Wednesday, January 9, 2013

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

         ๑.  สอบผ่านทุกรายวิชา ตามที่กำหนดในแผนการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม.๓) หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
         ๒. อายุไม่ต่ำกว่า ๑๔ ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ๑๗ ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
         ๓. มีสัญชาติไทย และบิดา – มารดา ผู้ให้กำเนิด ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหาร นายตำรวจสัญญาบัตรหรือนายทหาร นายตำรวจประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้วมารดาจะไม่ใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ ได้
         ๔. มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทางเหมาะสมแก่การเป็นทหาร – ตำรวจ ไม่มีโรคที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และตามที่กองบัญชาการทหารสูงสุดกำหนดไว้
         ๕. ขนาดของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดความสมบูรณ์ ตามตารางที่กำหนดไว้ในระเบียบการทั่วไปโดยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ดังนี้
นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก
อายุ               ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                       ความสูงเป็น ซ.ม.    น้ำหนักเป็น ก.ก.
                    หายใจเข้า             หายใจออก     
๑๔ – ๑๕              ๗๕                   ๗๒                              ๑๕๗                          ๔๕
๑๖                      ๗๖                   ๗๓                              ๑๕๘                           ๔๖
๑๗                     ๗๗                   ๗๔                              ๑๕๙                           ๔๗

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ
อายุ            ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                       ความสูงเป็น ซ.ม.     
น้ำหนักเป็น ก.ก.                    
                    หายใจเข้า          หายใจออก     
๑๔ – ๑๕            ๗๕                    ๗๒                              ๑๖๐                            ๔๒
๑๖                    ๗๖                    ๗๓                              ๑๖๐                            ๔๔
๑๗                   ๗๗                    ๗๔                              ๑๖๐                            ๔๖

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ
อายุ             ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                  ความสูงเป็น ซ.ม.          
น้ำหนักเป็น ก.ก.                    
                     หายใจเข้า          หายใจออก     
๑๔ – ๑๕             ๗๕                  ๗๒                                ๑๕๕                          ๔๒
