกัน  หรือดึงขึ้นไม่พ้น  ให้หยุดทำการทดสอบ
ถ้าทำได้             ๒๐  ครั้ง             จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้                 ๗  ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
(๒)  ลุกนั่ง  ๓๐  วินาที
ท่า เตรียม  ผู้ทดสอบนอนหงาย  เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก  เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ  ฝ่ามือทั้งสองประสานกันที่ท้ายทอย  ผู้ช่วยคุกเข่าบนปลายเท้าของผู้ทดสอบโดยเอามือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้ทดสอบ ไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น
ท่าปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม  ให้ผู้ทดสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขน ทั้งสองแตะกับเข่าแล้วกลับลงนอนสู่ท่าเตรียมจนศอกแตะกับพื้น  ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดภายใน  ๓๐ วินาที  ในขณะปฏิบัตินิ้วมือประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา  และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอนตัวไปมา
ถ้าทำได้             ๒๕  ครั้ง             จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้             ๑๙    ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๓)  ยึดพื้นหรือดันข้อ
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบนอนคว่ำมือยันพื้น  แขนทั้งสองเหยียดตรงห่างกันพอประมาณ  ลำตัวเหยียดตรงปลายเท้าจรดพื้นเงยศีรษะขึ้น
ท่า ปฏิบัติ  ผู้ทดสอบทำต่อจากท่าเตรียม  โดยยุบแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้บริเวณหน้าอกแตะพื้น  แล้วดันลำตัวขึ้นกลับสู่ท่าเตรียม  ทำเช่นนี้ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด  ห้ามทำตัวแอ่น  หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง  หรือแขนทั้งสองข้างขึ้นไม่พร้อมกัน  หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า  ๓ - ๔  วินาที  หรือไม่สามารถดันขึ้นสู่ท่าเตรียมเกินกว่า  ๓ - ๔  วินาที  ให้หยุดการทดสอบ
ถ้าทำได้             ๕๔  ครั้ง              จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้             ๒๗  ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๔)  วิ่งระยะสั้น  (๕๐  เมตร)
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่มในสู่วิ่งของตนเองพร้อมจะปฏิบัติ
ท่าปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งอย่างเร็วออกจากเส้นเริ่มจนผ่านเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน           ๕.๕  วินาที           จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                   ๗      วินาที          จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๕)  วิ่งระยะไกล  (๑,๐๐๐  เมตร)
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม  เตรียมตัวปฏิบัติ
ท่าปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งจากเส้นเริ่มไปตามทางวิ่งจนสิ้นสุดระยะทางโดยผ่านเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน           ๓.๑๘   วินาที        จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                   ๔.๓๒  วินาที        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า  ๕  นาที  ๒๒  วินาที   หรือวิ่งไม่ถึง  จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท  และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๖)  ยืนกระโดดไกล 
ท่าเตรียม  ผู้สอบยืนบนพื้นที่เรียบหลังเส้นกระโดด  ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น  หันหน้าไปทางทิศทางที่จะกระโดด
ท่า ปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้เริ่มปฏิบัติ  ให้ผู้ทดสอบกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุด  (โดยใช้การแกว่งแขนช่วย)  วัดระยะทางการกระโดดจากเส้นกระโดดไปยังจุดที่ส้นเท้าลงบนพื้นไกลเส้นเริ่ม ต้นมากที่สุด
ถ้ากระโดดได้ไกล           ๒.๕     เมตร         จะได้คะแนนเต็ม
ถ้ากระโดยได้ไกล           ๒.๒๕  เมตร        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๗)  ว่ายน้ำ  ๕๐  เมตร
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนที่ขอบสระพร้อมจะปฏิบัติ
ท่า ปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณ  ให้ผู้ทดสอบพุ่งตัวลงสระว่ายน้ำแล้วว่ายโดยเร็ว  จนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย  การเข้าเส้นชัย  ถือเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระที่เป็นเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน          ๔๐  วินาที           จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                  ๕๔  วินาที           จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ ที่สอบว่ายน้ำทำเวลาเกินกว่า  ๑  นาที  ๒๐  วินาที  หรือว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย  จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท  และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๘)  วิ่งกลับตัว  (วิ่งเก็บของ)ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม  พร้อมจะปฏิบัติ
ท่า ปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบวิ่งอย่างเร็วจากเส้นเริ่มไปหยิบท่อนไม้ ท่อนที่  ๑  ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมรัศมี  ๑  ฟุต  กลับมาวางภายในวงกลมหลังเส้นเริ่ม  (ห้ามโยนท่อนไม้  ถ้าวางไม่เข้าวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่)  แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่  ๒  แล้ววิ่งกลับผ่านเส้นเริ่มต้นไปโดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่  ๒  ลง
ถ้าทำเวลาได้ภายใน              ๙.๕  วินาที         จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้ภายใน           ๑๑       วินาที        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

๒.๔  การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์  เป็นการพิจารณารูปร่าง  ลักษณะท่าทาง  ความสมบูรณ์ของร่างกาย  ความองอาจ  ว่องไวและปฏิภาณไหวพริบ  ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ  ที่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ผล การสอบถือเกณฑ์  “ได้”  หรือ  “ตก”  เท่านั้นไม่มีคะแนน  ผู้ที่สอบตกหมายถึง  ผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการทหาร-ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร   และจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารโดยไม่คำนึงถึงคะแนนสอบข้อ เขียน
ในวันสอบสัมภาษณ์จะทำการวัดขนาดร่างกายของผู้สมัครด้วย  หากผู้สมัครมีร่างกายไม่ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้  จะหมดสิทธิสอบสัมภาษณ์ทันที

