Monday, October 15, 2012

การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร

การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร
 
การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ ดังนี้
 
            ๑ การสอบรอบแรก เป็นการสอบภาควิชาการ วิชาที่สอบได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยา ศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษาตามหลักสูตรไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๓ (ม. ๓) ของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดดังนี้
๑.๑ วิชาคณิตศาสตร์ (คะแนนเต็ม ๒๕๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๒ วิชาวิทยาศาสตร์ (คะแนนเต็ม ๒๕๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๓ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
๑.๔ วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น
            โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะคัดเลือกผู้ที่สอบภาควิชาการผ่าน โดยคัดเลือกจาก ผู้ที่ได้คะแนนภาควิชาการรวมสูงสุดมาตามลำดับไว้จำนวนหนึ่ง แล้วประกาศราย ชื่อเพื่อให้เข้าสอบรอบสองต่อไป
 
            ๒ การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติ ทดสอบบุคลิกภาพ สอบ พลศึกษา สอบสัมภาษณ์ และวัดขนาดร่างกาย มีรายละเอียดดังนี้
๒.๑ การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ
ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่าง กาย ตามสถานที่ วัน เวลา ที่จะประกาศให้ทราบ ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิผลการ ตรวจร่างกาย ถือความเห็นของคณะกรรมการคัดเลือกเป็นเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณา ผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจ หรือได้รับใบรับรองผลการตรวจโรค จากที่อื่นมาแสดง     นอกจากการตรวจร่างกายแล้วจะมีการฉาย X – RAY ตรวจ โลหิต ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ ผู้สมัครจะต้องชำระค่าตรวจร่างกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด ในกรณีที่ แพทย์ต้องการตรวจพิเศษ นอกเหนือจากการตรวจธรรมดาผู้รับการตรวจจะต้องออกค่า ใช้จ่ายเอง
สำหรับเหล่าตำรวจ ในวันตรวจร่างกายจะทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้สมัคร เพื่อตรวจสอบประวัติไป ยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยังต้องตรวจสอบไปยัง สถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่อีกทางหนึ่งด้วย หากผู้ใดมี ประวัติเคยถูกลงโทษหรือความประพฤติไม่ดีตามที่กำหนดไว้ในเรื่องของ คุณสมบัติ จะถูกตัดสิทธิไม่ให้เป็นผู้สอบคัดเลือกได้
 
คำเตือน
(๑) ในตอนเช้าวันตรวจร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารหวานจัด เพราะอาจทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
(๒) ก่อนตรวจร่างกาย ห้ามรับประทานยาแก้ไอทุกชนิด หรือยากระตุ้นกำลัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางหัวใจ และหลอดเลือดได้
(๓) ห้ามผู้สมัครใส่ CONTACT - LENS ไปตรวจสายตา
 
๒.๒ การทดสอบบุคลิกภาพ ไม่มีคะแนนถือเกณฑ์ ได้ ตก โดยใช้แบบทดสอบที่คณะอนุกรรมการกำหนด
๒.๓ การสอบพลศึกษา    เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย   มีคะแนนเต็ม (แต่ละเหล่าไม่เท่ากัน) คะแนนที่ได้จะให้ลดหลั่นกันลงตามลำดับ ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับการทดสอบในแต่ละประเภทที่ผู้สอบปฏิบัติได้สำเร็จหรือจำนวนครั้งที่ ปฏิบัติ สำหรับผู้ที่ได้คะแนนรวมจาการทดสอบทุกประเภทต่ำกว่าที่แต่ละเหล่า กำหนด หรือสอบว่ายน้ำ ๕๐ เมตร หรือวิ่ง 
,๐๐๐ เมตร ไม่ ถึงหรือทำเวลาไม่ได้ตามที่กำหนดถือว่าสอบตกให้คัดออก (คะแนนผลการสอบพลศึกษา จะไม่นำไปรวมกับคะแนนการสอบข้อเขียน   ยกเว้น เหล่าทหารบก ที่จะคิดคะแนนรอบสองเป็น 10% ของคะแนนทั้งหมด)
ผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุก ประเภท ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่ง ถือว่าสอบตกและจะตัดสิทธิไม่รับเข้า เป็นนักเรียนเตรียมทหาร โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน 
 