๑๖                     ๗๖                  ๗๓                                ๑๕๖                          ๔๔
๑๗                     ๗๗                 ๗๔                               ๑๕๘                           ๔๖

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
อายุ             ความขยายของอกเป็น ซ.ม. เมื่อ                    ความสูงเป็น ซ.ม.        
น้ำหนักเป็น ก.ก.                  
                     หายใจเข้า            หายใจออก     
๑๔ – ๑๕              ๗๕                  ๗๒                              ๑๕๗                           ๔๕
๑๖                      ๗๖                   ๗๓                             ๑๕๘                           ๔๖
๑๗                      ๗๗                  ๗๔                             ๑๕๙                           ๔๗                     
         ๖. เป็นชายโสด
         ๗. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่บกพร่องในศีลธรรม เลื่อมในในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
         ๘. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หรือไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาลว่าได้กระทำความผิดในคดีอาญา เว้นแต่ความผิดในลักษณะฐานลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
         ๙. ไม่อยู่ในระหว่างพักราชการ เนื่องจากความผิดหรือหนีราชการ
         ๑๐. ไม่เคยถูกไล่ออก หรือถูกปลดออกจากสถานีศึกษา ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนทหาร โรงเรียนตำรวจ หรือถูกทางราชการไล่ออกหรือปลดออก ทั้งนี้เนื่องจากความผิด
         ๑๑. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพย์ติด หรือสารเคมีเสพย์ติดให้โทษที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
         ๑๓. ต้องไม่มีพันธกรณีผูกผันกับส่วนราชการใด ๆ อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
         ๑๔. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ๑๕. มีผู้ปกครองและผู้รับรองซึ่งสามารถรับรองข้อความและพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
หมายเหตุ
         คุณลักษณะและลักษณะดังกล่าวในข้อ ๑. – ๑๕. หากปรากฎว่าเป็นความเท็จขึ้นภายหลังรับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว จะต้องพันจากฐานะนักเรียนเตรียมทหารทันที

ผู้ไม่มีสิทธิสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
       ๑  ไม่มีคุณสมบัติ  และลักษณะครบถ้วนตามที่ระบุไว้ใน  ข้อ  ๒
       ๒  ผู้ที่เคยทุจริตในการสมัครหรือในการสอบคัดเลือกมาแล้ว
       ๓  ผู้ที่ออกจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหารเพราะความประพฤติบกพร่องหรือลาออก

โรคและความพิการที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
         ผู้สมัครเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร  จะต้องไม่มีโรคและความพิการ  ดังต่อไปนี้
๒.ไม่มีโรคและความพิการดังต่อไปนี้
๒ . ๑ ร่างกายผิดปกติ หรือพิกลรูป หรือพิการ