การเตรียมตัวสอบ

            ๑  การสอบข้อเขียน
๑.๑  จะต้องจดจำรหัสประจำตัวสอบ  แผนผังที่นั่งสอบ  และควรไปดูสถานที่สอบไว้ล่วงหน้า
๑.๒  ผู้เข้าสอบจะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย  และต้องไปให้ตรงตามเวลาที่นัดหมาย  เพื่อรอเรียกเข้าห้องสอบ  หากเรียกเข้าห้องสอบและลงมือสอบไปแล้ว  ผู้ใดที่ไปไม่ทันเวลาเริ่มลงมือสอบจะไม่ให้เข้าห้องสอบอย่างเด็ดขาด  จะอ้างเหตุความจำเป็นใด ๆ  ไม่ได้ทั้งสิ้น
๑.๓  ปัญหาข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  และตรวจข้อสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  ผู้สมัครจะต้องเตรียมปากกาหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน  ดินสอดำชนิดอ่อนเบอร์  2B    ยางลบดินสอและอุปกรณ์สำหรับเหลาดินสอ  เพื่อใช้ในการสอบ
๑.๔  นำบัตรประจำตัวสอบ  พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่ติด รูปถ่ายของผู้สมัคร  เช่น  บัตรประจำตัวนักเรียนหรือบัตรประจำตัวนักศึกษา  หรือใบขับขี่  เป็นต้น  ไปแสดงควบคู่กันเพื่อเข้าสอบ และกรณีทำบัตรประจำตัวสอบหายจะต้องนำใบคำร้องแจ้งหายหรือสำเนาประจำวันของ สถานีตำรวจที่ผู้สมัครแจ้งหายไปแสดงยังกองอำนวยการคุมสอบก่อนเวลาสอบไม่น้อย กว่า  ๒  ชั่วโมง  เพื่อขอออกบัตรแทน  (ต้องนำมาแสดงทุกขั้นตอนของการสอบ)

            ๒  การสอบพลศึกษา  การแต่งกายเข้าสอบวิ่งให้ผู้สอบนุ่งกางเกงขาสั้น  หรือกางเกงกีฬาขาสั้น  ส่วนการสอบว่ายน้ำให้เตรียมกางเกงว่ายน้ำไปด้วย

            ๓  การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์  ให้เตรียมกางเกงขาสั้นหรือกางเกงกีฬาขาสั้นไปด้วย

           ๔  การทดสอบบุคลิกภาพ  ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย  และให้เตรียมเงินค่าธรรมเนียมการทดสอบบุคลิกภาพตามที่คณะกรรมการกำหนด

           ๕  การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ    ให้เตรียมเงินค่าตรวจและแต่งกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด
การปฏิบัติในการสอบ
            ๑  การขาดสอบข้อเขียน  หรือขาดสอบพลศึกษาประเภทใดประเภทหนึ่ง  หรือขาดการทดสอบบุคลิกภาพ  หรือขาดวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์  หรือขาดตรวจร่างกาย  จะถือว่าผู้สมัครสละสิทธิในการสอบคัดเลือก
            ๒ ผู้ที่ทุจริตในการสอบหรือมีผู้ช่วยเหลือในการกระทำทุจรติ  จะหมดสิทธิในการสอบทันที
            ๓ ในขณะเข้าห้องสอบ  กรรมการคุมสอบจะค้นตัวผู้เข้าสอบทุกคน  และจะไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด  หรือกระดาษร่าง  หรืออุปกรณ์อื่นใดนอกจากเครื่องเขียนตามที่กำหนด  เข้าห้องสอบเด็ดขาด
            ๔  ผู้เข้าสอบจะออกจากห้องสอบได้เมื่อหมดเวลาสอบเท่านั้น   ถ้าผู้เข้าสอบคนใดฝ่าฝืนจะถือว่าผู้นั้นสอบตกทุกวิชาและหากมีข้อสงสัย  กรรมการคุมสอบจะทำการค้นตัวก่อนให้ออกจากห้องสอบ

การสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร

การสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร   (ข้อมูลอาจมีการปรับปรุง )    
         โรงเรียนเตรียมทหาร มิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก และกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในแต่ละปีแล้วส่งมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหารเป็นเวลา ๓ ปี
         เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว จึงจะไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร – ตำรวจ ตามที่นักเรียนสมัครสอบไว้แต่แรก

ใบสมัคร          
มีจำหน่ายประมาณ กลางเดือน มกราคม ไปจนถึงวันสุดท้ายของการสมัครด้วยตนเองของแต่ละเหล่า

การสมัครสอบ              
สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณ กลางเดือน มกราคม – ปลายเดือน กุมภาพันธ์       สมัครด้วยตนเอง    ประมาณ กลางเดือน มีนาคม

การสอบคัดเลือก            
ประมาณ ปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือน เมษายนของทุกปี

สถานที่จำหน่ายใบสมัคร
ใบ สมัครและระเบียบการในการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จะมีสถานที่จำหน่ายแตกต่างกันไปตามเหล่าที่นักเรียนสมัครเข้าศึกษาต่อ ดังนี้
         ๑. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก ๒๖๐๐๑
         ๒. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพเรือ มีจำหน่ายที่ โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐
         ๓. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพอากาศ มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย  โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ และตามกองบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ
         ๔.  ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีจำหน่ายที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐

หลักฐานที่จะต้องยืนในวันสมัคร
         ๑. รูปถ่ายหน้าตรง ครึ่งตัว ไม่สวมหมวกหรือแว่นตา (เหมือนกับทุกรูป) และต้องเป็นรูปที่ถ่ายไว้ไม่เกิน ๓ เดือน
         ๒. สำเนาสูติบัตร
         ๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือใบรับรองผลการเรียน (ม.๓ หรือสูงกว่า)  

         ๔. ใบสำคัญทหารกองเกินหรือใบแทน
         ๕. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิดซึ่งคัดไว้ไม่เกิน ๓ เดือน หากผู้สมัครมีบิดา และมารดาที่มีนามสกุลไม่ตรงกัน ต้องนำหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย
         ๖. ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม ให้นำหลักฐานใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองจากนายทะเบียน เพื่อแสดงสัญชาติของบิดาหรือมารดา
         ๗. หลักฐานแสดงว่าสำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร (ชั้นปีที่ ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๕) ของกรมการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม (ถ้ามี)
         ๘. หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรนายทหาร นายตำรวจสัญญาบัตรประจำการ หรือนกประจำการหรือเป็นบุตรนายทหารประทวน หรือตำรวจต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรประจำการ (ถ้ามี)
         ๙. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ระหว่างที่มีการรบหรือสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับวันราชการทวีคูณ (ในกรณีนับวันทวีคูณเฉพาะกรณีปราบจลาจล พ.ศ. ๒๔๙๘) (ถ้ามี)
         ๑๐. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ที่ต้องประสบอันตราย ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำตามหน้าที่จนถึงทุพพลภาพ หรือบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเหรียญกล้าหาญ (ถ้ามี)

หมายเหตุ
         ***นัก เรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาดใดก็ได้ จำนวน ๑ รูป  สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาด ๑.๕ x ๒ นิ้ว จำนวน ๗ รูป  สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๔ รูป
         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ x ๑.๕ นิ้ว จำนวน ๘ รูป
         *** เอกสารทุกอย่างหากผู้สมัครถ่ายเอกสารมาเอง ต้องนำต้นฉบับจริงมาให้กรรมการตรวจสอบด้วย การเตรียมเอกสารต่าง ๆ  ให้ผู้สมัครดำเนินการตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ในระเบียบการซึ่งจะจำหน่ายคู่ กับใบสมัคร


การเตรียมตัวของผู้สมัคร
         ๑. ผู้สมัครต้องอ่านระเบียบการทั่วไป และวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตลอดจนคำชี้แจงต่าง ๆ ให้เข้าใจ ชัดเจน โดยตลอด
         ๒. เตรียมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสมัคร ตรวจดูให้มีความถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความสะดวกรวดเร็วในการสมัครของผู้สมัครเอง
         ๓. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดและไม่เป็นโรค หรือความพิการอื่นที่ขัดต่อการสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ๔. จดจำกำหนดเวลา และสถานที่ของการรับสมัครที่จะประกาศให้ทราบก่อนการรับสมัคร
         ๕. การแต่งกายในการไปสมัครรวมทั้งการที่จะเข้าสอบ ตลอดจนการไปติดต่อต่าง ๆ ต้องให้สุภาพเรียบร้อย
         ๖. ในวันสมัครจะต้องไปสมัครด้วนตนเองยังไม่จำเป็นต้องนำผู้ปกครอง หรือผู้รับรองไปด้วย
การทำสัญญามอบตัวเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จะต้องนำผู้ปกครองและผู้รับรอง ไปทำสัญญาที่โรงเรียนเตรียมทหาร ตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้ในประกาศพร้อมทั้งนำเงินค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นนักเรียนเตรียม ทหารมาชำระด้วย (รายละเอียดจะมีคำชี้แจงแจกจ่าง ให้ทราบในวันประกาศผลรอบสอง)

หลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องนำมามอบให้กรรมการในวันทำสัญญา  คือ
๑.    ระเบียบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม. ๓ (รบ.๑ ต.) หรือเทียบเท่า
๒.   สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร
๓.  สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ผู้ให้กำเนิด) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรมต้องมีหลักฐานทางราชการรับรองสัญชาติของ บิดา มารดาด้วย

         ผู้ไม่มาทำสัญญา ไม่นำหลักฐานดังกล่าวมามอบให้หรือไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์แห่งการเป็นนักเรียนเตรียมทหาร กรรมการจะเรียกบุคคลสำรองเข้าแทนต่อไป
สถานที่ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

         ขอให้ผู้ที่สนใจติดต่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงจากสถาบัน และหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก
โดย ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก ติดต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อ.เมือง จ.นครนายก ๒๖๐๐๐ โทร. ๐๒-๒๔๑-๒๖๙๑ – ๔ , (๐๓๗) ๓๑๓-๕๙๕ หรือ (๐๓๗) ๓๑๒๐๑๐ – ๔ ต่อ ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๔, ๖๒๑๓๗

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ  ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทร. ๐๒-๓๙๔๐๔๔๑ – ๔ , ๐๒-๓๙๔๒๕๓๑ – ๔ , ๐๒-๔๗๕-๓๙๒๓, ๐๒๔๗๕ - ๓๘๕๒

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

         และท่านอาจสอบถามรายละเอียดได้จาก   แผนกสารนิเทศ โรงเรียนเตรียมทหาร ๑๘๕ หมู่ ๕ ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ๒๖๑๑๐ โทร. (๐๓๗) ๓๐๖๐๒๕ – ๔๔ ต่อ ๕๑๙๐ – ๓, ๕๗๒๕๑๙๐ – ๓

การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร

การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ  ดังนี้

            ๑  การสอบรอบแรก  เป็นการสอบภาควิชาการ  วิชาที่สอบได้แก่  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  ภาษาไทยและสังคมศึกษาตามหลักสูตรไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  (ม. ๓)  ของกระทรวงศึกษาธิการ  มีรายละเอียดดังนี้
๑.๑  วิชาคณิตศาสตร์  (คะแนนเต็ม  ๒๕๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๒  วิชาวิทยาศาสตร์  (คะแนนเต็ม  ๒๕๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๓  วิชาภาษาอังกฤษ  (คะแนนเต็ม  ๑๐๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๔  วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา  (คะแนนเต็ม  ๑๐๐  คะแนน)  เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
            โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ  โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  จะคัดเลือกผู้ที่สอบภาควิชาการผ่าน  โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้คะแนนภาควิชาการรวมสูงสุดมาตามลำดับไว้จำนวนหนึ่ง  แล้วประกาศรายชื่อเพื่อให้เข้าสอบรอบสองต่อไป

            ๒  การสอบรอบสอง  เป็นการตรวจร่างกาย  ตรวจสอบประวัติ  ทดสอบบุคลิกภาพ  สอบพลศึกษา  สอบสัมภาษณ์  และวัดขนาดร่างกาย  มีรายละเอียดดังนี้
๒.๑  การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ
ผู้ สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย  ตามสถานที่ วัน  เวลา  ที่จะประกาศให้ทราบ  ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิผลการตรวจร่างกาย  ถือความเห็นของคณะกรรมการคัดเลือกเป็นเด็ดขาด  จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจ  หรือได้รับใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง     นอกจากการตรวจร่างกายแล้วจะมีการฉาย  X – RAY  ตรวจโลหิต  ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ  ผู้สมัครจะต้องชำระค่าตรวจร่างกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด  ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษ  นอกเหนือจากการตรวจธรรมดาผู้รับการตรวจจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง
สำหรับ เหล่าตำรวจ ในวันตรวจร่างกายจะทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้สมัคร  เพื่อตรวจสอบประวัติไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และยังต้องตรวจสอบไปยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่อีกทาง หนึ่งด้วย  หากผู้ใดมีประวัติเคยถูกลงโทษหรือความประพฤติไม่ดีตามที่กำหนดไว้ในเรื่อง ของคุณสมบัติ  จะถูกตัดสิทธิไม่ให้เป็นผู้สอบคัดเลือกได้

คำเตือน
(๑)  ในตอนเช้าวันตรวจร่างกาย  ไม่ควรรับประทานอาหารหวานจัด  เพราะอาจทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
(๒)  ก่อนตรวจร่างกาย  ห้ามรับประทานยาแก้ไอทุกชนิด  หรือยากระตุ้นกำลัง  ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางหัวใจ  และหลอดเลือดได้
(๓)  ห้ามผู้สมัครใส่  CONTACT  - LENS  ไปตรวจสายตา

๒.๒  การทดสอบบุคลิกภาพ  ไม่มีคะแนนถือเกณฑ์  ได้ – ตก  โดยใช้แบบทดสอบที่คณะอนุกรรมการกำหนด
๒.๓  การสอบพลศึกษา    เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย   มีคะแนนเต็ม (แต่ละเหล่าไม่เท่ากัน)  คะแนนที่ได้จะให้ลดหลั่นกันลงตามลำดับ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทดสอบในแต่ละประเภทที่ผู้สอบปฏิบัติได้สำเร็จหรือ จำนวนครั้งที่ปฏิบัติ  สำหรับผู้ที่ได้คะแนนรวมจาการทดสอบทุกประเภทต่ำกว่าที่แต่ละเหล่ากำหนด หรือสอบว่ายน้ำ  ๕๐  เมตร  หรือวิ่ง
๑,๐๐๐  เมตร  ไม่ถึงหรือทำเวลาไม่ได้ตามที่กำหนดถือว่าสอบตกให้คัดออก  (คะแนนผลการสอบพลศึกษาจะไม่นำไปรวมกับคะแนนการสอบข้อเขียน   ยกเว้น เหล่าทหารบก ที่จะคิดคะแนนรอบสองเป็น 10% ของคะแนนทั้งหมด)
ผู้เข้าสอบจะ ต้องทำการสอบให้ครบทุกประเภท  ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่ง  ถือว่าสอบตกและจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร  โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน  

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

         ๑.  สอบผ่านทุกรายวิชา ตามที่กำหนดในแผนการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม.๓) หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
         ๒. อายุไม่ต่ำกว่า ๑๔ ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ๑๗ ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
         ๓. มีสัญชาติไทย และบิดา – มารดา ผู้ให้กำเนิด ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหาร นายตำรวจสัญญาบัตรหรือนายทหาร นายตำรวจประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้วมารดาจะไม่ใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ ได้
         ๔. มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทางเหมาะสมแก่การเป็นทหาร – ตำรวจ ไม่มีโรคที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และตามที่กองบัญชาการทหารสูงสุดกำหนดไว้
         ๕. ขนาดของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดความสมบูรณ์ ตามตารางที่กำหนดไว้ในระเบียบการทั่วไปโดยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ดังนี้
นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก
อายุ               ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                       ความสูงเป็น ซ.ม.    น้ำหนักเป็น ก.ก.
                    หายใจเข้า             หายใจออก     
๑๔ – ๑๕              ๗๕                   ๗๒                              ๑๕๗                          ๔๕
๑๖                      ๗๖                   ๗๓                              ๑๕๘                           ๔๖
๑๗                     ๗๗                   ๗๔                              ๑๕๙                           ๔๗