ประเภทที่สอบและเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้
 
(๑) ดึงข้อราวเดี่ยว
ท่าเตรียม ให้ผู้ทดสอบจับราวเดี่ยวแบบมือคว่ำกำรอบ ปล่อยตัวให้ตรงจนแขน ลำตัว และขาเหยียดตรง
ท่าปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบทำท่าต่อจากท่า เตรียม โดยงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว แล้วปล่อยตัวลงสู่ท่า เตรียม กระทำติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุด ห้ามแกว่งหรือเตะ ขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที หรือไม่สามารถดึงขึ้นพ้นราวได้ ๒ ครั้งติดต่อกัน หรือดึงขึ้นไม่ พ้น ให้หยุดทำการทดสอบ
ถ้าทำได้             ๒๐ ครั้ง             จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้                 ๗ ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
(๒) ลุกนั่ง ๓๐ วินาที
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบนอนหงาย เข่าทั้งสอง งอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ ฝ่ามือทั้งสองประสานกันที่ ท้ายทอย ผู้ช่วยคุกเข่าบนปลายเท้าของผู้ทดสอบโดยเอามือทั้งสองกดข้อเท้าของ ผู้ทดสอบไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น
ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ให้ ผู้ทดสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขนทั้ง สองแตะกับเข่าแล้วกลับลงนอนสู่ท่าเตรียมจนศอกแตะกับพื้น ทำเช่นนี้ติดต่อกัน ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดภายใน ๓๐ วินาที ในขณะปฏิบัตินิ้วมือประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ ท่านั่งห้ามเอนตัวไปมา
ถ้าทำได้             ๒๕ ครั้ง             จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้             ๑๙    ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
 
(๓) ยึดพื้นหรือดันข้อ
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบนอนคว่ำมือยันพื้น แขนทั้งสองเหยียดตรงห่างกันพอประมาณ ลำตัวเหยียดตรงปลายเท้าจรดพื้นเงยศีรษะขึ้น
ท่าปฏิบัติ ผู้ทดสอบทำต่อจากท่า เตรียม โดยยุบแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้บริเวณหน้าอกแตะพื้น แล้วดันลำตัว ขึ้นกลับสู่ท่าเตรียม ทำเช่นนี้ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ห้ามทำตัว แอ่น หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือแขนทั้งสองข้างขึ้นไม่พร้อมกัน หรือ หยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที หรือไม่สามารถดันขึ้นสู่ท่าเตรียมเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที ให้หยุดการทดสอบ
ถ้าทำได้             ๕๔ ครั้ง              จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้             ๒๗ ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
 
(๔) วิ่งระยะสั้น (๕๐ เมตร)
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่มในสู่วิ่งของตนเองพร้อมจะปฏิบัติ
ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งอย่างเร็วออกจากเส้นเริ่มจนผ่านเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน           ๕.๕ วินาที           จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                   ๗      วินาที          จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
 
(๕) วิ่งระยะไกล (๑,๐๐๐ เมตร)
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม เตรียมตัวปฏิบัติ
ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งจากเส้นเริ่มไปตามทางวิ่งจนสิ้นสุดระยะทางโดยผ่านเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน           ๓.๑๘   วินาที        จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                   ๔.๓๒ วินาที        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า ๕ นาที ๒๒ วินาที   หรือวิ่งไม่ถึง จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพลศึกษาตก
 
(๖) ยืนกระโดดไกล 
ท่าเตรียม ผู้สอบยืนบนพื้นที่เรียบหลังเส้นกระโดด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น หันหน้าไปทางทิศทางที่จะกระโดด
ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้เริ่ม ปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุด (โดยใช้การแกว่ง แขนช่วย) วัดระยะทางการกระโดดจากเส้นกระโดดไปยังจุดที่ส้นเท้าลงบนพื้นไกล เส้นเริ่มต้นมากที่สุด
ถ้ากระโดดได้ไกล           ๒.๕     เมตร         จะได้คะแนนเต็ม
ถ้ากระโดยได้ไกล           ๒.๒๕ เมตร        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
 