๒ . ๑ . ๑ ศีรษะ และใบหน้าผิดรูปจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๑ . ๒ ผมบางหรือผมร่วงจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๑ . ๓ รูปวิปริตต่าง ๆ (Malformation) ของริมฝีปาก หรือจมูก เช่น ปาก หรือ จมูกแหว่ง ริมฝีปากแบะ หรือเชิดจนน่าเกลียด หรือหุบลง
๒ . ๑ . ๔ ซอกคอหรือซอกรักแร้ติดกัน
๒ . ๑ . ๕ แขน ขา
๒ . ๑ . ๕ . ๑ ยาวไม่เท่ากัน หรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด
๒ . ๑ . ๕ . ๒ โค้งเข้าหรือออก
๒ . ๑ . ๕ . ๓ บิดเก
๒ . ๑ . ๖ มือ หรือ เท้า
๒ . ๑ . ๖ . ๑ บิดเก
๒ . ๑ . ๖ . ๒ นิ้วมือ หรือนิ้วเท้าด้วนถึงโคนเล็บ
๒ . ๑ . ๖ . ๓ นิ้วมือ หรือนิ้วเท้ามีจำนวนเกินกว่า หรือน้อยกว่าปกติ
๒ . ๑ . ๖ . ๔ นิ้วบิดเก และทำงานไม่ถนัด
๒ . ๑ . ๖ . ๕ ช่องระยะนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าติดกัน
๒ . ๑ . ๗ ร่างกายผิดรูปจนดูน่าเกลียด
 ๒ . ๒ กระดูก และกล้ามเนื้อ
 ๒ . ๒ . ๑ ข้อเคลื่อนไหวไม่สะดวก จนทำให้อวัยวะที่ติดต่อกับข้อนั้น ๆ ใช้การได้ไม่ดี
๒ . ๒ . ๒ ข้อหลวมหลุดบ่อย ๆ
๒ . ๒ . ๓ ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป
๒ . ๒ . ๔ คอเอียง หรือแข็งทื่อเนื่องจากกระดูก หรือกล้ามเนื้อพิการ
๒ . ๒ . ๕ กระดูกสันหลังคด หรือโกง หรือแอ่น
๒ . ๒ . ๖ เท้าปุก (Club foot)
๒ . ๒ . ๗ กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)
๒ . ๒ . ๘ กระดูกหักต่อไม่ติด หรือ ติดแล้วแต่มีความพิการผิดรูป
๒ . ๒ . ๙ กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเหี่ยวลีบ หรือดีสโทรฟี (Dystrophy)

 ๒ . ๓ ผิวหนัง
๒ . ๓ . ๑ โรคผิวหนังทุกชนิดซึ่งเป็นเรื้อรังยากต่อการรักษาหรือเป็นที่น่ารังเกียจต่อผู้อื่น
๒ . ๓ . ๒ สิวบริเวณหน้า คอ หรือลำตัว ซึ่งเป็นมากจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๓ . ๓ แผลเรื้อรังของผิวหนัง ซึ่งยากต่อการรักษา
๒ . ๓ . ๔ แผลเป็น หรือปานที่หน้ามีเนื้อที่ตั้งแต่ ๑ / ๔ ของใบหน้าขึ้นไป หรือมี ความยาวมากจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๓ . ๕ เนื้องอก (Neoplasm) ที่หน้ามีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๕ ซม . ขึ้นไป
๒ . ๓ . ๖ แผลเป็น ไฝ ปาน รอยสัก หูด (Wart) หรือ ซีสต์ (Cyst) ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีขนาดใหญ่หรือมากจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๓ . ๗ คนเผือก (Albino)
๒ . ๓ . ๘ เนื้องอกเล็ก ๆ เป็นปุ่ม ๆ ที่ผิวหนังทั่วร่างกาย (Molluscum fibrosum)
 ๒ . ๔ ตา
๒ . ๔ . ๑ ตาเข (Squint) จนปรากฏได้ชัด
๒ . ๔ . ๒ ต้อกระจก (Cataract)
๒ . ๔ . ๓ แผลเป็นที่กระจกตา หรือกระจกตาขุ่น (Corneal scar or opacity of cornea)
๒ . ๔ . ๔ ลูกตาสั่น (Nystagmus)
๒ . ๔ . ๕ หนังตาตก (Ptosis) หรือหนังตาม้วนออกนอก (Ectropion) หรือหนังตาม้วนเข้า (Entropion)
๒ . ๔ . ๖ สายตาผิดปกติ
๒ . ๔ . ๗ ตาบอดสี
๒ . ๔ . ๘ ขนตาย้อยเข้าข้างในหรือย้อยออกข้างนอก (Trichiasis or districhiasis)
๒ . ๔ . ๙ หนังตาแหว่งจนเสียรูป
๒ . ๔ . ๑๐ ขอบหนังตาอักเสบมาก หรือเรื้อรัง