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ
อายุ            ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                       ความสูงเป็น ซ.ม.     
น้ำหนักเป็น ก.ก.                    
                    หายใจเข้า          หายใจออก     
๑๔ – ๑๕            ๗๕                    ๗๒                              ๑๖๐                            ๔๒
๑๖                    ๗๖                    ๗๓                              ๑๖๐                            ๔๔
๑๗                   ๗๗                    ๗๔                              ๑๖๐                            ๔๖

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ
อายุ             ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                  ความสูงเป็น ซ.ม.          
น้ำหนักเป็น ก.ก.                    
                     หายใจเข้า          หายใจออก     
๑๔ – ๑๕             ๗๕                  ๗๒                                ๑๕๕                          ๔๒
๑๖                     ๗๖                  ๗๓                                ๑๕๖                          ๔๔
๑๗                     ๗๗                 ๗๔                               ๑๕๘                           ๔๖

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
อายุ             ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                    ความสูงเป็น ซ.ม.        
น้ำหนักเป็น ก.ก.                  
                     หายใจเข้า            หายใจออก     
๑๔ – ๑๕              ๗๕                  ๗๒                              ๑๕๗                           ๔๕
๑๖                      ๗๖                   ๗๓                             ๑๕๘                           ๔๖
๑๗                      ๗๗                  ๗๔                             ๑๕๙                           ๔๗                     
         ๖. เป็นชายโสด
         ๗. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่บกพร่องในศีลธรรม เลื่อมในในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
         ๘. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หรือไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาลว่าได้กระทำความผิดในคดีอาญา เว้นแต่ความผิดในลักษณะฐานลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
         ๙. ไม่อยู่ในระหว่างพักราชการ เนื่องจากความผิดหรือหนีราชการ
         ๑๐. ไม่เคยถูกไล่ออก หรือถูกปลดออกจากสถานีศึกษา ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนทหาร โรงเรียนตำรวจ หรือถูกทางราชการไล่ออกหรือปลดออก ทั้งนี้เนื่องจากความผิด
         ๑๑. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพย์ติด หรือสารเคมีเสพย์ติดให้โทษที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
         ๑๓. ต้องไม่มีพันธกรณีผูกผันกับส่วนราชการใด ๆ อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
         ๑๔. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ๑๕. มีผู้ปกครองและผู้รับรองซึ่งสามารถรับรองข้อความและพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
หมายเหตุ
         คุณลักษณะและลักษณะดังกล่าวในข้อ ๑. – ๑๕. หากปรากฎว่าเป็นความเท็จขึ้นภายหลังรับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว จะต้องพันจากฐานะนักเรียนเตรียมทหารทันที

ผู้ไม่มีสิทธิสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
       ๑  ไม่มีคุณสมบัติ  และลักษณะครบถ้วนตามที่ระบุไว้ใน  ข้อ  ๒
       ๒  ผู้ที่เคยทุจริตในการสมัครหรือในการสอบคัดเลือกมาแล้ว
       ๓  ผู้ที่ออกจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหารเพราะความประพฤติบกพร่องหรือลาออก

โรคและความพิการที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ผู้สมัครเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร  จะต้องไม่มีโรคและความพิการ  ดังต่อไปนี้
๒.ไม่มีโรคและความพิการดังต่อไปนี้
๒ . ๑ ร่างกายผิดปกติ หรือพิกลรูป หรือพิการ
๒ . ๑ . ๑ ศีรษะ และใบหน้าผิดรูปจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๑ . ๒ ผมบางหรือผมร่วงจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๑ . ๓ รูปวิปริตต่าง ๆ (Malformation) ของริมฝีปาก หรือจมูก เช่น ปาก หรือ จมูกแหว่ง ริมฝีปากแบะ หรือเชิดจนน่าเกลียด หรือหุบลง
๒ . ๑ . ๔ ซอกคอหรือซอกรักแร้ติดกัน
๒ . ๑ . ๕ แขน ขา
๒ . ๑ . ๕ . ๑ ยาวไม่เท่ากัน หรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด
๒ . ๑ . ๕ . ๒ โค้งเข้าหรือออก
๒ . ๑ . ๕ . ๓ บิดเก
๒ . ๑ . ๖ มือ หรือ เท้า
๒ . ๑ . ๖ . ๑ บิดเก
๒ . ๑ . ๖ . ๒ นิ้วมือ หรือนิ้วเท้าด้วนถึงโคนเล็บ
๒ . ๑ . ๖ . ๓ นิ้วมือ หรือนิ้วเท้ามีจำนวนเกินกว่า หรือน้อยกว่าปกติ
๒ . ๑ . ๖ . ๔ นิ้วบิดเก และทำงานไม่ถนัด
๒ . ๑ . ๖ . ๕ ช่องระยะนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าติดกัน
๒ . ๑ . ๗ ร่างกายผิดรูปจนดูน่าเกลียด
 ๒ . ๒ กระดูก และกล้ามเนื้อ
 ๒ . ๒ . ๑ ข้อเคลื่อนไหวไม่สะดวก จนทำให้อวัยวะที่ติดต่อกับข้อนั้น ๆ ใช้การได้ไม่ดี
๒ . ๒ . ๒ ข้อหลวมหลุดบ่อย ๆ
๒ . ๒ . ๓ ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป
๒ . ๒ . ๔ คอเอียง หรือแข็งทื่อเนื่องจากกระดูก หรือกล้ามเนื้อพิการ
๒ . ๒ . ๕ กระดูกสันหลังคด หรือโกง หรือแอ่น
๒ . ๒ . ๖ เท้าปุก (Club foot)
๒ . ๒ . ๗ กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)
๒ . ๒ . ๘ กระดูกหักต่อไม่ติด หรือ ติดแล้วแต่มีความพิการผิดรูป
๒ . ๒ . ๙ กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเหี่ยวลีบ หรือดีสโทรฟี (Dystrophy)

