Wednesday, January 9, 2013

ประเภทที่สอบและเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

ประเภทที่สอบและเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

(๑)  ดึงข้อราวเดี่ยว
ท่าเตรียม  ให้ผู้ทดสอบจับราวเดี่ยวแบบมือคว่ำกำรอบ  ปล่อยตัวให้ตรงจนแขน  ลำตัว  และขาเหยียดตรง
ท่า ปฏิบัติ  ให้ผู้ทดสอบทำท่าต่อจากท่าเตรียม  โดยงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว  แล้วปล่อยตัวลงสู่ท่าเตรียม  กระทำติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุด  ห้ามแกว่งหรือเตะขา  หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า  ๓ - ๔  วินาที  หรือไม่สามารถดึงขึ้นพ้นราวได้  ๒  ครั้งติดต่อกัน  หรือดึงขึ้นไม่พ้น  ให้หยุดทำการทดสอบ
ถ้าทำได้             ๒๐  ครั้ง             จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้                 ๗  ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
(๒)  ลุกนั่ง  ๓๐  วินาที
ท่า เตรียม  ผู้ทดสอบนอนหงาย  เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก  เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ  ฝ่ามือทั้งสองประสานกันที่ท้ายทอย  ผู้ช่วยคุกเข่าบนปลายเท้าของผู้ทดสอบโดยเอามือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้ทดสอบ ไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น
ท่าปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม  ให้ผู้ทดสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขน ทั้งสองแตะกับเข่าแล้วกลับลงนอนสู่ท่าเตรียมจนศอกแตะกับพื้น  ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดภายใน  ๓๐ วินาที  ในขณะปฏิบัตินิ้วมือประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา  และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอนตัวไปมา
ถ้าทำได้             ๒๕  ครั้ง             จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้             ๑๙    ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๓)  ยึดพื้นหรือดันข้อ
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบนอนคว่ำมือยันพื้น  แขนทั้งสองเหยียดตรงห่างกันพอประมาณ  ลำตัวเหยียดตรงปลายเท้าจรดพื้นเงยศีรษะขึ้น
ท่า ปฏิบัติ  ผู้ทดสอบทำต่อจากท่าเตรียม  โดยยุบแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้บริเวณหน้าอกแตะพื้น  แล้วดันลำตัวขึ้นกลับสู่ท่าเตรียม  ทำเช่นนี้ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด  ห้ามทำตัวแอ่น  หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง  หรือแขนทั้งสองข้างขึ้นไม่พร้อมกัน  หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า  ๓ - ๔  วินาที  หรือไม่สามารถดันขึ้นสู่ท่าเตรียมเกินกว่า  ๓ - ๔  วินาที  ให้หยุดการทดสอบ
ถ้าทำได้             ๕๔  ครั้ง              จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้             ๒๗  ครั้ง             จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๔)  วิ่งระยะสั้น  (๕๐  เมตร)
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่มในสู่วิ่งของตนเองพร้อมจะปฏิบัติ
ท่าปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งอย่างเร็วออกจากเส้นเริ่มจนผ่านเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน           ๕.๕  วินาที           จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                   ๗      วินาที          จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๕)  วิ่งระยะไกล  (๑,๐๐๐  เมตร)
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม  เตรียมตัวปฏิบัติ
ท่าปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งจากเส้นเริ่มไปตามทางวิ่งจนสิ้นสุดระยะทางโดยผ่านเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน           ๓.๑๘   วินาที        จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                   ๔.๓๒  วินาที        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า  ๕  นาที  ๒๒  วินาที   หรือวิ่งไม่ถึง  จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท  และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๖)  ยืนกระโดดไกล 
ท่าเตรียม  ผู้สอบยืนบนพื้นที่เรียบหลังเส้นกระโดด  ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น  หันหน้าไปทางทิศทางที่จะกระโดด
ท่า ปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้เริ่มปฏิบัติ  ให้ผู้ทดสอบกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุด  (โดยใช้การแกว่งแขนช่วย)  วัดระยะทางการกระโดดจากเส้นกระโดดไปยังจุดที่ส้นเท้าลงบนพื้นไกลเส้นเริ่ม ต้นมากที่สุด
ถ้ากระโดดได้ไกล           ๒.๕     เมตร         จะได้คะแนนเต็ม
ถ้ากระโดยได้ไกล           ๒.๒๕  เมตร        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๗)  ว่ายน้ำ  ๕๐  เมตร
ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนที่ขอบสระพร้อมจะปฏิบัติ
ท่า ปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณ  ให้ผู้ทดสอบพุ่งตัวลงสระว่ายน้ำแล้วว่ายโดยเร็ว  จนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย  การเข้าเส้นชัย  ถือเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระที่เป็นเส้นชัย
ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน          ๔๐  วินาที           จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้                  ๕๔  วินาที           จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ ที่สอบว่ายน้ำทำเวลาเกินกว่า  ๑  นาที  ๒๐  วินาที  หรือว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย  จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท  และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๘)  วิ่งกลับตัว  (วิ่งเก็บของ)ท่าเตรียม  ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม  พร้อมจะปฏิบัติ
ท่า ปฏิบัติ  เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบวิ่งอย่างเร็วจากเส้นเริ่มไปหยิบท่อนไม้ ท่อนที่  ๑  ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมรัศมี  ๑  ฟุต  กลับมาวางภายในวงกลมหลังเส้นเริ่ม  (ห้ามโยนท่อนไม้  ถ้าวางไม่เข้าวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่)  แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่  ๒  แล้ววิ่งกลับผ่านเส้นเริ่มต้นไปโดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่  ๒  ลง
ถ้าทำเวลาได้ภายใน              ๙.๕  วินาที         จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้ภายใน           ๑๑       วินาที        จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