๒ . ๔ . ๑๑ หนังตาปิดไม่สนิท
๒ . ๔ . ๑๒ ซีสต์ของหนังตา
๒ . ๔ . ๑๓ ถุงน้ำตาอักเสบมาก หรือเรื้อรัง
๒ . ๔ . ๑๔ เยื่อตาอักเสบมาก หรือเรื้อรัง
๒ . ๔ . ๑๕ ริดสีดวงตา (Trachoma)
๒ . ๔ . ๑๖ ต้อเนื้อซึ่งงอกเข้าไปในลูกตาดำเกินกว่า ๑ ม . ม .
๒ . ๔ . ๑๗ ตาโปน (Exophthalmos) จนเห็นได้ชัดแลดูน่าเกลียด
๒ . ๔ . ๑๘ กระจกตาอักเสบเรื้อรัง (Chronic Keratitis)
๒ . ๔ . ๑๙ ต้อหิน (Glaucoma)
๒ . ๔ . ๒๐ ช่องหนังตา (Palpebral fissure) กว้างไม่เท่ากันจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๕ หู คอ จมูก
๒ . ๕ . ๑ ใบหูผิดขนาด หรือ ผิดรูปจนปรากฏชัด
๒ . ๕ . ๒ ช่องหูชั้นนอกอักเสบอย่างเรื้อรัง หรือช่องหูชั้นกลางอักเสบ
๒ . ๕ . ๓ เยื่อหูบุ๋มหวำ (Retracted ear drum) มากจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
๒ . ๕ . ๔ เยื่อหูทะลุ
๒ . ๕ . ๕ การได้ยินเสียงของหูผิดปกติ
๒ . ๕ . ๖ กระดูกมาสตอยส์อักเสบ
๒ . ๕ . ๗ เคยผ่าตัดกระดูกมาสตอยส์ออกทั้งหมด (Radical Mastoidectomy)
๒ . ๕ . ๘ การพูดผิดปกติทั้งเสียง และการเคลื่อนไหวของริมฝีปาก
๒ . ๕ . ๙ ความพิการที่ทำให้ลำคอทำงานไม่ได้ตามปกติ
๒ . ๕ . ๑๐ เพดานโหว่ หรือ เพดานสูงจนพูดไม่ชัด
๒ . ๕ . ๑๑ ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังและโตมาก
๒ . ๕ . ๑๒ จมูกบี้จนผิดปกติ หรือจมูกบี้เล็กน้อยและพูดไม่ชัด
๒ . ๕ . ๑๓ จมูกโหว่ ไม่มีโครง
๒ . ๕ . ๑๔ ฝากั้นช่องจมูกคด หรือมีกระดูกยื่น หรืองอก (Septal deviation Spurs and Ridges) หรือจมูกอักเสบชนิดโตขึ้น (Hypertrophic rhinitis) ทั้งหมดนี้จะต้องมีความผิดปกติมากกว่าครึ่งหนึ่งของช่องจมูก
๒ . ๕ . ๑๕ ฝากั้นช่องจมูกทะลุ
๒ . ๕ . ๑๖ เยื่อจมูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic rhinitis)
๒ . ๕ . ๑๗ เนื้องอกในจมูก (Nasal polyp)
๒ . ๕ . ๑๘ โพรงกระดูกข้างจมูกอักเสบ (Paranasal sinusitis)
๒ . ๖ ฟัน
๒ . ๖ . ๑ มีฟันไว้เคี้ยวอาหารได้ไม่ครบตามหลักเกณฑ์ คือ กำหนดให้มีฟันกราม (Molars) และฟันกรามน้อย (Premolars) อย่างน้อยข้างบน ๖ ซี่ ข้างล่าง ๖ ซี่ ฟันหน้า (Incisors and canines) ข้างบน ๔ ซี่ ข้างล่าง ๔ ซี่ ฟันที่ถอนไปแล้วหากได้รับการใส่เรียบร้อยมั่นคงหรือด้วยวิธีทำสะพาน (Bridge) จึงให้นับเป็นจำนวนซี่ได้ตามจำนวนดังกล่าวข้างต้น จะต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
๒ . ๖ . ๑ . ๑ ฟันเป็นรูผุที่ไม่ได้รับการอุด หรืออุดด้วยวัตถุที่ไม่ถาวร
๒ . ๖ . ๑ . ๒ ฟันที่อุดหรือทำครอบไม่เรียบร้อย
๒ . ๖ . ๑ . ๓ ฟันน้ำนม
๒ . ๖ . ๑ . ๔ ฟันตาย เว้นแต่คลองประสาทได้รับการอุดที่ถูกต้องแล้ว
๒ . ๖ . ๑ . ๕ ฟันยาวผิดปกติ หรือขึ้นผิดที่ หรือเกจนไม่สามารถที่จะจัดให้สบกันได้กับฟันธรรมดา หรือฟันปลอม
๒ . ๖ . ๑ . ๖ มีการทำลายอย่างรุนแรงของอวัยวะที่รับรองตัวฟัน เช่น กระดูก เหงือก เยื่อหุ้มรากฟัน
๒ . ๖ . ๒ มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าห่างจนแลดูน่าเกลียด
๒ . ๖ . ๓ การขบของฟันที่ผิดปกติอย่างมากจนทำให้ใบหน้าผิดรูป หรือการเคี้ยวอาหารธรรมดาไม่ได้ผล