 ๒ . ๓ ผิวหนัง
๒ . ๓ . ๑ โรคผิวหนังทุกชนิดซึ่งเป็นเรื้อรังยากต่อการรักษาหรือเป็นที่น่ารังเกียจต่อผู้อื่น
๒ . ๓ . ๒ สิวบริเวณหน้า คอ หรือลำตัว ซึ่งเป็นมากจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๓ . ๓ แผลเรื้อรังของผิวหนัง ซึ่งยากต่อการรักษา
๒ . ๓ . ๔ แผลเป็น หรือปานที่หน้ามีเนื้อที่ตั้งแต่ ๑ / ๔ ของใบหน้าขึ้นไป หรือมี ความยาวมากจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๓ . ๕ เนื้องอก (Neoplasm) ที่หน้ามีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๕ ซม . ขึ้นไป
๒ . ๓ . ๖ แผลเป็น ไฝ ปาน รอยสัก หูด (Wart) หรือ ซีสต์ (Cyst) ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีขนาดใหญ่หรือมากจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๓ . ๗ คนเผือก (Albino)
๒ . ๓ . ๘ เนื้องอกเล็ก ๆ เป็นปุ่ม ๆ ที่ผิวหนังทั่วร่างกาย (Molluscum fibrosum)
 ๒ . ๔ ตา
๒ . ๔ . ๑ ตาเข (Squint) จนปรากฏได้ชัด
๒ . ๔ . ๒ ต้อกระจก (Cataract)
๒ . ๔ . ๓ แผลเป็นที่กระจกตา หรือกระจกตาขุ่น (Corneal scar or opacity of cornea)
๒ . ๔ . ๔ ลูกตาสั่น (Nystagmus)
๒ . ๔ . ๕ หนังตาตก (Ptosis) หรือหนังตาม้วนออกนอก (Ectropion) หรือหนังตาม้วนเข้า (Entropion)
๒ . ๔ . ๖ สายตาผิดปกติ
๒ . ๔ . ๗ ตาบอดสี
๒ . ๔ . ๘ ขนตาย้อยเข้าข้างในหรือย้อยออกข้างนอก (Trichiasis or districhiasis)
๒ . ๔ . ๙ หนังตาแหว่งจนเสียรูป
๒ . ๔ . ๑๐ ขอบหนังตาอักเสบมาก หรือเรื้อรัง
๒ . ๔ . ๑๑ หนังตาปิดไม่สนิท
๒ . ๔ . ๑๒ ซีสต์ของหนังตา
๒ . ๔ . ๑๓ ถุงน้ำตาอักเสบมาก หรือเรื้อรัง
๒ . ๔ . ๑๔ เยื่อตาอักเสบมาก หรือเรื้อรัง
๒ . ๔ . ๑๕ ริดสีดวงตา (Trachoma)
๒ . ๔ . ๑๖ ต้อเนื้อซึ่งงอกเข้าไปในลูกตาดำเกินกว่า ๑ ม . ม .
๒ . ๔ . ๑๗ ตาโปน (Exophthalmos) จนเห็นได้ชัดแลดูน่าเกลียด
๒ . ๔ . ๑๘ กระจกตาอักเสบเรื้อรัง (Chronic Keratitis)
๒ . ๔ . ๑๙ ต้อหิน (Glaucoma)
๒ . ๔ . ๒๐ ช่องหนังตา (Palpebral fissure) กว้างไม่เท่ากันจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๕ หู คอ จมูก
๒ . ๕ . ๑ ใบหูผิดขนาด หรือ ผิดรูปจนปรากฏชัด
๒ . ๕ . ๒ ช่องหูชั้นนอกอักเสบอย่างเรื้อรัง หรือช่องหูชั้นกลางอักเสบ
๒ . ๕ . ๓ เยื่อหูบุ๋มหวำ (Retracted ear drum) มากจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
๒ . ๕ . ๔ เยื่อหูทะลุ
๒ . ๕ . ๕ การได้ยินเสียงของหูผิดปกติ
๒ . ๕ . ๖ กระดูกมาสตอยส์อักเสบ
๒ . ๕ . ๗ เคยผ่าตัดกระดูกมาสตอยส์ออกทั้งหมด (Radical Mastoidectomy)
๒ . ๕ . ๘ การพูดผิดปกติทั้งเสียง และการเคลื่อนไหวของริมฝีปาก
๒ . ๕ . ๙ ความพิการที่ทำให้ลำคอทำงานไม่ได้ตามปกติ
๒ . ๕ . ๑๐ เพดานโหว่ หรือ เพดานสูงจนพูดไม่ชัด
๒ . ๕ . ๑๑ ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังและโตมาก
๒ . ๕ . ๑๒ จมูกบี้จนผิดปกติ หรือจมูกบี้เล็กน้อยและพูดไม่ชัด
๒ . ๕ . ๑๓ จมูกโหว่ ไม่มีโครง
๒ . ๕ . ๑๔ ฝากั้นช่องจมูกคด หรือมีกระดูกยื่น หรืองอก (Septal deviation Spurs and Ridges) หรือจมูกอักเสบชนิดโตขึ้น (Hypertrophic rhinitis) ทั้งหมดนี้จะต้องมีความผิดปกติมากกว่าครึ่งหนึ่งของช่องจมูก
๒ . ๕ . ๑๕ ฝากั้นช่องจมูกทะลุ
๒ . ๕ . ๑๖ เยื่อจมูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic rhinitis)
๒ . ๕ . ๑๗ เนื้องอกในจมูก (Nasal polyp)
๒ . ๕ . ๑๘ โพรงกระดูกข้างจมูกอักเสบ (Paranasal sinusitis)
๒ . ๖ ฟัน