๒.๔  การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์  เป็นการพิจารณารูปร่าง  ลักษณะท่าทาง  ความสมบูรณ์ของร่างกาย  ความองอาจ  ว่องไวและปฏิภาณไหวพริบ  ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ  ที่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ผล การสอบถือเกณฑ์  “ได้”  หรือ  “ตก”  เท่านั้นไม่มีคะแนน  ผู้ที่สอบตกหมายถึง  ผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการทหาร-ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร   และจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารโดยไม่คำนึงถึงคะแนนสอบข้อ เขียน
ในวันสอบสัมภาษณ์จะทำการวัดขนาดร่างกายของผู้สมัครด้วย  หากผู้สมัครมีร่างกายไม่ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้  จะหมดสิทธิสอบสัมภาษณ์ทันที

การเตรียมตัวสอบ

            ๑  การสอบข้อเขียน
๑.๑  จะต้องจดจำรหัสประจำตัวสอบ  แผนผังที่นั่งสอบ  และควรไปดูสถานที่สอบไว้ล่วงหน้า
๑.๒  ผู้เข้าสอบจะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย  และต้องไปให้ตรงตามเวลาที่นัดหมาย  เพื่อรอเรียกเข้าห้องสอบ  หากเรียกเข้าห้องสอบและลงมือสอบไปแล้ว  ผู้ใดที่ไปไม่ทันเวลาเริ่มลงมือสอบจะไม่ให้เข้าห้องสอบอย่างเด็ดขาด  จะอ้างเหตุความจำเป็นใด ๆ  ไม่ได้ทั้งสิ้น
๑.๓  ปัญหาข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  และตรวจข้อสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  ผู้สมัครจะต้องเตรียมปากกาหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน  ดินสอดำชนิดอ่อนเบอร์  2B    ยางลบดินสอและอุปกรณ์สำหรับเหลาดินสอ  เพื่อใช้ในการสอบ
๑.๔  นำบัตรประจำตัวสอบ  พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่ติด รูปถ่ายของผู้สมัคร  เช่น  บัตรประจำตัวนักเรียนหรือบัตรประจำตัวนักศึกษา  หรือใบขับขี่  เป็นต้น  ไปแสดงควบคู่กันเพื่อเข้าสอบ และกรณีทำบัตรประจำตัวสอบหายจะต้องนำใบคำร้องแจ้งหายหรือสำเนาประจำวันของ สถานีตำรวจที่ผู้สมัครแจ้งหายไปแสดงยังกองอำนวยการคุมสอบก่อนเวลาสอบไม่น้อย กว่า  ๒  ชั่วโมง  เพื่อขอออกบัตรแทน  (ต้องนำมาแสดงทุกขั้นตอนของการสอบ)

            ๒  การสอบพลศึกษา  การแต่งกายเข้าสอบวิ่งให้ผู้สอบนุ่งกางเกงขาสั้น  หรือกางเกงกีฬาขาสั้น  ส่วนการสอบว่ายน้ำให้เตรียมกางเกงว่ายน้ำไปด้วย

            ๓  การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์  ให้เตรียมกางเกงขาสั้นหรือกางเกงกีฬาขาสั้นไปด้วย

           ๔  การทดสอบบุคลิกภาพ  ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย  และให้เตรียมเงินค่าธรรมเนียมการทดสอบบุคลิกภาพตามที่คณะกรรมการกำหนด

           ๕  การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ    ให้เตรียมเงินค่าตรวจและแต่งกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด
การปฏิบัติในการสอบ
            ๑  การขาดสอบข้อเขียน  หรือขาดสอบพลศึกษาประเภทใดประเภทหนึ่ง  หรือขาดการทดสอบบุคลิกภาพ  หรือขาดวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์  หรือขาดตรวจร่างกาย  จะถือว่าผู้สมัครสละสิทธิในการสอบคัดเลือก
            ๒ ผู้ที่ทุจริตในการสอบหรือมีผู้ช่วยเหลือในการกระทำทุจรติ  จะหมดสิทธิในการสอบทันที
            ๓ ในขณะเข้าห้องสอบ  กรรมการคุมสอบจะค้นตัวผู้เข้าสอบทุกคน  และจะไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด  หรือกระดาษร่าง  หรืออุปกรณ์อื่นใดนอกจากเครื่องเขียนตามที่กำหนด  เข้าห้องสอบเด็ดขาด
            ๔  ผู้เข้าสอบจะออกจากห้องสอบได้เมื่อหมดเวลาสอบเท่านั้น   ถ้าผู้เข้าสอบคนใดฝ่าฝืนจะถือว่าผู้นั้นสอบตกทุกวิชาและหากมีข้อสงสัย  กรรมการคุมสอบจะทำการค้นตัวก่อนให้ออกจากห้องสอบ

No comments:

Post a Comment