๒ . ๖ . ๔ ถุงน้ำ (Cysts) การอักเสบที่เรื้อรัง โรคเหงือกอักเสบอย่างรุนแรง หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ ในปาก เช่น ฟันคุด ฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือฟันที่ขึ้นผิดที่ ซึ่งสภาพการเช่นนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะ ข้างเคียง หรือสุขภาพของผู้สมัคร
๒ . ๗ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด
๒ . ๗ . ๑ หัวใจเต้นเร็วกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที หรือช้ากว่า ๕๐ ครั้งต่อนาที หรือมี เอ . วี . บล็อก (A.V.Block) หรือเต้นผิดปกติชนิดออริคิวล่าร์ไฟบริลเลชั่น หรือออริคิวล่าร์ฟลัทเตอร์ (Auricular Fibrillation or Auricular flutter)
๒ . ๗ . ๒ ความดันเลือดสูงกว่า ๑๔๐ / ๙๐ มม . ของปรอท หรือต่ำกว่า ๑๐๐ / ๕๐ มม . ของปรอท
๒ . ๗ . ๓ ลักษณะแสดงทาง อี . ซี . จี . ( คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ) ผิดปกติ
๒ . ๗ . ๔ หัวใจมีขนาดโตมากผิดปกติ
๒ . ๗ . ๕ หัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart diseases)
๒ . ๗ . ๖ หัวใจวาย และมีเลือดคั่ง (Congestive heart failure)
๒ . ๗ . ๗ ลิ้นหัวใจพิการ
๒ . ๗ . ๘ อนิวริซึม (Aneurysm of Aorta) ของหลอดเลือดใหญ่
๒ . ๗ . ๙ หลอดเลือดดำขอดอยู่ที่ถุงอัณฑะ ขา หรือ แขน ซึ่งเป็นมากจนเห็นได้ชัด
๒ . ๘ ระบบหายใจ
๒ . ๘ . ๑ หลอดลมอักเสบ ซึ่งกำลังปรากฏอาการฟังได้ชัดเจน
๒ . ๘ . ๒ หลอดลมอักเสบเรื้อรังพร้อมกับมีถุงลมในปอดพอง (Chronic-bronchitis with emphysema)
๒ . ๘ . ๓ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
๒ . ๘ . ๔ หลอดลมขยายพอง (Bronchiectasis)
๒ . ๘ . ๕ มีน้ำหรือมีหนอง หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
๒ . ๘ . ๖ วัณโรคปอด (Pulmonary tuberculosis)
๒ . ๘ . ๗ ปอดอักเสบหรือมีพยาธิสภาพอื่น ๆ
๒ . ๘ . ๘ หืด (Bronchial asthma)
๒ . ๙ ระบบทางเดินอาหาร
๒ . ๙ . ๑ ฟิสตูล่า (Fistula) หรือไซนัส (Sinus) ที่ผนังท้อง
๒ . ๙ . ๒ ไส้เลื่อนทุกชนิด
๒ . ๙ . ๓ ตับหรือม้ามโต ซึ่งตรวจพบโดยการใช้มือคลำ
๒ . ๙ . ๔ ตับแข็ง (Cirrhosis of liver)
๒ . ๙ . ๕ ฝีที่ตับ (Abscess of liver)
๒ . ๙ . ๖ ดีซ่าน
๒ . ๙ . ๗ ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นได้ชัด
๒ . ๙ . ๘ ทวารหนักอักเสบหรือส่วนสุดท้ายของลำไส้ปลิ้นออกมานอกทวารหนัก
๒ . ๙ . ๙ ฝีคัณฑสูตร
๒ . ๑๐ ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งกามโรค
๒ . ๑๐ . ๑ ไต กรวยไต อักเสบ หรือเสื่อม หรือหย่อน หรือพอง
๒ . ๑๐ . ๒ นิ่ว
๒ . ๑๐ . ๓ ผลการตรวจปัสสาวะมีไข่ขาว (Albumin) หรือน้ำตาล
๒ . ๑๐ . ๔ องคชาติถูกตัดหรือขาด
๒ . ๑๐ . ๕ อัณฑะไม่ลงมาที่ถุงอัณฑะหรือถูกตัดออก
๒ . ๑๐ . ๖ ถุงน้ำที่ลูกอัณฑะ (Hydrocele)
๒ . ๑๐ . ๗ อัณฑะอักเสบ (Orchitis) หรือท่ออสุจิอักเสบ (Epididymitis)
๒ . ๑๐ . ๘ อัณฑะเหี่ยวหด (Atrophy of testis)
๒ . ๑๐ . ๙ กามโรค
๒ . ๑๐ . ๑๐ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการวินิจฉัยว่าเป็นกามโรค
๒ . ๑๐ . ๑๑ กระเทย (Hermaphrodism)
๒.๑๑ ระบบประสาท ( Neurological System)