๒ . ๖ . ๑ มีฟันไว้เคี้ยวอาหารได้ไม่ครบตามหลักเกณฑ์ คือ กำหนดให้มีฟันกราม (Molars) และฟันกรามน้อย (Premolars) อย่างน้อยข้างบน ๖ ซี่ ข้างล่าง ๖ ซี่ ฟันหน้า (Incisors and canines) ข้างบน ๔ ซี่ ข้างล่าง ๔ ซี่ ฟันที่ถอนไปแล้วหากได้รับการใส่เรียบร้อยมั่นคงหรือด้วยวิธีทำสะพาน (Bridge) จึงให้นับเป็นจำนวนซี่ได้ตามจำนวนดังกล่าวข้างต้น จะต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
๒ . ๖ . ๑ . ๑ ฟันเป็นรูผุที่ไม่ได้รับการอุด หรืออุดด้วยวัตถุที่ไม่ถาวร
๒ . ๖ . ๑ . ๒ ฟันที่อุดหรือทำครอบไม่เรียบร้อย
๒ . ๖ . ๑ . ๓ ฟันน้ำนม
๒ . ๖ . ๑ . ๔ ฟันตาย เว้นแต่คลองประสาทได้รับการอุดที่ถูกต้องแล้ว
๒ . ๖ . ๑ . ๕ ฟันยาวผิดปกติ หรือขึ้นผิดที่ หรือเกจนไม่สามารถที่จะจัดให้สบกันได้กับฟันธรรมดา หรือฟันปลอม
๒ . ๖ . ๑ . ๖ มีการทำลายอย่างรุนแรงของอวัยวะที่รับรองตัวฟัน เช่น กระดูก เหงือก เยื่อหุ้มรากฟัน
๒ . ๖ . ๒ มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าห่างจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๖ . ๓ การขบของฟันที่ผิดปกติอย่างมากจนทำให้ใบหน้าผิดรูป หรือการเคี้ยวอาหารธรรมดาไม่ได้ผล
๒ . ๖ . ๔ ถุงน้ำ (Cysts) การอักเสบที่เรื้อรัง โรคเหงือกอักเสบอย่างรุนแรง หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ ในปาก เช่น ฟันคุด ฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือฟันที่ขึ้นผิดที่ ซึ่งสภาพการเช่นนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะ ข้างเคียง หรือสุขภาพของผู้สมัคร
๒ . ๗ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด
๒ . ๗ . ๑ หัวใจเต้นเร็วกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที หรือช้ากว่า ๕๐ ครั้งต่อนาที หรือมี เอ . วี . บล็อก (A.V.Block) หรือเต้นผิดปกติชนิดออริคิวล่าร์ไฟบริลเลชั่น หรือออริคิวล่าร์ฟลัทเตอร์ (Auricular Fibrillation or Auricular flutter)
๒ . ๗ . ๒ ความดันเลือดสูงกว่า ๑๔๐ / ๙๐ มม . ของปรอท หรือต่ำกว่า ๑๐๐ / ๕๐ มม . ของปรอท
๒ . ๗ . ๓ ลักษณะแสดงทาง อี . ซี . จี . ( คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ) ผิดปกติ
๒ . ๗ . ๔ หัวใจมีขนาดโตมากผิดปกติ
๒ . ๗ . ๕ หัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart diseases)
๒ . ๗ . ๖ หัวใจวาย และมีเลือดคั่ง (Congestive heart failure)
๒ . ๗ . ๗ ลิ้นหัวใจพิการ
๒ . ๗ . ๘ อนิวริซึม (Aneurysm of Aorta) ของหลอดเลือดใหญ่
๒ . ๗ . ๙ หลอดเลือดดำขอดอยู่ที่ถุงอัณฑะ ขา หรือ แขน ซึ่งเป็นมากจนเห็นได้ชัด
๒ . ๘ ระบบหายใจ
๒ . ๘ . ๑ หลอดลมอักเสบ ซึ่งกำลังปรากฏอาการฟังได้ชัดเจน
๒ . ๘ . ๒ หลอดลมอักเสบเรื้อรังพร้อมกับมีถุงลมในปอดพอง (Chronic-bronchitis with emphysema)
๒ . ๘ . ๓ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
๒ . ๘ . ๔ หลอดลมขยายพอง (Bronchiectasis)
๒ . ๘ . ๕ มีน้ำหรือมีหนอง หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
๒ . ๘ . ๖ วัณโรคปอด (Pulmonary tuberculosis)
๒ . ๘ . ๗ ปอดอักเสบหรือมีพยาธิสภาพอื่น ๆ
๒ . ๘ . ๘ หืด (Bronchial asthma)
๒ . ๙ ระบบทางเดินอาหาร
๒ . ๙ . ๑ ฟิสตูล่า (Fistula) หรือไซนัส (Sinus) ที่ผนังท้อง
๒ . ๙ . ๒ ไส้เลื่อนทุกชนิด
๒ . ๙ . ๓ ตับหรือม้ามโต ซึ่งตรวจพบโดยการใช้มือคลำ
๒ . ๙ . ๔ ตับแข็ง (Cirrhosis of liver)
๒ . ๙ . ๕ ฝีที่ตับ (Abscess of liver)
๒ . ๙ . ๖ ดีซ่าน
๒ . ๙ . ๗ ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นได้ชัด
๒ . ๙ . ๘ ทวารหนักอักเสบหรือส่วนสุดท้ายของลำไส้ปลิ้นออกมานอกทวารหนัก
๒ . ๙ . ๙ ฝีคัณฑสูตร
๒ . ๑๐ ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งกามโรค
๒ . ๑๐ . ๑ ไต กรวยไต อักเสบ หรือเสื่อม หรือหย่อน หรือพอง
๒ . ๑๐ . ๒ นิ่ว
๒ . ๑๐ . ๓ ผลการตรวจปัสสาวะมีไข่ขาว (Albumin) หรือน้ำตาล