(๗) ว่ายน้ำ ๕๐ เมตร
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนที่ขอบสระพร้อมจะปฏิบัติ
ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ ทดสอบพุ่งตัวลงสระว่ายน้ำแล้วว่ายโดยเร็ว จนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย การ เข้าเส้นชัย ถือเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระที่เป็นเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน          ๔๐  วินาที           จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                  ๕๔ วินาที           จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ที่สอบว่ายน้ำทำเวลาเกิน กว่า ๑ นาที ๒๐ วินาที หรือว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย จะไม่รวมคะแนนการสอบ พลศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพลศึกษาตก
 
(๘) วิ่งกลับตัว (วิ่งเก็บของ)ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม พร้อมจะปฏิบัติท่า ปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบวิ่งอย่างเร็วจากเส้นเริ่มไปหยิบท่อน ไม้ ท่อนที่ ๑ ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมรัศมี ๑ ฟุต กลับมาวางภายในวงกลมหลังเส้น เริ่ม (ห้ามโยนท่อนไม้ ถ้าวางไม่เข้าวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่) แล้วกลับตัว วิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่ ๒ แล้ววิ่งกลับผ่านเส้นเริ่มต้นไปโดยไม่ต้องวาง ไม้ท่อนที่ ๒ ลง
ถ้าทำเวลาได้ภายใน              ๙.๕ วินาที         จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้ภายใน           ๑๑       วินาที        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
 
๒.๔ การวัดขนาดร่างกายและสอบ สัมภาษณ์ เป็นการพิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความ องอาจ ว่องไวและปฏิภาณไหวพริบ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ผลการสอบถือเกณฑ์ ได้” หรือ ตก” เท่า นั้นไม่มีคะแนน ผู้ที่สอบตกหมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการทหาร-ตำรวจชั้นสัญญาบัตร   และจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารโดยไม่คำนึงถึงคะแนนสอบข้อ เขียน
ในวันสอบสัมภาษณ์จะทำการวัดขนาดร่างกายของผู้สมัครด้วย  หากผู้สมัครมีร่างกายไม่ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ จะหมดสิทธิสอบสัมภาษณ์ทันที
 
การเตรียมตัวสอบ
 
            ๑ การสอบข้อเขียน
๑.๑ จะต้องจดจำรหัสประจำตัวสอบ แผนผังที่นั่งสอบ และควรไปดูสถานที่สอบไว้ล่วงหน้า
๑.๒ ผู้เข้าสอบจะต้องแต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย และต้องไปให้ตรงตามเวลาที่นัดหมาย เพื่อรอเรียกเข้าห้องสอบ หาก เรียกเข้าห้องสอบและลงมือสอบไปแล้ว ผู้ใดที่ไปไม่ทันเวลาเริ่มลงมือสอบจะไม่ ให้เข้าห้องสอบอย่างเด็ดขาด จะอ้างเหตุความจำเป็นใด ๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น
๑.๓ ปัญหาข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือก ตอบ และตรวจข้อสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้สมัครจะต้องเตรียมปากกาหมึกสี ดำหรือสีน้ำเงิน ดินสอดำชนิดอ่อนเบอร์ 2B    ยางลบดินสอและอุปกรณ์สำหรับเหลาดินสอ เพื่อใช้ในการสอบ
๑.๔ นำบัตรประจำตัวสอบ พร้อมบัตรประจำ ตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่ติดรูปถ่ายของผู้ สมัคร เช่น บัตรประจำตัวนักเรียนหรือบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือใบขับ ขี่ เป็นต้น ไปแสดงควบคู่กันเพื่อเข้าสอบ และกรณีทำบัตรประจำตัวสอบหายจะต้องนำใบคำร้องแจ้งหายหรือสำเนาประจำวันของ สถานีตำรวจที่ผู้สมัครแจ้งหายไปแสดงยังกองอำนวยการคุมสอบก่อนเวลาสอบไม่น้อย กว่า ๒ ชั่วโมง เพื่อขอออกบัตรแทน (ต้องนำมาแสดงทุกขั้นตอนของการสอบ)... ข้อมูลจากร.ร.เตรียมทหาร

No comments:

Post a Comment