๒.๑๑.๑ ความสามารถในการพูดพกพร่อง ( Aphasia)
๒.๑๑.๒ อัมพาต หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ
๒.๑๑.๓ โรคลมชัก ( Epilepsy)
๒ . ๑๒ ระบบจิต (Psychiatric and Psychology Aspects)
๒ . ๑๒ . ๑ โรคประสาท ( Neurosis)
๒ . ๑๒ . ๒ โรคจิต (Psychosis)
๒ . ๑๒ . ๓ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ( Personality Disorder)
๒ . ๑๒ . ๔ โรคทางอารมณ์ ( Mood Disorder)
๒ . ๑๓ เบ็ดเตล็ด
๒ . ๑๓ . ๑ โรคที่เกี่ยวกับแพ้สาร โรคต่อมไร้ท่อ โรคที่เกี่ยวกับเมตาโปลิซึม และโรคที่เกี่ยวกับโภชนาการ (Allergy, Endocrine system,Metabolic and nutritional diseases)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๑ ธัยโรทอกซิโคซิส ไม่ว่าจะมีคอพอกด้วยหรือไม่ (Thyrotoxicosis with or without goitre)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๒ โรคคอพอก (Simple goitre)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๓ มิกซิเดมา (Myxedema)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๔ เบาหวาน (Diabetes mellitus)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๕ อะโครเมกาลี (Acromegaly)
๒ . ๑๓ . ๑ . ๖ โรคอ้วนพี (Obesity) หรือดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า ๓๐
๒ . ๑๓ . ๒ โรคของเลือดและอวัยวะก่อกำเนิดเลือด (Diseases of blood and blood forming organs) ผิดปกติอย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย
๒ . ๑๓ . ๓ โรคติดเชื้อหรือโรคเกิดจากปาราสิต (Infectious and Parasitic diseases)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๑ โรคเรื้อน (Leprosy)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๒ ฟิลาริเอซิส (Filariasis)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๓ โรคคุดทะราด หรือรองพื้น (Yaws)
๒ . ๑๓ . ๓ . ๔ โรคติดต่ออันตราย
๒ . ๑๓ . ๔ เนื้องอก (Neoplasm)
๒ . ๑๓ . ๔ . ๑ เนื้องอกไม่ร้ายที่มีขนาดใหญ่
๒ . ๑๓ . ๔ . ๒ เนื้องอกร้ายไม่ว่าจะเป็นแก่อวัยวะใด (Malignant neoplasm of any organ)
๒ . ๑๓ . ๕ โรคของต่อมน้ำเหลือง
๒ . ๑๔ โรคติดยาเสพติด
๒ . ๑๕ โรคเอดส์ (AIDS) ผลการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ให้ผลเป็นบวก
๒ . ๑๖ โรคหรือความพิการใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ แต่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าไม่สมควรรับเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ดังนี้
๒ . ๑๖ . ๑ ทำผ่าตัดกระจกตาเพื่อแก้ไขความผิดปกติของสายตาโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม
เช่น Lasik, PRK ฯลฯ
๒ . ๑๖ . ๒ ผลการตรวจเลือดหาเชื้อตับอักเสบบีให้ผลเป็นบวก
๒ . ๑๖ . ๓ โลหิตจาง Hemoglobin ต่ำกว่า ๑๐ g/dl หรือ Hematocrit ไม่ต่ำกว่า ๓๓ %
๒.๑๗ ความผิดปกติใด ๆ ที่คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์มีความเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะรับเข้า เป็นนักเรียนเตรียมทหาร

No comments:

Post a Comment