๒ . ๑๐ . ๔ องคชาติถูกตัดหรือขาด
๒ . ๑๐ . ๕ อัณฑะไม่ลงมาที่ถุงอัณฑะหรือถูกตัดออก
๒ . ๑๐ . ๖ ถุงน้ำที่ลูกอัณฑะ (Hydrocele)
๒ . ๑๐ . ๗ อัณฑะอักเสบ (Orchitis) หรือท่ออสุจิอักเสบ (Epididymitis)
๒ . ๑๐ . ๘ อัณฑะเหี่ยวหด (Atrophy of testis)
๒ . ๑๐ . ๙ กามโรค
๒ . ๑๐ . ๑๐ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการวินิจฉัยว่าเป็นกามโรค
๒ . ๑๐ . ๑๑ กระเทย (Hermaphrodism)
๒.๑๑ ระบบประสาท ( Neurological System)
๒.๑๑.๑ ความสามารถในการพูดพกพร่อง ( Aphasia)
๒.๑๑.๒ อัมพาต หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ
๒.๑๑.๓ โรคลมชัก ( Epilepsy)
๒ . ๑๒ ระบบจิต (Psychiatric and Psychology Aspects)
๒ . ๑๒ . ๑ โรคประสาท ( Neurosis)
๒ . ๑๒ . ๒ โรคจิต (Psychosis)
๒ . ๑๒ . ๓ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ( Personality Disorder)
๒ . ๑๒ . ๔ โรคทางอารมณ์ ( Mood Disorder)
๒ . ๑๓ เบ็ดเตล็ด
๒ . ๑๓ . ๑ โรคที่เกี่ยวกับแพ้สาร โรคต่อมไร้ท่อ โรคที่เกี่ยวกับเมตาโปลิซึม และโรคที่เกี่ยวกับโภชนาการ (Allergy, Endocrine system,Metabolic and nutritional diseases)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๑ ธัยโรทอกซิโคซิส ไม่ว่าจะมีคอพอกด้วยหรือไม่ (Thyrotoxicosis with or without goitre)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๒ โรคคอพอก (Simple goitre)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๓ มิกซิเดมา (Myxedema)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๔ เบาหวาน (Diabetes mellitus)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๕ อะโครเมกาลี (Acromegaly)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๖ โรคอ้วนพี (Obesity) หรือดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า ๓๐
๒ . ๑๓ . ๒ โรคของเลือดและอวัยวะก่อกำเนิดเลือด (Diseases of blood and blood forming organs) ผิดปกติอย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย
๒ . ๑๓ . ๓ โรคติดเชื้อหรือโรคเกิดจากปาราสิต (Infectious and Parasitic diseases)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๑ โรคเรื้อน (Leprosy)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๒ ฟิลาริเอซิส (Filariasis)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๓ โรคคุดทะราด หรือรองพื้น (Yaws)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๔ โรคติดต่ออันตราย
๒ . ๑๓ . ๔ เนื้องอก (Neoplasm)
๒ . ๑๓ . ๔ . ๑ เนื้องอกไม่ร้ายที่มีขนาดใหญ่
๒ . ๑๓ . ๔ . ๒ เนื้องอกร้ายไม่ว่าจะเป็นแก่อวัยวะใด (Malignant neoplasm of any organ)
๒ . ๑๓ . ๕ โรคของต่อมน้ำเหลือง
๒ . ๑๔ โรคติดยาเสพติด
๒ . ๑๕ โรคเอดส์ (AIDS) ผลการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ให้ผลเป็นบวก
๒ . ๑๖ โรคหรือความพิการใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ แต่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าไม่สมควรรับเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ดังนี้
๒ . ๑๖ . ๑ ทำผ่าตัดกระจกตาเพื่อแก้ไขความผิดปกติของสายตาโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม
เช่น Lasik, PRK ฯลฯ
๒ . ๑๖ . ๒ ผลการตรวจเลือดหาเชื้อตับอักเสบบีให้ผลเป็นบวก
๒ . ๑๖ . ๓ โลหิตจาง Hemoglobin ต่ำกว่า ๑๐ g/dl หรือ Hematocrit ไม่ต่ำกว่า ๓๓ %
๒.๑๗ ความผิดปกติใด ๆ ที่คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์มีความเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะรับเข้า เป็นนักเรียนเตรียมทหาร